
สรุปสูตรหา “มูลค่าเพิ่มของธุรกิจ” เครื่องมือตอกย้ำความแข็งแกร่ง ของกิจการ
สรุปสูตรหา “มูลค่าเพิ่มของธุรกิจ” เครื่องมือตอกย้ำความแข็งแกร่ง ของกิจการ /โดย ลงทุนแมน
ในการประเมินธุรกิจก่อนลงทุน “งบการเงิน” มักเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญในการวิเคราะห์ธุรกิจ
ในการประเมินธุรกิจก่อนลงทุน “งบการเงิน” มักเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญในการวิเคราะห์ธุรกิจ
โดยตัวเลขต่าง ๆ ในงบการเงินนั้น นอกจากใช้ประเมินความสามารถในการทำกำไร การเติบโตของธุรกิจ ไปจนถึงมูลค่าความถูกแพงของราคาหุ้นแล้ว
อีกตัวแปรหนึ่งที่ตัวเลขเหล่านั้นสามารถบอกได้ ก็คือความสามารถในการสร้าง “มูลค่าเพิ่ม” ของตัวธุรกิจ
มูลค่าเพิ่มของธุรกิจคืออะไร ? และเราจะประเมินความสามารถในการสร้างมูลค่าเพิ่มของธุรกิจ ได้อย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
เวลาเราอ่านงบการเงิน สิ่งที่นักลงทุนส่วนใหญ่มองหามักเป็น “การเติบโต” ของผลประกอบการ อย่างรายได้ และกำไร
คำถามต่อมาคือ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่ากำไรที่สร้างมานั้น เป็นกำไรที่มีคุณภาพจริง ๆ
ซึ่ง “มูลค่าเพิ่มของธุรกิจ” คือตัวชี้วัดที่จะตอบคำถามนี้ได้
โดยธุรกิจที่จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้มาก จะเป็นการตอกย้ำว่ากำไรที่เติบโตมานั้น มีคุณภาพและยั่งยืน
แล้วเราจะวัดการสร้างมูลค่าเพิ่มของธุรกิจได้อย่างไร ?
แล้วเราจะวัดการสร้างมูลค่าเพิ่มของธุรกิจได้อย่างไร ?
คำตอบคือเราสามารถวัดจาก “ผลตอบแทน” ที่บริษัททำได้ เมื่อเทียบกับ “ต้นทุนของเงินลงทุนนั้น”
ซึ่งถ้าหากว่าผลตอบแทนสูงกว่าต้นทุนของเงินลงทุน ก็แปลว่า ธุรกิจกำลังสร้างมูลค่าเพิ่ม
ในทางกลับกัน ถ้าหากผลตอบแทนต่ำกว่าต้นทุนของเงินลงทุน ก็แปลว่า ธุรกิจนั้นกำลังทำลายมูลค่าอยู่นั่นเอง
โดยในการคำนวณ จะมีตัวแปรหลักที่ใช้ทั้งหมด 3 อย่าง คือ
1. Net Operating Profit After Tax (NOPAT) หรือกำไรจากการดำเนินงานหลังหักภาษี
โดย NOPAT = กำไรจากการดำเนินงาน x (1 - อัตราภาษี)
2. Invested Capital (IC) หรือเงินทุนที่ใช้ในการดำเนินงาน
โดย IC = ส่วนผู้ถือหุ้น + หนี้สินที่มีดอกเบี้ย - เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
3. Weighted Average Cost of Capital (WACC) หรือต้นทุนเฉลี่ยของเงินทุนที่ใช้ในการทำธุรกิจ
WACC = We x Ke + Wd x Kd x (1-T)
โดยที่
- We มาจาก ส่วนของผู้ถือหุ้น / (ส่วนของผู้ถือหุ้น + หนี้สินที่มีดอกเบี้ย)
- Ke คือ ผลตอบแทนคาดหวังของผู้ถือหุ้น
- Wd มาจาก หนี้สินมีดอกเบี้ย / (ส่วนของผู้ถือหุ้น + หนี้สินที่มีดอกเบี้ย)
- Kd คือ ต้นทุนหนี้สินจากการกู้ยืม (อัตราดอกเบี้ย)
- T คือ อัตราภาษีนิติบุคคล ซึ่งในกรณีของประเทศไทยจะอยู่ที่ 20%
- We มาจาก ส่วนของผู้ถือหุ้น / (ส่วนของผู้ถือหุ้น + หนี้สินที่มีดอกเบี้ย)
- Ke คือ ผลตอบแทนคาดหวังของผู้ถือหุ้น
- Wd มาจาก หนี้สินมีดอกเบี้ย / (ส่วนของผู้ถือหุ้น + หนี้สินที่มีดอกเบี้ย)
- Kd คือ ต้นทุนหนี้สินจากการกู้ยืม (อัตราดอกเบี้ย)
- T คือ อัตราภาษีนิติบุคคล ซึ่งในกรณีของประเทศไทยจะอยู่ที่ 20%
