อธิบายหุ้น IPO แบบเข้าใจง่ายๆ
อธิบายหุ้น IPO แบบเข้าใจง่ายๆ / โดย ลงทุนแมน
คำว่า IPO เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยได้ยิน สำหรับคนที่ไม่ค่อยคุ้นกับการลงทุนในตลาดหุ้นอาจจะสงสัยว่า IPO คืออะไร
วันนี้ลงทุนแมนจะมาเล่าให้ฟัง
เพื่อให้เห็นภาพ เราจะยกตัวอย่างของการเปิดร้านอาหาร
ถ้าเราเปิดร้านอาหาร 1 ร้าน พอทำไปสักพัก ธุรกิจของเราเริ่มขายดี ลูกค้าติดใจ
เราจึงมีแนวคิดอยากที่จะขยายสาขาของร้านเพิ่มไปยังพื้นที่อื่นๆ อีก ซึ่งแน่นอนว่า เราต้องการเงินลงทุนเพิ่มขึ้นเพื่อมาขยายธุรกิจ
โดยที่แหล่งเงินทุนจะมี 2 ทางคือ
1.มาจากการกู้เงิน เช่น กู้เงินกับธนาคาร
2.หาเพื่อนมาร่วมหุ้นด้วย
1.มาจากการกู้เงิน เช่น กู้เงินกับธนาคาร
2.หาเพื่อนมาร่วมหุ้นด้วย
ซึ่งในกรณีที่ 2 เราจะเรียกอย่างเป็นทางการว่า “การระดมทุนโดยการขายหุ้นเพิ่มทุน”
เมื่อเราเลือกการระดมทุนโดยการขายหุ้นของเรานั้น เรากำลังใช้แหล่งเงินทุนโดยที่เราไม่ต้องเสียดอกเบี้ย เพราะไม่ได้ไปกู้ธนาคาร
ในขณะที่จะมีนักลงทุนรายใหม่ๆ เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นร่วมกับเราในกิจการ
สมมติว่าแต่เดิมกิจการนี้เราถือหุ้นอยู่ 100% บริษัทมีหุ้นทั้งหมด 10,000 หุ้น หุ้นละ 100 บาท ซึ่งหมายความว่าจะมีทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท
ถ้าเราต้องการเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 2,000,000 บาท ผ่านการขายหุ้นเพิ่มทุนอีก 10,000 หุ้น ให้แก่นักลงทุนทั่วไป เราก็จะได้เงินมาเพิ่มในบริษัท ในขณะที่สัดส่วนการถือหุ้นของเราในบริษัทนี้จะลดลงเหลือครึ่งหนึ่ง
ในกรณีที่บริษัทของเราใหญ่ถึงระดับหนึ่ง เราจะสามารถเสนอขายหุ้นให้กับสาธารณะได้ แต่ต้องยึดกับกฎเกณฑ์ของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ซึ่งเราจะเรียกการขายหุ้นเพิ่มทุนส่วนนี้ว่า Initial Public Offering หรือ หุ้น IPO นั่นเอง
ส่วนราคาขายหุ้นเพิ่มทุนของกิจการเรานั้นจะได้เท่าไรก็ขึ้นอยู่กับความสนใจของนักลงทุนที่จะมาร่วมลงทุนกับบริษัท
เช่น ถ้าราคาขายหุ้นเพิ่มทุนเท่ากับ 150 บาท กิจการเราก็จะได้เงินจากการขายหุ้นเพิ่มทุน 1,500,000 บาท ถึงแม้ว่าทุนจดทะเบียนในส่วนเพิ่มทุนจะเป็น 1,000,000 บาทก็ตาม
เมื่อกิจการของเราตัดสินใจจะระดมทุนโดยการเสนอขายหุ้น IPO จะมีผู้ที่เกี่ยวข้องหลายฝ่ายด้วยกันคือ
1.ที่ปรึกษาทางการเงิน - ทำหน้าที่คล้ายพี่เลี้ยง โดยช่วยตรวจสอบสถานะของกิจการ รวมทั้งยื่นแบบคำขอและหนังสือชี้ชวนการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบ Filing)
1.ที่ปรึกษาทางการเงิน - ทำหน้าที่คล้ายพี่เลี้ยง โดยช่วยตรวจสอบสถานะของกิจการ รวมทั้งยื่นแบบคำขอและหนังสือชี้ชวนการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบ Filing)
2.ผู้ตรวจสอบ/ที่ปรึกษากฎหมาย - ให้คำแนะนำในการจัดทำระบบการควบคุมภายใน ระบบบัญชี แปรสภาพบริษัทจำกัดให้เป็นบริษัทมหาชน
3.สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) - ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลของกิจการที่จะเสนอขายหลักทรัพย์ ซึ่งหลังจากที่ได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต.แล้ว กิจการของเราต้องขายหุ้นให้เสร็จสิ้นภายใน 6 เดือน
4.ผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ - เป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่จะช่วยเรา ในการขายหลักทรัพย์ให้แก่นักลงทุนทั่วไป โดยที่ปรึกษาทางการเงินอาจทำหน้าที่เป็นผู้จัดจำหน่ายด้วยก็ได้
