
มะพร้าว-ทุเรียน ตัวแบกส่งออก สินค้าเกษตรไทย
มะพร้าว-ทุเรียน ตัวแบกส่งออก สินค้าเกษตรไทย /โดย ลงทุนแมน
ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การเติบโตของการส่งออกสินค้าเกษตรไทย หลายคนคงคิดว่า ข้าวน่าจะเป็นตัวแบก
ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การเติบโตของการส่งออกสินค้าเกษตรไทย หลายคนคงคิดว่า ข้าวน่าจะเป็นตัวแบก
แต่ตรงกันข้ามเลย
เพราะข้าวไทยเติบโตเฉลี่ยราวปีละ 3% ใกล้เคียงกับมูลค่าส่งออกทั้งหมดของสินค้าเกษตรที่ยังไม่แปรรูป ที่เติบโตเฉลี่ยแค่ 3-4% ต่อปีเท่านั้น
เพราะข้าวไทยเติบโตเฉลี่ยราวปีละ 3% ใกล้เคียงกับมูลค่าส่งออกทั้งหมดของสินค้าเกษตรที่ยังไม่แปรรูป ที่เติบโตเฉลี่ยแค่ 3-4% ต่อปีเท่านั้น
ซึ่งสินค้าเกษตรไทยที่เติบโตโดดเด่น เป็นผลไม้อย่าง มะพร้าวและทุเรียน ที่มูลค่าส่งออกเติบโตเฉลี่ยปีละกว่า
40%
40%
อะไรที่ทำให้มะพร้าวและทุเรียน เติบโตมากขนาดนี้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
คำตอบของเรื่องนี้ หลัก ๆ ก็มาจากกำลังภายในของจีน
ที่ทำให้ผลไม้ทั้งสองอย่างนี้โตแบบก้าวกระโดด
ที่ทำให้ผลไม้ทั้งสองอย่างนี้โตแบบก้าวกระโดด
ทุเรียนไทย ครองใจคนจีนมาอย่างยาวนาน
โดยเฉพาะทุเรียนแบบสด ที่ไทยส่งออกไปจีนอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะทุเรียนแบบสด ที่ไทยส่งออกไปจีนอย่างต่อเนื่อง
- ปี 2557 ไทยส่งออกทุเรียนไปจีน 5,167 ล้านบาท
- ปี 2562 ไทยส่งออกทุเรียนไปจีน 26,340 ล้านบาท
- ปี 2567 ไทยส่งออกทุเรียนไปจีน 131,346 ล้านบาท
- ปี 2562 ไทยส่งออกทุเรียนไปจีน 26,340 ล้านบาท
- ปี 2567 ไทยส่งออกทุเรียนไปจีน 131,346 ล้านบาท
คิดเป็นการเติบโตเฉลี่ยราวปีละ 43%
ส่วนมะพร้าวสดทั้งลูก ก็เป็นผลไม้ที่ไทยส่งออกไปจีนได้อย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมาเช่นกัน
- ปี 2557 ไทยส่งออกมะพร้าวไปจีน 162 ล้านบาท
- ปี 2562 ไทยส่งออกมะพร้าวไปจีน 2,009 ล้านบาท
- ปี 2567 ไทยส่งออกมะพร้าวไปจีน 5,802 ล้านบาท
- ปี 2562 ไทยส่งออกมะพร้าวไปจีน 2,009 ล้านบาท
- ปี 2567 ไทยส่งออกมะพร้าวไปจีน 5,802 ล้านบาท
คิดเป็นการเติบโตเฉลี่ยราวปีละ 48%
นอกจาก ช่วงที่ผ่านมาคนจีนนิยมผลไม้ไทยทั้งสองชนิดนี้มากขึ้น ทำให้มูลค่าส่งออกเติบโตได้โดดเด่นแล้ว
ยังประกอบกับเรื่องของพื้นที่เพาะปลูก และสภาพภูมิอากาศ ที่ทำให้ผลผลิตทุเรียนและมะพร้าวของไทย เพิ่มขึ้นได้อย่างมีข้อจำกัดด้วย
ทุเรียน ไม่ได้เป็นพืชที่ปลูกได้ง่าย
เพราะต้องปลูกในพื้นที่อากาศร้อนชื้นและมีฝนตกค่อนข้างต่อเนื่อง
เพราะต้องปลูกในพื้นที่อากาศร้อนชื้นและมีฝนตกค่อนข้างต่อเนื่อง
อย่างภาคตะวันออกและภาคใต้ของไทย ที่มีพื้นที่เหมาะสม ทำให้รสชาติของทุเรียนไทยมีความแตกต่าง
แถมถ้าเริ่มปลูกใหม่ ต้องใช้เวลานานราว 5 ปี กว่าจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้
แถมถ้าเริ่มปลูกใหม่ ต้องใช้เวลานานราว 5 ปี กว่าจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้
โดยผลผลิตทุเรียนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
- ปี 2557 ผลผลิต 630,000 ตัน
- ปี 2567 ผลผลิต 1,287,000 ตัน
- ปี 2567 ผลผลิต 1,287,000 ตัน
จะเห็นได้ว่า ผลผลิตทุเรียนที่ออกมาเพิ่มขึ้นเฉลี่ยราว 8% ต่อปีเท่านั้น
ถ้ายังจำกันได้ มูลค่าส่งออกทุเรียนไปจีน ที่เป็นตลาดหลักของไทย เติบโตเฉลี่ยปีละ 43% ก็แปลว่าราคาส่งออกทุเรียนเพิ่มขึ้นมากกว่า ปริมาณผลผลิตที่ออกมา
ส่วนมะพร้าวก็ไม่ต่างอะไรกับทุเรียนนัก..
