กรณีศึกษา สิ่งที่ขาดหายไปในระบบเศรษฐกิจไทย

กรณีศึกษา สิ่งที่ขาดหายไปในระบบเศรษฐกิจไทย

5 มิ.ย. 2020
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี X ลงทุนแมน
กรณีศึกษา สิ่งที่ขาดหายไปในระบบเศรษฐกิจไทย
ประชากรสิงคโปร์ มี GDP ต่อคนต่อเดือนอยู่ที่ 169,900 บาท
ประชากรสหรัฐอเมริกา มี GDP ต่อคนต่อเดือนอยู่ที่ 165,400 บาท
ประชากรญี่ปุ่น มี GDP ต่อคนต่อเดือนอยู่ที่ 103,300 บาท
ประชากรเกาหลีใต้ มี GDP ต่อคนต่อเดือนอยู่ที่ 82,500 บาท
ประชากรไทย มี GDP ต่อคนต่อเดือนอยู่ที่ 19,100 บาท
จะเห็นว่าตัวเลข GDP ของเรายังห่างไกลจากประเทศเหล่านี้รวมถึงประเทศอื่นๆ
แล้วความห่างชั้นนี้เกิดจากอะไร?
ต้องยอมรับว่าเรื่องนี้มีอยู่หลายปัจจัย หนึ่งในนั้นก็คือ
ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยพึ่งพาการส่งออกด้วยสินค้าการเกษตร
ต่างจากประเทศสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ที่คิดค้นเทคโนโลยี และเน้นการสร้างนวัตกรรม
ทำให้มูลค่าสินค้าที่เราส่งออก ไม่สามารถเทียบได้กับประเทศที่พัฒนาแล้ว
สมมติเราขายข้าวหอม 1 ตันราคา 16,000 บาท
ขณะที่ราคา iPhone 11 Pro หนึ่งเครื่องราคาเริ่มต้น 35,900 บาท
เราขายข้าวหอม 2 ตันยังไม่เท่ากับราคา iPhone 11 Pro เครื่องเดียว
แล้วจะทำอย่างไร ให้ประเทศเรานอกจากจะโดดเด่นเรื่องสินค้าการเกษตรแล้ว
ยังเป็นประเทศที่มีเทคโนโลยี พร้อมกับสร้างแบรนด์สินค้าเป็นของตัวเอง
เพื่อให้ประเทศมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
จริงๆ แล้วประเทศไทยก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมที่เป็นเทคโนโลยีมานานแล้ว
เรามีทั้งโรงงานผลิตรถยนต์, โรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า, โรงงานผลิตชิ้นส่วน IT
และหากถามต่อว่าโรงงานเหล่านี้ มีกี่โรงงานที่ผลิตสินค้าที่เจ้าของเป็นคนไทย
ก็คงต้องตอบว่า น้อยมาก เพราะส่วนใหญ่เจ้าของโรงงานก็คือบริษัทต่างชาติ
หรือไม่ก็เป็นโรงงานคนไทยที่มีสถานะเป็นเพียง OEM ผลิตสินค้าจนถึงอะไหล่ให้แก่แบรนด์สินค้าจากต่างประเทศ
จริงอยู่ว่าเรื่องนี้ ผลดีก็คือการสร้างงานทำให้เศรษฐกิจไทยดีขึ้น
แต่ผลเสียก็รุนแรงไม่น้อย เมื่อโมเดลโครงสร้างเศรษฐกิจแบบนี้
ประเทศไทยจะเป็นเพียงแค่ลูกจ้างที่กินเงินเดือนจากบริษัทต่างชาติอยู่ร่ำไป
คำถามต่อมาก็คือแล้วทำไมคนไทย ไม่คิดสร้างแบรนด์สินค้า จนถึงเทคโนโลยีทันสมัย
ให้เทียบชั้นกับต่างประเทศ
เรื่องนี้มีหลายปัญหาที่ฝังรากลึกมานาน
หนึ่งในตัวอย่างที่เห็นชัดเจนสุด ก็คือบริษัทขนาดใหญ่ในบ้านเรา ส่วนใหญ่เลือกซื้อเทคโนโลยีจากต่างชาติ
เพื่อมาผลิตสินค้า มากกว่าที่จะคิดค้นเทคโนโลยีขึ้นมาเอง
แรงงานไทย จึงเป็นแค่ “ผู้ใช้” ไม่ใช่อยู่ในสถานะ “ผู้คิดค้น” เทคโนโลยีใหม่ๆ ขึ้นมา
ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดอะไร เพราะหากบริษัทเสียเวลานั่งคิดเทคโนโลยีขึ้นมาเอง
ก็จะเสียเวลา และเสียเปรียบในการแข่งขัน สุดท้ายก็ถูกบริษัทคู่แข่งแซงหน้า
แต่ผลเสียที่ตามมาก็คือ แรงงานมีฝีมือ พนักงานมันสมองดีๆ
ไม่มีโอกาสนำสิ่งที่เรียนรู้จากในรั้วมหาวิทยาลัย มาใช้กับการทำงานในบริษัทได้อย่างเต็มที่
ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่นักศึกษาที่จบใหม่ทั้งสาย วิศวกรรม วิทยาศาสตร์ ก็รับรู้มาจากเพื่อนและรุ่นพี่
ทำให้หลายคนเมื่อเรียนจบ จึงเลือกทำงานในอาชีพที่ไม่ตรงกับวุฒิการศึกษา
เพราะมองว่าโอกาสก้าวหน้าของตัวเองถูกจำกัดด้วย วัฒนธรรมธุรกิจแบบสำเร็จรูป
แล้วจะดีกว่าไหม หากคนที่เรียนจบปริญญาตรีคณะ วิศวกรรม วิทยาศาสตร์
จะก้าวข้ามข้อจำกัดนี้ ด้วยการเป็นเจ้าของธุรกิจสร้างนวัตกรรมเป็นของตัวเอง ด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผนวกกับความรู้ด้านธุรกิจ
เรื่องนี้ถือว่าสำคัญ เพราะหากคนที่มีพื้นฐานแข็งแรงในวิชาชีพ วิศวกรรม และวิทยาศาตร์
เมื่อเขาได้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้ ก็จะทำให้กล้าที่จะออกจากกรอบเดิมๆ
ทั้งการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ สร้างสรรค์เทคโนโลยีล้ำสมัย สร้างโมเดลธุรกิจที่มาตอบโจทย์ตลาด
และถ้าหากประเทศเรามีประชากรที่คอยสร้างสรรค์เทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
เราก็อาจจะหลุดพ้นจากการเป็นแค่ประเทศที่รับจ้างผลิต
มาเป็นประเทศที่เป็นเจ้าของธุรกิจระดับโลกมากขึ้น เหมือนอย่าง ญี่ปุ่น หรือสหรัฐอเมริกา..
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มองเห็นปัญหานี้มานาน จึงได้มีการก่อตั้งบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (Graduate School of Management and Innovation) หรือ GMI เพื่อมาเติมองค์ความรู้ในด้านนี้
ยกตัวอย่างเช่น สาขาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, สาขาการจัดการสำหรับการเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม
บริหารจัดการองค์กร, การจัดการธุรกิจดิจิทัล, การจัดการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
แล้วในภาพรวมหลักสูตร GMI สอนอะไรแก่คนที่มาเรียน?
ยกตัวอย่าง หากเราทำงานในบริษัทไทยที่ซื้อเทคโนโลยีการทำงานมาจากต่างประเทศ
หากเราเรียนหลักสูตรนี้ ก็จะสอนให้เราไม่ใช่แค่เป็น “ผู้ใช้” อย่างเดียว
แต่จะสอนให้เราคิดต่อยอดพัฒนาเทคโนโลยีที่มีอยู่ตรงหน้า ให้เหนือชั้นกว่าเดิม
ขณะเดียวกันก็ยังสอนให้เรามองโลกธุรกิจในมุมที่กว้างและลึกขึ้น ทั้งการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป
จนถึงการคิดแบบผู้นำการเปลี่ยนแปลงขององค์กร
สรุปแล้วหลักสูตรนี้ นอกจากเราจะได้ความรู้เชิงวิชาการแล้วนั้น ยังปลูกฝังให้ผู้ที่มาเรียนมีวิธีคิดนอกกรอบ
และแค่คิดอย่างเดียวคงไร้ประโยชน์ แต่หลักสูตร GMI ยังสอนให้เราลงมือทำในสิ่งที่ใครหลายคนไม่ทำ
ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมา ถ้ามหาวิทยาลัยต่างๆ ช่วยกันพัฒนาระบบการศึกษาให้ดีขึ้น ก็จะส่งผลให้ประเทศไทยมีเศรษฐกิจที่ดีขึ้นตามมาในอนาคตเช่นกัน..

เว็บไซต์บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (Graduate School of Management and Innovation)
http://www.gmi.kmutt.ac.th/
References
-มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
-IMF
-World Bank
-worldometer
-https://www.finnomena.com/investment-reader/middle-income-trap/
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.