5.นักลงทุน - ผู้ที่สนใจจองซื้อหุ้น ซึ่งมีทั้งนักลงทุนรายบุคคล นักลงทุนสถาบันทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งกิจการที่เสนอขายหุ้น IPO จะร่วมกับที่ปรึกษาทางการเงิน ทำการสำรวจความต้องการซื้อหลักทรัพย์ (Book Building) กับนักลงทุนสถาบัน เพื่อกำหนดช่วงราคาเสนอขายหุ้น
6.ตลาดหลักทรัพย์ - ทำหน้าที่เป็นตลาดรองในการซื้อขายหลักทรัพย์หลังจากผ่านกระบวนการจำหน่ายหุ้น IPO
สถิติจำนวนบริษัท/หลักทรัพย์จดทะเบียนที่เข้ามาระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ และมูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคา IPO
ปี 2559 จำนวน 29 แห่ง มูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคา IPO 157,766 ล้านบาท
ปี 2560 จำนวน 46 แห่ง มูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคา IPO 426,349 ล้านบาท
ปี 2560 จำนวน 46 แห่ง มูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคา IPO 426,349 ล้านบาท
ในช่วงที่ตลาดหุ้นคึกคักนั้น หุ้น IPO จะเป็นที่ต้องการของนักลงทุนมาก
มีข้อมูลเพิ่มเติมคือ ตามเกณฑ์ ก.ล.ต. นั้นระบุว่า ถ้าเป็นหุ้นรัฐวิสาหกิจต้องไม่มีส่วนที่จัดสรรเป็นพิเศษให้กับผู้มีอุปการคุณ โดยถือว่าประชาชนทุกคนเป็นผู้มีอุปการคุณ ดังนั้น ต้องเป็นการจัดสรรแบบวิธีสุ่มเลือกให้แก่ประชาชนผู้ที่สนใจจะลงทุน
แต่ถ้าเป็นหุ้นของบริษัทเอกชนทั่วไป ก.ล.ต. จะไม่มีข้อกำหนดตรงนี้
อย่างไรก็ตาม เมื่อจัดสรรหุ้น IPO ให้ผู้มีอุปการคุณ บริษัทหลักทรัพย์ก็ต้องเปิดเผยรายชื่อคนเหล่านั้น ให้คนทั่วไปได้ทราบด้วย
คนส่วนใหญ่มักคิดว่า หุ้น IPO ที่ตัวเองซื้อไว้ เมื่อเข้ามาซื้อขายวันแรกราคาจะต้องเพิ่มขึ้นเสมอ แต่ก็ไม่ทุกครั้งไป เพราะราคาหุ้นขึ้นอยู่กับคุณภาพของกิจการว่ามีแนวโน้มจะเติบโตได้อีกไหม
ในบางกรณีการซื้อขายหุ้น IPO ในวันแรก อาจจะตกลงจากราคา IPO ก็เป็นได้ ถ้าราคาหุ้น IPO นั้นถูกกำหนดที่ราคาแพงเกินไป รวมไปถึงสภาวะตลาดหุ้นในช่วงนั้นไม่เอื้ออำนวย
ดังนั้น การทำความเข้าใจและรู้ที่มาที่ไปในความหมายที่แท้จริงของคำว่า IPO ก็จะทำให้เรามีความมั่นใจ และระมัดระวังในการลงทุนมากขึ้น เพราะไม่ว่าจะลงทุนในหุ้น IPO หรือ หุ้นอะไร การลงทุนที่ดีที่สุด ก็น่าจะเป็นการลงทุนในความรู้ของตัวเรา นั่นเอง..
----------------------
----------------------
ลงทุนในความรู้ของตัวเอง ด้วยหนังสือลงทุนแมน
หนังสือ ลงทุนแมน 7.0 มาแล้ว! พร้อมไอเท็มพิเศษ ที่ไม่มีในเล่มอื่น
สั่ง pre-order หนังสือลงทุนแมน 7.0 วันนี้ รับฟรี Post Card พร้อมลายเซ็นของลงทุนแมน Post Card มี 4 แบบ โดยจะเป็นการสุ่ม (มีจำนวนจำกัด 500 ท่านแรก) สั่งซื้อได้ที่นี่ https://www.lazada.co.th/products/70-i262486552-s404256916.html
----------------------
References
- https://www.set.or.th/set/ipo.do
- https://www.settrade.com/brokerpage/IPO/StaticPage/Education/ipo_investor_t.html
- https://www.set.or.th/th/faqs/listing_p1.html#16
-https://www.sec.or.th/TH/Pages/Information/articles/Interviews6.aspx
- https://www.set.or.th/th/products/listing2/listing_set_p6.html
----------------------
References
- https://www.set.or.th/set/ipo.do
- https://www.settrade.com/brokerpage/IPO/StaticPage/Education/ipo_investor_t.html
- https://www.set.or.th/th/faqs/listing_p1.html#16
-https://www.sec.or.th/TH/Pages/Information/articles/Interviews6.aspx
- https://www.set.or.th/th/products/listing2/listing_set_p6.html