
OpenAI กำลังขยาย Ecosystem ธุรกิจ ตั้งแต่ต้นน้ำ ถึงปลายน้ำ ให้ไปไกลกว่า ChatGPT
OpenAI กำลังขยาย Ecosystem ธุรกิจ ตั้งแต่ต้นน้ำ ถึงปลายน้ำ ให้ไปไกลกว่า ChatGPT /โดย ลงทุนแมน
ChatGPT เป็นหนึ่งในแอปพลิเคชัน ที่มีผู้ใช้งานแตะ 100 ล้านคน เร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดการเปิดตัว Generative AI ของผู้พัฒนารายอื่น ๆ ในเวลาต่อมา
ChatGPT เป็นหนึ่งในแอปพลิเคชัน ที่มีผู้ใช้งานแตะ 100 ล้านคน เร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดการเปิดตัว Generative AI ของผู้พัฒนารายอื่น ๆ ในเวลาต่อมา
จนวันนี้ ChatGPT ถูกพัฒนามาแล้วหลายเวอร์ชัน และเริ่มแทรกซึมไปเกี่ยวข้องกับชีวิตของผู้คนมากขึ้น
ซึ่งตอนนี้ OpenAI กำลังสร้าง Ecosystem เพื่อต่อยอด ChatGPT ให้ขยายใหญ่มากยิ่งขึ้น ไม่ต่างจาก Apple ที่มีซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์มากมาย ดึงดูดลูกค้าให้คอยจ่ายเงินให้ Apple อยู่ตลอดเวลา
แล้ว Ecosystem ที่ OpenAI สร้าง เป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
เราลองไล่ดูจิกซอว์แต่ละชิ้น ที่ OpenAI สร้างขึ้นมากัน
มาเริ่มกันที่ ChatGPT ที่เป็น Generative AI ที่เปิดตัวเป็นรายแรก ๆ และได้รับการพัฒนามาเรื่อย ๆ
โดยรุ่นล่าสุดที่ได้ใช้งานกันอย่าง GPT-4o ที่สามารถประมวลผลและสร้างข้อมูลได้หลายรูปแบบ ทั้งข้อความ ภาพ เสียง ไปจนถึงวิดีโอ
หรือ GPT-5 ที่กำลังจะเปิดตัว ซึ่งคุณ Sam Altman บอกว่าเหนือกว่าทุกรุ่นที่ผ่านมา และเป็นรุ่นที่เข้าใกล้คำว่าปัญญาประดิษฐ์ (AGI) มากที่สุด
อย่างไรก็ตาม ChatGPT เป็นเพียงจิกซอว์ชิ้นแรกของ OpenAI
เพราะนอกจากจะอยู่ในรูป Chatbot ที่เราคุ้นเคยกันแล้ว
OpenAI ยังเปิดให้หน่วยงานภายนอกนำ ChatGPT ไปปรับใช้ในองค์กรของตนได้ด้วย
OpenAI ยังเปิดให้หน่วยงานภายนอกนำ ChatGPT ไปปรับใช้ในองค์กรของตนได้ด้วย
โดยที่ผ่านมา ก็มีบริษัทหลายแห่งนำ ChatGPT ไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน จนถึงพัฒนาบริการเพื่อตอบสนอง Pain Point ของลูกค้า
ตัวอย่างเช่น
- Duolingo แอปพลิเคชันเรียนภาษาชื่อดัง ก็นำ ChatGPT ผสานเข้าไปอยู่ในแพลตฟอร์มของตัวเอง ทำให้แอปพลิเคชันสามารถปรับการเรียนให้เป็นการสอนที่เหมาะกับแต่ละคน
- Duolingo แอปพลิเคชันเรียนภาษาชื่อดัง ก็นำ ChatGPT ผสานเข้าไปอยู่ในแพลตฟอร์มของตัวเอง ทำให้แอปพลิเคชันสามารถปรับการเรียนให้เป็นการสอนที่เหมาะกับแต่ละคน
เหมือนมีติวเตอร์ส่วนตัวที่รู้ว่าผู้เรียนเก่งหรืออ่อนตรงไหน แล้วปรับเนื้อหาเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจได้อย่างตรงจุด
