กรณีศึกษา ภารกิจของ MEA การไฟฟ้านครหลวง

กรณีศึกษา ภารกิจของ MEA การไฟฟ้านครหลวง

9 มิ.ย. 2020
MEA x ลงทุนแมน
กรณีศึกษา ภารกิจของ MEA การไฟฟ้านครหลวง /โดย ลงทุนแมน
“ผมเดินทางไปเยือนหลายเมืองที่มีสายอะไรพันกันยุ่งเหยิงบนเสาไฟฟ้า
อย่างในรูปนี้คือประเทศไทย”
นี่คือข้อความของ บิลล์ เกตส์ ผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟต์
ที่เขาโพสต์ลง Facebook ตัวเองในปี 2559 ซึ่งเวลานั้นมีคนติดตาม 18 ล้านคน
เผลอแป๊บเดียว...กลายเป็นแรงกระเพื่อมรุนแรงที่ใคร ๆ ต่างพูดถึง
ซึ่งสายที่พันกันอีรุงตุงนังบนเสานั้น จริง ๆ แล้วไม่ใช่สายไฟฟ้า แต่เป็นสายอื่น ๆ เช่น สายโทรคมนาคม สายสื่อสารต่าง ๆ ซึ่งบางสายก็เสียค่าเช่า บางสายก็ลักลอบ
เมื่อเกิดเป็นกระแสที่พูดกันเป็นวงกว้างก็เลยทำให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องรีบเร่งให้สายทุกประเภทลงสู่ใต้ดินทั้งหมด
สายสื่อสารต่าง ๆ สำนักงาน กสทช. จะรับผิดชอบเรื่องนี้
ส่วนสายไฟฟ้าที่เรียงกันอยู่ด้านบนสุด ก็จะเป็นหน้าที่ของ การไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA
เรื่องนี้น่าสนใจไม่น้อย เพราะรู้หรือไม่ว่า
จริง ๆ แล้ว ภารกิจสายไฟฟ้าลงดินเริ่มตั้งแต่ปี 2527 และจะสิ้นสุดในปี 2564 ซึ่งกำหนดเส้นทาง 215.6 กิโลเมตร
แต่...ผ่านมา 36 ปี MEA สามารถนำสายไฟฟ้าลงใต้ดินได้แค่ 46.6 กิโลเมตร
หรือคิดเป็นเพียง 21.6% ของเป้าหมายที่ปักธงไว้
แล้วทำไมภารกิจนี้ถึงล่าช้า
แล้วมีความจำเป็นมากแค่ไหนที่จะต้องนำสายไฟฟ้าลงใต้ดิน
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ก่อนอื่นต้องบอกเหตุผลที่ MEA ต้องการให้สายไฟฟ้าทั้งหมดฝังลงอยู่ใต้ดิน
อย่างแรกคือ ถ้าสายไฟฟ้าอยู่ใต้ดิน หากเกิดลมแรงมีพายุ รถชนเสาไฟฟ้า
ก็จะไม่ทำให้บ้านเรือนต่าง ๆ ต้องไฟดับเหมือนเสาไฟฟ้าแบบเดิม
อีกทั้งเทคโนโลยีสายไฟฟ้าลงใต้ดิน สามารถรองรับปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม
และสุดท้าย การที่ไม่มีสายไฟยุ่งเหยิง ก็จะทำให้วิวรอบกรุงเทพฯ สวยงามเป็น มหานครแห่งอนาคต Smart Metro
เรื่องต่อมาที่หลายคนตั้งคำถามก็คือ แล้วทำไมการนำสายไฟฟ้าลงดิน ถึงล่าช้าขนาดนี้
คำตอบก็คือ MEA กำลังเผชิญกับอุปสรรคและปัญหามากมาย
จริง ๆ แล้วงบประมาณลงทุนในการนำสายไฟฟ้าลงดินสูงเป็น 10 เท่าหากเทียบกับการสร้างเสาไฟฟ้าบนดิน อีกทั้งแผนงานต่าง ๆ ต้องผ่านมติเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ของรัฐบาลแต่ละสมัย
และเมื่อผ่านการเห็นชอบ ก็ต้องวางแผนออกแบบก่อสร้าง ทั้งสร้างบ่อพักและท่อร้อยสายไฟฟ้าเพื่อนำสายไฟฟ้าลงใต้ดิน ซึ่งแต่ละเส้นทางก็จะมีความยากและง่ายต่างกันไป
เมื่อผ่านขั้นตอนนี้ ก็ต้องมาติดตั้งสายไฟฟ้าใต้ดิน แล้วค่อยเปลี่ยนระบบจากสายไฟฟ้าอากาศ จนกระทั่งขั้นตอนสุดท้าย คือการรื้อถอนเสาไฟฟ้านั่นเอง
จะเห็นว่าการดำเนินการแต่ละครั้งต้องผ่านสารพัดขั้นตอน และยังต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นให้ทำงานเดินหน้าไปพร้อม ๆ กัน
อีกทั้งการทำงานก่อสร้างแต่ละวัน ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะถูกจำกัดด้วยเวลา 22.00 น. - 05.00 น. เท่านั้น
เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการจราจร
และในบางเส้นทาง ที่ในยามค่ำคืนเต็มไปด้วยร้านค้าและนักท่องเที่ยว การก่อสร้างจะลำบากขึ้นเป็นเท่าตัว จนเกิดความล่าช้า
ก็ต้องบอกว่านี่เป็นภารกิจที่โหดไม่ใช่น้อย
เพื่อให้ระบบไฟฟ้ามีความมั่นคง สามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในเขตเมืองได้มากขึ้นกว่าเสาไฟฟ้าแบบเดิม
สำหรับการเกิดวิกฤติ COVID-19 ที่ทำให้ทุกคนต้องกักตัวอยู่บ้าน เว้นระยะห่าง และหลีกเลี่ยงการสัมผัส
จุดนี้กลายเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้พฤติกรรมคนเราเปลี่ยนไปสู่ออนไลน์กันมากขึ้น
หน่วยงานราชการหลายแห่งจึงพยายามนำระบบงานบริการออนไลน์มาใช้ แต่เรื่องที่ฮือฮาและได้รับความสนใจไม่น้อยเห็นจะเป็นนโยบายการคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า และมาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าของ MEA ที่หลายคนหวังว่าจะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยลดภาระในสถานการณ์ระบาดของ COVID-19
MEA ยังถือเป็นหน่วยงานรัฐอันดับต้น ๆ ที่ผันตัวมาพัฒนา Application และใช้ประโยชน์จากระบบ IT อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อให้บริการผ่านช่องทางออนไลน์
MEA Smart Life Application แอปนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับงานบริการด้านไฟฟ้าแบบครบวงจรตั้งแต่ปี 2556 การันตีด้วยรางวัล ICT Excellence Awards ในงาน Thailand ICT Excellence Awards 2016 ประเภทโครงการพัฒนากระบวนการหลักภายใน (Core Process Improvement Project) และรางวัลรัฐบาลดิจิทัล ในงาน Digital Government Awards 2019
โดย App นี้ เราสามารถใช้ตรวจสอบค่าไฟ ชำระค่าไฟฟ้าออนไลน์ แจ้งเหตุไฟฟ้าขัดข้อง รวมถึงมีแจ้งเตือนประกาศดับไฟในพื้นที่ของเราล่วงหน้าด้วย ถือเป็น App ที่ตอบโจทย์ครบทุกเรื่องไฟฟ้า
ดาวน์โหลดได้ฟรี ที่ http://onelink.to/measmartlife
MEASY บริการขอใช้ไฟฟ้าออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ https://eservice.mea.or.th/measy
เพื่ออำนวยความสะดวกให้ขอใช้ไฟฟ้าได้ ทุกที่ ทุกเวลา ไม่ต้องเดินทางไปไหนให้ยุ่งยาก รู้ค่าใช้จ่ายทันที สามารถชำระเงินออนไลน์ และติดตามสถานะได้ทุกขั้นตอน
MEA e-Bill บริการออนไลน์ล่าสุด เพื่อรับเอกสารออนไลน์ ผ่านทาง SMS หรือ Email ไม่ว่าจะเป็น
e-Invoice: ใบแจ้งยอดค่าไฟฟ้า
e-Receipt/e-Tax Invoice: ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี
e-Notification: หนังสือเตือนให้ชำระค่าไฟฟ้า
สมัครบริการได้ที่ https://ebill.mea.or.th
และอีกหนึ่งบริการที่ขาดไม่ได้ในยุค New Normal นั่นคือ MEA e-Payment บริการชำระค่าไฟผ่านช่องทางต่าง ๆ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
รู้หรือไม่ว่า ช่วงสถานการณ์ COVID-19 ผู้คนหันมาจ่ายค่าไฟผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากเดิมในช่วงเหตุการณ์ปกติ เมื่อเดือน ม.ค. 2563 อยู่ที่ 54.6% ขยับขึ้นมาเป็น 61.94% ในเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา หรือเพิ่มขึ้นถึง 7.34% กันเลยทีเดียว
ซึ่งนอกจากการชำระผ่านช่องทาง e-Payment จะปลอดภัย ไม่ยุ่งยาก ลดการสัมผัสกระดาษ และไม่ต้องเดินทางแล้ว ยังฟรีค่าธรรมเนียมด้วย ซึ่งสามารถจ่ายได้ทั้ง ผ่าน MEA Smart Life Application, หักบัญชีธนาคารหรือบัตรเครดิตอัตโนมัติ, Mobile Banking และ Internet Banking
อย่างไรก็ตามในระยะยาว เมื่อวิกฤติผ่านพ้นไป คนออกจากบ้านกันมากขึ้น ก็ต้องติดตามดูว่าพฤติกรรมผู้คนยังเป็นเช่นเดิมหรือไม่ หรือในอนาคต MEA จะแสวงหาฟีเจอร์ใหม่ ๆ ตอบโจทย์ลูกค้า ผู้ใช้ไฟฟ้าได้อย่างไร รวมทั้งภารกิจของ MEA หรือการไฟฟ้านครหลวงที่นำสายไฟฟ้าลงดินจะสำเร็จได้เร็วแค่ไหน และการแก้ไขปัญหาสายสื่อสารจะคืบหน้าอย่างไร ซึ่งทุกคนคงฝันไว้ว่าเราจะได้เห็นกรุงเทพมหานคร ที่มีภูมิทัศน์สวยงามไร้สายไฟฟ้ายุ่งเหยิงในอนาคต
และเมื่อถึงเวลานั้น บิลล์ เกตส์ มาเที่ยวเมืองไทยอีกครั้ง ก็อาจถ่ายรูปอีกครั้ง และบอกว่า กรุงเทพมหานครเป็นหนึ่งในเมืองที่สวยงามที่สุดในโลกก็เป็นได้..
References
-รายงานประจำปี 2562 การไฟฟ้านครหลวง
-ข่าวประชาสัมพันธ์การไฟฟ้านครหลวง
-https://www.mea.or.th/content/detail/87/4286
-https://www.mea.or.th/content/detail/82/3131/3963
-https://mgronline.com/live/detail/9590000064631
-https://mgronline.com/politics/detail/9620000092138
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.