มาถึงขั้นตอนการหามูลค่าเพิ่มของธุรกิจ
โดยเราสามารถหามูลค่าเพิ่มของธุรกิจได้ 2 วิธี
โดยเราสามารถหามูลค่าเพิ่มของธุรกิจได้ 2 วิธี
1. เปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนของเงินลงทุน (ROIC) ของกิจการ กับต้นทุนเฉลี่ยของเงินทุน (WACC)
ซึ่งเราสามารถคำนวณ ROIC
โดย ROIC = NOPAT x 100 / Invested Capital
ก็จะได้ ROIC ในรูปแบบเปอร์เซ็นต์
โดย ROIC = NOPAT x 100 / Invested Capital
ก็จะได้ ROIC ในรูปแบบเปอร์เซ็นต์
ถ้าหาก ROIC > WACC ก็หมายความว่า บริษัทกำลังสร้างมูลค่าเพิ่ม เพราะผลตอบแทนที่ได้ มากกว่าต้นทุนของเงินทุนนั้น ๆ
แต่หาก ROIC < WACC ก็หมายความว่า บริษัทกำลังทำลายมูลค่า เพราะผลตอบแทนที่ได้ แพ้ต้นทุนที่ต้องแลก
ตัวอย่างเช่น ปีล่าสุด บริษัท A
- มีกำไรจากการดำเนินงานหลังหักภาษี (NOPAT) อยู่ที่ 1,000 ล้านบาท
- มีกำไรจากการดำเนินงานหลังหักภาษี (NOPAT) อยู่ที่ 1,000 ล้านบาท
- มีส่วนของผู้ถือหุ้น 3,000 ล้านบาท
หนี้สินที่มีดอกเบี้ย 3,000 ล้านบาท
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 1,000 ล้านบาท
หนี้สินที่มีดอกเบี้ย 3,000 ล้านบาท
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 1,000 ล้านบาท
ทำให้มีเงินทุนที่ใช้ในการดำเนินงาน (IC) ราว ๆ 5,000 ล้านบาท
- คำนวณอัตราผลตอบแทนของเงินลงทุน (ROIC) ได้เท่ากับ 1,000 x 100 / 5,000 = 20%
- มีต้นทุนเฉลี่ยของเงินทุน (WACC) = 10%
- สรุปแล้ว ROIC ที่ 20% มากกว่า WACC ที่ 10%
แสดงว่า บริษัท A กำลังดำเนินงาน โดยสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจอยู่นั่นเอง
แสดงว่า บริษัท A กำลังดำเนินงาน โดยสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจอยู่นั่นเอง
2. เปรียบเทียบผลตอบแทนที่ธุรกิจทำได้ กับต้นทุนของเงินทุน หรือที่เรียกกันว่า Economic Value Added (EVA)
โดย EVA = NOPAT - (WACC x Invested Capital)
ถ้าหาก EVA > 0 หมายความว่า บริษัทกำลังสร้างมูลค่าเพิ่ม เพราะกำไรสูงกว่าต้นทุนของเงินทุน
ในทางกลับกัน หาก EVA < 0 ก็แปลว่า บริษัทกำลังทำลายมูลค่า เพราะกำไรที่ทำได้ ไม่สามารถชดเชยต้นทุนของเงินทุนได้นั่นเอง
จากทั้ง 2 วิธี จะเห็นว่า ถ้าผลตอบแทนที่ธุรกิจสามารถทำได้ สูงกว่าต้นทุนของเงินทุน ก็หมายความว่า บริษัทนั้น ๆ กำลังสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ถือหุ้นอยู่
ซึ่งการที่บริษัทสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ จะเป็นเครื่องตอกย้ำถึงคุณภาพและความยั่งยืนของ “กำไร” ที่บริษัททำได้
นอกจากนี้ นักลงทุนบางคนอาจใช้วิธีนี้ ในการพิสูจน์ถึงการมีป้อมปราการทางธุรกิจ หรือ Economic Moat ของบริษัทที่สนใจ กับบริษัทคู่แข่ง ในอุตสาหกรรมเดียวกัน
โดยการนำ ROIC เทียบกับ WACC และ EVA ของบริษัทที่เราสนใจ ไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งในอุตสาหกรรม
ซึ่งถ้าหากบริษัทไหน สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากกว่าคู่แข่ง ก็แปลว่า บริษัทนั้นมีป้อมปราการที่แข็งแกร่ง และมักถูกประเมินมูลค่าบริษัท สูงกว่าคู่แข่งนั่นเอง..