และยังทำให้เกิดฟีเชอร์ใหม่ ๆ เช่น Explain My Answer ที่ช่วยอธิบายเสริมในคำตอบของผู้เรียนที่ทำแบบทดสอบ หรือ Roleplay ที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการสนทนาในชีวิตจริงกับตัวละครต่าง ๆ ภายในแอปพลิเคชัน
- Moderna บริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ที่นำ ChatGPT ไปต่อยอดเป็น mChat ซึ่งเป็น ChatGPT เวอร์ชันที่ใช้ในองค์กร
โดยได้รับการเสริมความสามารถพิเศษ และมีฟีเชอร์อย่างเช่น
การวิเคราะห์ขั้นสูง (Advanced Analytics) เอามาใช้วิเคราะห์ข้อมูลหรืองานวิจัยทางการแพทย์
การวิเคราะห์ขั้นสูง (Advanced Analytics) เอามาใช้วิเคราะห์ข้อมูลหรืองานวิจัยทางการแพทย์
การสร้างภาพ (Image Generation) สร้างภาพจำลองโครงสร้างโมเลกุล, แบบจำลองทางชีววิทยา หรืออินโฟกราฟิกจากข้อมูลวิจัย
และ GPTs แบบเฉพาะทาง ที่ไว้ใช้ในแผนกต่าง ๆ ของบริษัท อย่างเช่น สำหรับทีมวิจัย, สำหรับฝ่ายกฎหมาย และสำหรับทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์
ซึ่งนี่เป็นเพียงจิกซอว์ชิ้นที่ 2 ของ OpenAI..
แล้วจิกซอว์ชิ้นอื่น ๆ มีอะไรอีกบ้าง ?
แล้วจิกซอว์ชิ้นอื่น ๆ มีอะไรอีกบ้าง ?
ถ้าหนึ่งในเหตุผลที่ผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ของ Apple หลายคน ยังคงเลือกใช้งานสินค้าของ Apple ต่อ ก็เพราะมี App Store ที่เป็นตัวกลางคอยเชื่อมต่อผู้พัฒนาแอปพลิเคชันกับผู้ใช้งาน
ฝั่งของ OpenAI เองก็มีสิ่งที่เรียกว่า GPT Store
ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่รวบรวมเครื่องมือ AI แบบปรับแต่งได้ (Custom) ให้ผู้ใช้งาน สามารถเลือกใช้งานตามความสามารถเฉพาะทาง
ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่รวบรวมเครื่องมือ AI แบบปรับแต่งได้ (Custom) ให้ผู้ใช้งาน สามารถเลือกใช้งานตามความสามารถเฉพาะทาง
เครื่องมือต่าง ๆ ใน GPT Store นั้น นอกจาก OpenAI จะเป็นผู้พัฒนาเองแล้ว บางเครื่องมือยังมีผู้ใช้งานหรือองค์กรภายนอก มาร่วมพัฒนาด้วย เหมือนแอปพลิเคชันต่าง ๆ ใน Apple Store
ตัวอย่างเช่น Canva แอปพลิเคชันออกแบบชื่อดัง ก็ได้เข้ามาอยู่ใน GPT Store ด้วย
โดยที่ผู้ใช้เพียงแค่ออกคำสั่ง (Prompt) เรียกใช้ Canva GPT ก็สามารถให้ AI ออกแบบสิ่งที่ต้องการได้ ทำให้ช่วยลดขั้นตอนการคิดไอเดีย และการออกแบบลง
จะเห็นว่า GPT Store เป็นเหมือนร้านขายเครื่องมือมากมาย เป็น One Stop Service ที่ให้ผู้ใช้งาน สามารถทำงานได้แทบทุกรูปแบบในที่เดียว
ซึ่งนี่เป็นจิกซอว์ชิ้นที่ 3..
ซึ่งนี่เป็นจิกซอว์ชิ้นที่ 3..
มาต่อกันที่ชิ้นที่ 4
การลงทุนหรือเข้าซื้อกิจการอื่น
การลงทุนหรือเข้าซื้อกิจการอื่น
ในโลกที่เทคโนโลยีเติบโตอย่างก้าวกระโดด การเลือกลงทุนหรือเข้าซื้อกิจการอื่น ๆ ก็นับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ใช้ขยายการเติบโต
ซึ่งนอกจากการเข้าซื้อ “io” สตาร์ตอัปฮาร์ดแวร์ด้าน AI ของคุณ Jony Ive อดีตผู้บริหารของ Apple เพื่อพัฒนา อุปกรณ์รูปแบบใหม่ ที่เป็นข่าวดังแล้ว
OpenAI ยังมีกองทุน Venture Capital (VC) ของตัวเองที่ชื่อ The OpenAI Startup Fund
โดยที่ผ่านมา VC แห่งนี้ ได้มีการเข้าลงทุนในบริษัทอื่นมากมาย
โดยที่ผ่านมา VC แห่งนี้ ได้มีการเข้าลงทุนในบริษัทอื่นมากมาย
ตัวอย่างที่น่าสนใจก็เช่น 1X Technologies ผู้พัฒนาหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ “EVE” ที่เน้นใช้งานในอุตสาหกรรม และ “NEO” ที่เน้นใช้งานภายในบ้าน ก็เป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับเงินสนับสนุนจาก OpenAI ผ่านกองทุนเช่นกัน
และมาถึงจิกซอว์ที่น่าสนใจชิ้นสุดท้าย ก็คือการสร้างความร่วมมือกับบรรดาพันธมิตร (Partnership)
ที่ผ่านมา หลายคนคงได้ยินว่า Microsoft เป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ที่สุดของ OpenAI ทั้งด้านการเงินและโครงสร้างพื้นฐานอย่างคลาวด์ Azure
แต่ในช่วงเวลาที่ผ่านมานี้ OpenAI เองก็พยายามสร้างความร่วมมือกับบริษัทที่เป็นผู้เล่นสำคัญใน Supply Chain ของวงการชิปและ AI มากมาย
ตัวอย่างเช่น
- Google ที่แม้จะเป็นคู่แข่งตัวฉกาจในสมรภูมิ AI ในฐานะเจ้าของ Gemini แต่เมื่อไม่นานมานี้ กลับเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการ Google Cloud แก่ OpenAI
- Google ที่แม้จะเป็นคู่แข่งตัวฉกาจในสมรภูมิ AI ในฐานะเจ้าของ Gemini แต่เมื่อไม่นานมานี้ กลับเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการ Google Cloud แก่ OpenAI
- TSMC ผู้ผลิตชิปเบอร์หนึ่งของโลก ที่รับหน้าที่เป็นผู้ผลิตชิป AI ที่ OpenAI พัฒนาร่วมกับ Broadcom เพื่อลดการพึ่งพา GPU จาก Nvidia
เรียกได้ว่า OpenAI มีความพยายามที่จะควบคุม Supply Chain ของตัวเอง และลดการพึ่งพาบริษัทใดบริษัทหนึ่งลง
และนี่คือจิกซอว์ทั้ง 5 ที่เป็น Ecosystem สำคัญที่ OpenAI กำลังเร่งขยาย โดยยังไม่รวมข่าวล่าสุดที่ Reuters รายงานว่า OpenAI กำลังซุ่มทำ Web Browser ที่ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อแข่งกับ Google Chrome อีกด้วย
ทำให้เห็นว่าเป้าหมายของคุณ Sam Altman นั้น ไม่ใช่เพียงการสร้าง AI ที่ฉลาดที่สุด แต่คือการสร้างรากฐานทางเทคโนโลยีสำหรับอนาคต
ที่น่าสนใจคือ เคยมีการพูดกันว่า ท้ายที่สุด Generative AI ทุกตัวอาจมีความสามารถใกล้เคียงกัน ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้น ผู้ชนะตัวจริงอาจเป็นผู้ที่ครอบครอง Ecosystem ที่ใหญ่ที่สุด..
ซึ่งต้องมารอติดตามว่า ผู้พัฒนารายอื่น ๆ ทั้งของสหรัฐฯ เอง ไปจนถึงจีน จะแข่งกับ OpenAI อย่างไร
และน่าสนใจว่า โลกของเราในอีก 10 ปีข้างหน้านี้ จะมีหน้าตาเป็นแบบไหน เพราะผู้พัฒนาแต่ละค่าย ไม่ยอมอ่อนข้อให้กันอย่างแน่นอน..