สรุปประเด็น DTAC เรื่องซิมดับ

สรุปประเด็น DTAC เรื่องซิมดับ

14 ก.ย. 2018
สรุปประเด็น DTAC เรื่องซิมดับ / โดย ลงทุนแมน
ล่าสุด..ศาลประกาศคุ้มครองผู้บริการคลื่น 850 MHz ของ DTAC เรียบร้อยแล้ว
แปลว่า ในวันอาทิตย์ที่จะถึงนี้ DTAC จะไม่มีปัญหาเรื่องซิมดับอีกต่อไป
ข่าวนี้ทำให้หุ้น DTAC เปิดบวกทันทีกว่า 6% ในช่วงบ่ายวันนี้
เรื่องนี้เป็นอย่างไร ลงทุนแมนจะสรุปเรื่องให้ฟัง
ถ้าพูดถึงเครือข่ายโทรศัพท์
ที่มีประเด็นของผู้ใช้มากที่สุดในขณะนี้
คงจะไม่พ้นชื่อของ DTAC
เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมานี้ กสทช.ประกาศจะไม่ใช้มาตรการเยียวยากับ DTAC สำหรับคลื่นความถี่ 850 MHz ที่กำลังจะหมดอายุลงในวันพรุ่งนี้แล้ว
ทำไม กสทช. ถึงไม่ใช้มาตรการเยียวยากับ DTAC เหมือนที่เคยให้กับเจ้าอื่นๆ เมื่อครั้งอดีต ?
ย้อนกลับไปเมื่อ 5 ปีที่แล้ว TRUE และ AIS เองก็เคยประสบปัญหาคลื่นกำลังจะหมดอายุเช่นกัน แต่ทั้งหมดนี้สาเหตุเกิดจากการจัดการคลื่นที่ล่าช้ากว่ากำหนดของทาง กสทช. ประกอบกับ มีผู้ใช้บริการจำนวนมากที่ยังอยู่บนคลื่นความถี่ที่กำลังจะหมดอายุ
กสทช.จึงสั่งใช้มาตรการเยียวยาจนกว่าจะเริ่มเปิดการประมูลคลื่นครั้งถัดไป
จนกระทั่งมาถึงการประมูลครั้งใหม่ ที่มีผู้เข้าร่วมประมูลทั้งหมด 4 เจ้า TRUE, AIS, DTAC และ JAS
ซึ่งสุดท้ายแล้วทั้ง TRUE กับ AIS ก็ได้รับการต่อสัญญาคลื่นความถี่ที่กำลังหมดอายุ
สำหรับคลื่น 900 MHz ที่มีการแข่งราคากัน จนกระทั่งราคาประมูลแพงเป็นอันดับ 2 ของโลกเลยทีเดียว
กรณีที่เกิดขึ้นกับ TRUE และ AIS ต่างกับ DTAC คราวนี้ขนาดไหน?
ก่อนที่คลื่น 850 MHz ของ DTAC กำลังจะหมดอายุ ทางกสทช.ได้มีการเปิดประมูลคลื่น 1800 MHz และ 900 MHz ครั้งใหม่เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
ทางบริษัท DTAC เองก็ได้ยื่นเรื่องขอเข้าประมูล 1800 MHz แต่ปฏิเสธในการเข้าร่วมประมูลคลื่น 900 MHz
ทำให้กสทช. ชี้แจงเหตุผลจากการไม่เยียวยา DTAC ในครั้งนี้ว่า จำนวนลูกค้าที่อยู่บนคลื่น 850 MHz มีเพียงแค่ 94,000 ราย และได้จัดเปิดประมูลคลื่นไปแล้ว แต่ทาง DTAC ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมประมูลเอง
แล้วคลื่นที่ 850 MHz ที่หมดอายุนี้จะกระทบกับ DTAC ขนาดไหน ?
ตอนนี้ทาง DTAC มีคลื่นทั้งหมด 4 ประเภท
คลื่น 2300 (เช่าต่อจาก TOT ที่เป็นผู้ได้รับสัมปทาน) และ 2100 MHz อยู่ภายใต้ใบอนุญาตของ กสทช. ซึ่งผู้ถือใบคือ บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต (DTN)
คลื่น 1800 และ 850 MHz อยู่ภายใต้สัมปทานของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
โดยทาง DTAC ระบุว่าลูกค้าที่มีอยู่บนคลื่น 850 MHz มีอยู่ประมาณ 90,000 รายซึ่งใกล้เคียงกับที่ทาง กสทช.ได้ชี้แจง
แปลว่าลูกค้า 90,000 รายที่อยู่ภายใต้คลื่น 850 MHz เพียงอย่างเดียวก็จะต้องซิมดับ
ในไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมาบริษัท DTAC มีจำนวนผู้ใช้บริการรวมทั้งหมด 23.6 ล้านหมายเลข
แบ่งเป็น ระบบรายเดือน 5.4 ล้านหมายเลข และ ระบบเติมเงินอีก 18.2 ล้านหมายเลข
แต่ในที่สุด ศาลได้ประกาศความคุ้มครองผู้ใช้บริการคลื่น 850 MHz เป็นการชั่วคราวจนถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2018 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่งผลให้ปัญหาเรื่องซิมดับถูกคลี่คลายลงไปได้ชั่วคราว
ระหว่างนี้เอง DTAC ก็จะต้องดำเนินการหาทางออกของเรื่องนี้ให้เร็วที่สุด
ซึ่งผลสุดท้ายจะออกมาในรูปแบบไหน เราก็คงจะต้องติดตามกันต่อไป..
----------------------
ครั้งแรกของประเทศไทย กับแพลตฟอร์ม #SocialKnowledge ที่เชื่อมโยงความคิดดีๆ ของทุกคนเข้าด้วยกัน แอปพลิเคชันนี้ชื่อ "blockdit" โหลดได้ที่ blockdit.com
ความคิดดีๆ เกิดขึ้นที่บล็อกดิต..
.
หนังสือลงทุนแมนไว้อ่านยามว่าง เล่ม 1.0-5.0 ซื้อได้ที่ลิงก์นี้ lazada.co.th/shop/longtunman
.
อินสตาแกรม ไว้ดูภาพสวยๆ instagram.com/longtunman
.
ทวิตเตอร์กระชับฉับไว twitter.com/longtunman
.
ไลน์ส่งข้อความตรงวันละครั้ง line.me/R/ti/p/%40longtunman
----------------------
References
-https://www.dtac.co.th/blog/newsroom/dtac-to-participate-in-1800-mhz-spectrum-auction-but-not-in-900-mhz.html
-https://portal.settrade.com/simsImg/news/histri/201807/18064226.pdf
-https://www.the101.world/pornthep-interview/
[9893].
Tag: dtac
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.