
SAPPE ขึ้นเวทีโลก ขับเคลื่อนประเด็นสังคม-วัฒนธรรม ในฐานะองค์กรที่ “ลงมือทำจริง”
SAPPE x ลงทุนแมน
ประเด็นทางสังคมและวัฒนธรรม (Socio-Cultural Issues) เป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสนใจและถกเถียงกันมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่แค่เรื่องเพศหรือเชื้อชาติ
แต่รวมถึงโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากร การแสดงออก และความก้าวหน้าในอาชีพ
แต่รวมถึงโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากร การแสดงออก และความก้าวหน้าในอาชีพ
โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ “ความเท่าเทียม” ยังคงเป็นเรื่องที่พูดง่าย..แต่ทำยาก
แต่วันนี้ มีหนึ่งองค์กรจากประเทศไทยที่ก้าวขึ้นไปยืนบนเวทีระดับโลก ถ่ายทอดมุมมองในงาน Global Summit of Women 2025 เวทีผู้นำหญิงระดับนานาชาติที่ทรงอิทธิพลที่สุดงานหนึ่งของโลก

พร้อมส่งสัญญาณว่า องค์กรไทย..ให้ความสำคัญกับประเด็นความเท่าเทียมและความหลากหลาย ไม่ใช่แค่ในเชิงกลยุทธ์ แต่ในฐานะสิ่งที่เชื่อและลงมือทำจริง
องค์กรนั้นคือ บริษัท เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน) หรือ SAPPE
ผู้บุกเบิกตลาด Snack Drink รายแรก ๆ ของโลก ผ่านแบรนด์อย่าง Mogu Mogu และ Sappe Beauti Drink โดยมีคุณปิยจิต รักอริยะพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เป็นผู้ขับเคลื่อนองค์กร
ผู้บุกเบิกตลาด Snack Drink รายแรก ๆ ของโลก ผ่านแบรนด์อย่าง Mogu Mogu และ Sappe Beauti Drink โดยมีคุณปิยจิต รักอริยะพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เป็นผู้ขับเคลื่อนองค์กร
แล้วเส้นทางของผู้นำหญิงคนนี้เป็นอย่างไร ?
และเธอพูดอะไรบนเวทีระดับโลก ที่หลายคนจับตามอง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
และเธอพูดอะไรบนเวทีระดับโลก ที่หลายคนจับตามอง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
คุณปิยจิต เติบโตในครอบครัวเชื้อสายจีนรุ่นที่สอง เป็นลูกสาวคนเดียวในบรรดาพี่น้องชายสามคน
ก่อนเริ่มต้นเส้นทางอาชีพในสายการเงินกับสถาบันระดับโลกอย่าง Deutsche Bank, Barclays Capital และ BNP Paribas
ก่อนเริ่มต้นเส้นทางอาชีพในสายการเงินกับสถาบันระดับโลกอย่าง Deutsche Bank, Barclays Capital และ BNP Paribas
กระทั่งวันที่ SAPPE เตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญของบริษัท
ครอบครัวจึงดึงตัวเธอกลับมาร่วมวางรากฐานองค์กรในบทบาท CFO ใช้ความเชี่ยวชาญด้านการเงินมาพัฒนาและวางระบบภายใน
ครอบครัวจึงดึงตัวเธอกลับมาร่วมวางรากฐานองค์กรในบทบาท CFO ใช้ความเชี่ยวชาญด้านการเงินมาพัฒนาและวางระบบภายใน
ต่อมา เมื่อพี่ชายคนโตลงจากตำแหน่ง CEO คุณปิยจิตจึงก้าวขึ้นมารับตำแหน่งผู้นำเต็มตัว
นับจากวันนั้น SAPPE ก็เติบโตอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การขับเคลื่อนของเธอ จนกลายเป็นหนึ่งในแบรนด์ไทยที่แข็งแกร่งในเวทีโลก
แล้วอะไรคือสิ่งสำคัญที่คุณปิยจิตเลือกจะพูดบนเวที Global Summit of Women 2025 ?
หัวข้อหลักของเวทีนี้ คือ “Should Companies Take a Position on Socio-Cultural Issues?” หรือแปลง่าย ๆ ว่า “องค์กรควรแสดงจุดยืนต่อประเด็นสังคมและวัฒนธรรมหรือไม่ ?”
อย่างที่กล่าวไปว่า ในบริบทเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเด็นนี้ยังถือเป็นเรื่องใหม่และค่อนข้างอ่อนไหว โดยเฉพาะเรื่องความเท่าเทียมและความหลากหลาย ที่หลายองค์กรยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นเรียนรู้และปรับตัว
แต่สำหรับคุณปิยจิต มุมมองของ SAPPE ชัดเจนตั้งแต่ต้นว่า เรื่องนี้ไม่ใช่แค่กลยุทธ์ทางการตลาด แต่คือ “การยืนหยัดในคุณค่าที่องค์กรเชื่อจริง”
SAPPE เลือกสื่อสารจุดยืนนี้ออกมาอย่างตรงไปตรงมา โดยยึดหลัก 3 แนวคิดสำคัญในวัฒนธรรมองค์กร คือ
- ความเป็นนักนวัตกรรม
- การส่งเสริมบทบาทผู้หญิง และทุกเพศสภาพ
- ส่งเสริมความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการมีส่วนร่วม (DEI)
- การส่งเสริมบทบาทผู้หญิง และทุกเพศสภาพ
- ส่งเสริมความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการมีส่วนร่วม (DEI)

ในแง่ธุรกิจ SAPPE ถือเป็นผู้บุกเบิกตลาด Snack Drink ผ่านแบรนด์ Mogu Mogu ที่ส่งออกไปกว่า 100 ประเทศ และต่อยอดด้วย Sappe Beauti Drink ที่เน้นคอนเซปต์ “รักและดูแลตัวเองจากภายใน”
ปีที่ผ่านมา SAPPE ยังเปิดตัวแคมเปญ “สวยเรา ไม่ต้องสวยใคร” ภายใต้แนวคิด Self-Love สะท้อนแนวคิดว่า “ผู้หญิงไม่จำเป็นต้องรอใครมายืนยันคุณค่า แต่สามารถเชื่อมั่นในตัวเอง และเป็นพลังขับเคลื่อนสังคมได้”
ในด้านการบริหารองค์กร คุณปิยจิตให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมและความหลากหลายอย่างจริงจัง
รู้หรือไม่ว่า ? ปัจจุบัน พนักงานหญิงใน SAPPE มีสัดส่วน 53% ส่วนในระดับผู้บริหารสูงสุด ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นเป็น 60%
พร้อมออกแบบโครงสร้างองค์กรเป็นแบบ Flat Organization ลดลำดับขั้น เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมและกล้าแสดงความคิดเห็นมากขึ้น
นอกจากนี้ SAPPE ยังเปิดพื้นที่รับฟังเสียงจากทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นเวทีประชุมผู้ถือหุ้นรายไตรมาส ช่องทางออนไลน์สำหรับผู้บริโภค รวมถึงช่องทางภายในที่ให้พนักงานเข้าถึงผู้บริหารได้โดยตรง อีกด้วย
แล้วถ้าถามว่าอะไรคือ “กุญแจแห่งความสำเร็จ” ที่ทำให้ SAPPE เปลี่ยนองค์กรได้ขนาดนี้ ?
คุณปิยจิตอธิบายว่า ในฐานะผู้นำองค์กรระดับโลก SAPPE ให้ความสำคัญกับการเคารพความหลากหลายทางวัฒนธรรม ไม่บริหารด้วยแนวทางเดียวกันทุกประเทศ หรือที่เรียกว่า “One Size Fits All”
อีกหนึ่งหลักคิดสำคัญ คือ ผู้นำต้อง “Walk The Talk” หรือเป็นคนที่ลงมือทำจริงในทุกสิ่งที่องค์กรยึดถือ ไม่ใช่แค่พูด แต่ต้องทำให้เห็นเป็นรูปธรรม
ทั้งในเรื่องความโปร่งใส ความซื่อสัตย์ และความรับผิดชอบต่อพนักงาน ผู้บริโภค และสังคม
ทั้งในเรื่องความโปร่งใส ความซื่อสัตย์ และความรับผิดชอบต่อพนักงาน ผู้บริโภค และสังคม
สำหรับการสื่อสารกับคนรุ่นใหม่ คุณปิยจิตยกตัวอย่างว่า ปัจจุบัน SAPPE มีพนักงาน Gen Z ถึง 20% ขององค์กร ซึ่งเป็นกลุ่มที่ให้ความสำคัญกับ “Purpose” หรือเป้าหมายในการทำงานอย่างมาก
“พวกเขาอยากรู้ว่าทำอะไร ทำไปเพื่ออะไร และทำแล้วจะเกิดอะไรขึ้น”
SAPPE จึงเน้นการสื่อสารพันธกิจ ค่านิยม และเป้าหมายขององค์กรให้ชัดเจน ควบคู่กับการดูแลคุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตของพนักงาน ออกแบบระบบประเมินผลที่ยุติธรรม และสร้างความรู้สึกว่าพนักงานคือเจ้าขององค์กรอย่างแท้จริง
แนวคิดเหล่านี้ คือสิ่งที่ทำให้ SAPPE เติบโตด้วยไอเดียใหม่ ๆ และเชื่อมโยงกับความเปลี่ยนแปลงของโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การเข้าร่วม Global Summit of Women ในครั้งนี้ จึงไม่ใช่แค่เวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระดับโลก แต่เป็นเวทีที่ผู้หญิงไทยคนหนึ่งได้แสดงให้เห็นว่า

“องค์กรไทย” ก็สามารถเติบโตบนเวทีโลกได้ ด้วยความคิดสร้างสรรค์ของคนไทย วิสัยทัศน์ที่ชัดเจน และความกล้าที่จะยืนหยัดในสิ่งที่เชื่อ
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ..
Global Summit of Women คือเวทีประชุมระดับนานาชาติที่จัดต่อเนื่องมายาวนานถึง 35 ปี โดยปีนี้มีผู้เข้าร่วมกว่าพันคนจากกว่า 60 ประเทศทั่วโลก ครอบคลุมทั้งภาครัฐ องค์กรระหว่างประเทศ และภาคเอกชน
Global Summit of Women คือเวทีประชุมระดับนานาชาติที่จัดต่อเนื่องมายาวนานถึง 35 ปี โดยปีนี้มีผู้เข้าร่วมกว่าพันคนจากกว่า 60 ประเทศทั่วโลก ครอบคลุมทั้งภาครัฐ องค์กรระหว่างประเทศ และภาคเอกชน
โดยมีผู้นำระดับสูงเข้าร่วม อาทิ รัฐมนตรี ผู้อำนวยการอาวุโส และ CEO จากบริษัทชั้นนำของโลก เช่น IBM, EY, UNCTAD, Huawei, Adecco, Bayer, Mercedes-AMG, National Bank of Australia และ Commerzbank
การประชุมครั้งนี้ประกอบด้วยเวทีหลากหลาย ทั้ง
- Plenary Session ที่เจาะลึกเมกะเทรนด์และนโยบายระดับโลก
- เวทีว่าด้วยการพัฒนาอาชีพผู้หญิงในยุคดิจิทัล
- และการประชุมระหว่างภาครัฐกับเอกชน เพื่อแลกเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติจริงจากหลากหลายประเทศ
- เวทีว่าด้วยการพัฒนาอาชีพผู้หญิงในยุคดิจิทัล
- และการประชุมระหว่างภาครัฐกับเอกชน เพื่อแลกเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติจริงจากหลากหลายประเทศ
เวทีนี้ไม่ได้เป็นเพียงพื้นที่แห่งแรงบันดาลใจ แต่ยังมีบทบาทสำคัญในระดับนโยบายและความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อขับเคลื่อนประเด็นสำคัญอย่าง
- การลดช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศ
- การเพิ่มสัดส่วนผู้หญิงในตำแหน่งผู้บริหาร
- และการส่งเสริมบทบาทผู้หญิงในระบบเศรษฐกิจ ที่มีส่วนช่วยขับเคลื่อน GDP ในระยะยาวอย่างเป็นรูปธรรม
- การเพิ่มสัดส่วนผู้หญิงในตำแหน่งผู้บริหาร
- และการส่งเสริมบทบาทผู้หญิงในระบบเศรษฐกิจ ที่มีส่วนช่วยขับเคลื่อน GDP ในระยะยาวอย่างเป็นรูปธรรม
อ่านมาถึงตรงนี้ เราคงพอสรุปได้ว่า การที่ SAPPE ได้ขึ้นไปพูดบนเวทีระดับโลกครั้งนี้ ไม่ใช่แค่การสะท้อนถึงการปรับตัวขององค์กรให้ทันยุคแห่งความเท่าเทียมและความหลากหลาย
แต่ยังเป็นการแสดงให้เห็นว่า SAPPE คือหนึ่งในตัวอย่างของบริษัทไทย ที่พิสูจน์ว่าความคิดสร้างสรรค์ วิสัยทัศน์ที่ชัดเจน และความกล้ายืนหยัดในคุณค่า สามารถพาองค์กรไทยไปยืนบนเวทีโลกได้จริง นั่นเอง..
Reference :
- ข่าวประชาสัมพันธ์ SAPPE
- ข่าวประชาสัมพันธ์ SAPPE