กรณีศึกษา การปรับตัวและยกระดับอุตสาหกรรมอ้อย น้ำตาล สู่ BCG Economy ด้วยนวัตกรรมของมิตรผล

กรณีศึกษา การปรับตัวและยกระดับอุตสาหกรรมอ้อย น้ำตาล สู่ BCG Economy ด้วยนวัตกรรมของมิตรผล

10 ม.ค. 2020
ผู้สนับสนุน..
กรณีศึกษา การปรับตัวและยกระดับอุตสาหกรรมอ้อย น้ำตาล สู่ BCG Economy ด้วยนวัตกรรมของมิตรผล
รู้หรือไม่ น้ำตาลเป็นหนึ่งในสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศ
โดยไทยถือเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลมากสุดอันดับ 2 ของโลก
คิดเป็น 11.6% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด
อย่างไรก็ตามหากดูข้อมูลการผลิตอ้อยที่เข้าสู่กระบวนการทางอุตสาหกรรมย้อนหลังของไทย
ปี 2559 94 ล้านตัน
ปี 2560 92 ล้านตัน
ปี 2561 134 ล้านตัน
และล่าสุดในปี 2562 130 ล้านตัน
จะเห็นได้ว่าปริมาณผลผลิตอ้อยในแต่ละปีมีความไม่แน่นอน
ซึ่งเรื่องนี้ก็มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ตั้งแต่สถานการณ์ภัยแล้ง น้ำท่วม ไปจนถึงราคาอ้อยที่ผันผวนที่อาจทำให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชชนิดอื่น นอกจากนี้ในส่วนของน้ำตาลเองก็มีความผันผวนด้านราคาในตลาดโลกเช่นเดียวกัน
และยังมีปัญหาจากการเผาอ้อยที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
พอเรื่องเป็นแบบนี้ กลุ่มมิตรผล จึงได้เล็งเห็นและก่อตั้งศูนย์นวัตกรรมและการวิจัยขึ้นที่ อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ ในปี พ.ศ. 2540
เนื่องจากกลุ่มมิตรผลมองเห็นความสำคัญของอ้อย ซึ่งเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศ และมีศักยภาพสามารถนำไปต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าให้สินค้าได้ ด้วยการนำนวัตกรรมมาใช้ในการดึงประโยชน์จากอ้อย น้ำตาล และสิ่งที่เหลืออยู่ในกระบวนการผลิตน้ำตาลให้ได้ประโยชน์มากที่สุด
โดยเฉพาะการนำไปผ่านกระบวนการทางชีวภาพ (Biorefinery) เพื่อแปรรูปไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้น
ซึ่งเรื่องนี้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติ BCG ของรัฐบาลไทย
ที่เน้นเกี่ยวกับ เศรษฐกิจฐานชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว
ปัจจุบัน ศูนย์นวัตกรรมและการวิจัยมิตรผล ดำเนินงานวิจัยที่หลากหลายตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ด้วยทีมนักวิจัย 70 คน และงบประมาณสนับสนุนปีละกว่า 250 ล้านบาท
นอกจากนั้นยังมีการทำงานร่วมกับองค์กรชั้นนำ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐอย่าง กระทรวงเกษตร, กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม, กระทรวงพาณิชย์, กระทรวงอุตสาหกรรม ไปจนถึงภาคเอกชน อย่างบริษัทชั้นนำระดับโลก เช่น IBM
โดยศูนย์นวัตกรรมและการวิจัยมีการรองรับงานทั้งหมด 4 สาขา
1. งานวิจัยด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการไร่อ้อยสมัยใหม่ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาพันธุ์อ้อยที่มีศักยภาพ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและ AI เพื่อการทำเกษตรแบบแม่นยำ
2. งานวิจัยด้านการเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์น้ำตาล ผ่านการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิตน้ำตาลให้มีประสิทธิภาพ และทันสมัยตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค เช่น น้ำตาลเพื่อสุขภาพ
3. งานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิต โดยเน้นการแปรรูปเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ (Circular Economy) ต่อยอดสู่ธุรกิจใหม่ในด้านเศรษฐกิจฐานชีวภาพ (Bio-economy) และเพิ่มการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Economy)
4. ศูนย์ข้อมูลงานวิจัยระดับโลก ซึ่งรวบรวมข้อมูลการวิจัยและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี รวมทั้งการร่วมมือระหว่างองค์กร เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ
ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าศูนย์นวัตกรรมและการวิจัยมิตรผล ต้องการผลักดันให้เกิดการต่อยอดเพิ่มมูลค่า เพื่อสร้างความมั่นคงและยกระดับศักยภาพอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล
ช่วยให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันกับนานาชาติได้อย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น
โดยเน้นที่การวิจัยและพัฒนาเป็นหลัก ซึ่งจะยั่งยืนกว่าการแข่งขันด้วยราคา
อ่านมาถึงตรงนี้เราคงจะเห็นแล้วว่า การวิจัยและพัฒนาของมิตรผล ส่งผลดีทั้งชาวไร่ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศ
ภาคเกษตรกรรม ผ่านการส่งเสริมให้ชาวไร่มีอาชีพที่มั่นคงและรายได้ที่ดีขึ้น
ภาคเศรษฐกิจ โดยการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาวด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ
ภาคสังคม ผ่านการนำเสนอสินค้าที่มีคุณภาพ
รวมถึงด้านสิ่งแวดล้อม โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำเกษตร ลดการเผาอ้อย และกระบวนการผลิตที่เน้นการแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ และลดของเสียให้ได้มากที่สุด
ซึ่งทั้งหมดนี้ ถือเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างคุณค่าให้แก่ทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืน..
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.