โดยเฉพาะมะพร้าวน้ำหอม ที่สามารถปลูกได้ดีเพียง 4 จังหวัดภาคกลางและภาคตะวันตกของประเทศไทย เท่านั้น ไล่ตั้งแต่ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม นครปฐม และราชบุรี
เพราะสภาพดินเหมาะสมกับการปลูกมะพร้าวน้ำหอม
จนทำให้มีกลิ่นหอมที่ไม่เหมือนใคร
จนทำให้มีกลิ่นหอมที่ไม่เหมือนใคร
ทำให้ผลผลิตมะพร้าวน้ำหอมเพิ่มขึ้นได้อย่างมีข้อจำกัด ขณะที่ความต้องการมะพร้าวน้ำหอมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งนอกจากมะพร้าวสดทั้งลูกแล้ว มะพร้าวไทยยังถูกนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้อีกหลากหลายมาก อย่างเช่น กะทิ เนื้อมะพร้าว หรือน้ำมะพร้าว
ทำให้มะพร้าวกลายเป็นสินค้าเกษตรที่มีมูลค่าสูงขึ้น
จนสามารถสร้างรายได้ให้ประเทศอย่างต่อเนื่อง
จนสามารถสร้างรายได้ให้ประเทศอย่างต่อเนื่อง
เราเห็นเรื่องนี้ได้จาก บริษัทที่ทำเกี่ยวกับมะพร้าวแปรรูปมากมาย ทั้งที่อยู่ในตลาดหุ้นไทย เช่น COCOCO หรือ PLUS
รวมไปถึงบริษัทที่ไปจดทะเบียนในตลาดหุ้นต่างประเทศ เช่น IFBH เจ้าของแบรนด์น้ำมะพร้าว IF ที่นำมะพร้าวไทยไปครองใจคนจีนจนกลายเป็นเบอร์ 1 ในประเทศมาแล้ว
และยังมีบริษัทนอกตลาดหุ้นชื่อดังอย่าง บริษัท เทพผดุงพรมะพร้าว จำกัด เจ้าของแบรนด์กะทิชาวเกาะ ที่ส่งออกมะพร้าวแปรรูปของตัวเองไปกว่า 40 ประเทศทั่วโลก
ทั้งหมดนี้ ถ้าจะบอกว่ามะพร้าวและทุเรียน กลายเป็นสินค้าเกษตรตัวแบกของไทย ก็คงไม่ผิดมากนัก
เพราะนอกจากมีมูลค่าเพิ่มในตัวเองแล้ว
ยังสามารถแปรรูปไปเป็นสินค้าอื่น ๆ ที่มีมูลค่าเพิ่มได้อีกระดับด้วย
ยังสามารถแปรรูปไปเป็นสินค้าอื่น ๆ ที่มีมูลค่าเพิ่มได้อีกระดับด้วย
ในวันที่ข้าว สินค้าหลักที่เราเคยภูมิใจมายาวนาน
แข่งขันกับเวียดนาม ที่มีต้นทุนถูกกว่าได้ยากขึ้น
แข่งขันกับเวียดนาม ที่มีต้นทุนถูกกว่าได้ยากขึ้น
หรือสินค้าเกษตรอื่น ๆ ที่เริ่มแข่งขันกับต่างชาติได้น้อยลง
จนเราเริ่มเสียส่วนแบ่งตลาดมากขึ้น ซึ่งแม้แต่ทุเรียนไทยก็เริ่มเจอการแข่งขันจากประเทศอื่น ๆ บ้างแล้ว
จนเราเริ่มเสียส่วนแบ่งตลาดมากขึ้น ซึ่งแม้แต่ทุเรียนไทยก็เริ่มเจอการแข่งขันจากประเทศอื่น ๆ บ้างแล้ว
แต่ช่วงที่ผ่านมา มะพร้าวและทุเรียนไทย ก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เป็นเครื่องจักรการเติบโตที่สูงกว่า การส่งออกสินค้าเกษตรในภาพรวม หลายเท่าตัวเสียอีก
ก็ไม่แน่ว่า หนึ่งในแบรนดิงที่คนต่างชาตินึกถึงประเทศไทย นอกจากการท่องเที่ยวแล้ว ทุเรียนและมะพร้าว ก็อาจเป็นอีกสองชื่อ ที่ต้องนึกถึงเช่นกัน..
Reference
- สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
- สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร