กรณีศึกษา สยามราชธานี ผู้เชี่ยวชาญด้าน Outsource น้องใหม่ตลาดหลักทรัพย์

กรณีศึกษา สยามราชธานี ผู้เชี่ยวชาญด้าน Outsource น้องใหม่ตลาดหลักทรัพย์

16 ต.ค. 2020
สยามราชธานี x ลงทุนแมน
กรณีศึกษา สยามราชธานี ผู้เชี่ยวชาญด้าน Outsource น้องใหม่ตลาดหลักทรัพย์
การทำธุรกิจในยุคที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
ทำให้การบริหารจัดการคนในองค์กร เป็นเรื่องที่ยาก และท้าทายมากยิ่งขึ้น
แล้วจะดีกว่าไหม ถ้าจะมีผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้ มาช่วยดูแล
หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญในด้านการบริหารจัดการบุคลากร หรือ Outsource Service
คือ “สยามราชธานี”
ด้วยประสบการณ์กว่า 40 ปี ในการบริหารจัดการบุคลากร
ทำให้ในปีนี้ สยามราชธานี ก้าวสู่การเป็นบริษัทมหาชน
แล้ว สยามราชธานี มีเรื่องราวน่าสนใจอย่างไร?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
เรื่องราวของ สยามราชธานี เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2524
โดย บริษัท เริ่มต้นจากการให้บริการบุคลากรดูแลสวนแก่โรงงานยาสูบ
ต่อมาจึงเริ่มขยายการให้บริการบุคลากรแรงงานทั่วไป
ให้กับบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงาน
และหลากหลายองค์กรชั้นนำระดับประเทศ
ยกตัวอย่างเช่น
บริหารจัดการพนักงานช่างเทคนิค ให้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
บริหารจัดการพนักงานขับรถ ให้แก่ บริษัท Toyota
บริหารจัดการงานบันทึกข้อมูล ให้แก่ สำนักงานประกันสังคม
บริหารจัดการงานสแกนเอกสาร ให้แก่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ
นอกจากการให้บริการด้านการบริหารบุคคล
สยามราชธานี ยังมองเห็นโอกาสทางธุรกิจในด้านการขนส่ง
จึงได้เริ่มให้บริการรถยนต์ให้เช่า, บริการรถตู้ดัดแปลงสำหรับผู้ใช้รถเข็นวีลแชร์ Mr. Journey และ บริการจัดการพนักงานขับรถระยะสั้น Drive4U
ทำให้ปัจจุบัน สยามราชธานี มีรูปแบบการให้บริการทั้งหมด 4 รูปแบบ ได้แก่
1.การให้บริการดูแลภูมิทัศน์ ที่มีชื่อเรียกว่า SO Green
2.การให้บริหารจัดการพนักงานขับรถยนต์, พนักงานสำนักงาน และการบริหารจัดการพนักงานช่างเทคนิค
ที่มีชื่อเรียกว่า SO People
3.การบริหารจัดการงานบันทึกข้อมูล ที่มีชื่อเรียกว่า SO Next
4.การบริการรถยนต์ให้เช่า ที่มีชื่อเรียกว่า SO Wheel
ถ้าถามว่า ธุรกิจที่ให้บริการเกี่ยวกับการบริหารบุคคล มีความท้าทาย และแตกต่างจากธุรกิจขายสินค้าอย่างไร?
ก็ต้องบอกว่า ความยากของธุรกิจแบบนี้คือ การไม่มีตัวสินค้าที่สามารถพิสูจน์คุณภาพได้อย่างชัดเจน
ดังนั้น “คุณภาพของการบริการ” จึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่ธุรกิจในด้านนี้จะสามารถสร้างจุดเด่นให้เหนือคู่แข่งได้
สยามราชธานี จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร และระบบบริหารจัดการ
ทำให้ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO ในหลากหลายบริการ ได้แก่
ISO 9001 ระบบการจัดการคุณภาพ
ISO 14001 ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
ISO 39001 ระบบการจัดการความปลอดภัยทางถนน
ISO 27001 ระบบการจัดการความปลอดภัยด้านข้อมูล
ในการบริการจัดการบุคคลของสยามราชธานี
จะช่วยให้องค์กรของลูกค้า สามารถควบคุมต้นทุนด้านบุคลากร หรือ Fixed cost ได้ง่ายขึ้น
และยังช่วยสร้างความคล่องตัวในการปรับขนาดองค์กรของลูกค้า
ซึ่งจะตอบโจทย์ความต้องการขององค์กร ในยุคที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วดังเช่นปัจจุบัน
ที่สำคัญคือ สยามราชธานีมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาปรับใช้ในการให้บริการและบริหารจัดการ เพื่อทำให้บริษัทมีความคล่องตัวมากขึ้น รวมไปถึงการตอบโจทย์ลูกค้าได้มากขึ้นด้วย
อย่างเช่น การนำเทคโนโลยี Blockchain เข้ามาช่วยในการตรวจสอบประวัติพนักงานที่จะส่งเข้าทำงานในองค์กร เพื่อให้มั่นใจว่า พนักงานแต่ละคนมีประวัติการทำงานดี มี Service Mind สามารถให้บริการได้ดี
การนำ AI เข้ามาช่วยอ่านลายมือ เพื่อช่วยในการแปลงข้อมูลจากกระดาษเข้าสู่ระบบ เพื่อให้การเก็บข้อมูลทำได้ง่ายและสะดวกรวดเร็วขึ้น
หรือในส่วนการบริการอย่าง SO Next ก็บริหารจัดการงานข้อมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์ด้วยเทคโนโลยีชั้นนำ พร้อมทั้งมีแพลตฟอร์มโซลูชั่นเพื่อธุรกิจที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ระบบลางานและทดแทนงาน (TIKTRACK), ระบบจัดการเงินเดือนออนไลน์ (e-Slip), ระบบจองรถ (Car Pool), ระบบรับสมัครงาน (iRECRUIT) และระบบจัดการเอกสารภายใน (DIGIDOCS)
ในขณะที่ SO People ก็มีการคัดกรองพนักงานขับรถโดยใช้เทคโนโลยี VR เข้ามาช่วยในการคัดกรอง และอบรมพนักงาน อีกทั้งยังนำเอาระบบ iRecruit มาช่วยบริหารจัดการข้อมูลการสมัครงานและ จับคู่งานกับประวัติที่มีในฐานข้อมูล เพื่อช่วยให้เลือกค้นได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า ทำให้บริษัทมีมาตราฐาน และมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
ด้วยเหตุนี้ สยามราชธานี จึงได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าทั้งภาครัฐและภาคเอกชนชั้นนำ
และมี Retention Rate หรือ อัตราส่วนลูกค้าต่อสัญญาต่อเนื่อง สูงถึง 95% ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา
แล้วผลประกอบการของ สยามราชธานี เป็นอย่างไร?
ปี พ.ศ. 2560 รายได้รวม 1,732 ล้านบาท กำไร 116 ล้านบาท
ปี พ.ศ. 2561 รายได้รวม 1,850 ล้านบาท กำไร 101 ล้านบาท
ปี พ.ศ. 2562 รายได้รวม 1,955 ล้านบาท กำไร 109 ล้านบาท
จะเห็นว่า สยามราชธานี มีการเติบโตของรายได้เฉลี่ย 6% ต่อปี ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา

เเละเมื่อเปรียบเทียบช่วง 6 เดือนแรก ของปี พ.ศ. 2563 กับปี พ.ศ. 2562
ปี พ.ศ. 2562 รายได้รวม 928 ล้านบาท กำไร 48 ล้านบาท
ปี พ.ศ. 2563 รายได้รวม 1,027 ล้านบาท กำไร 58 ล้านบาท

จะเห็นว่า แม้ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 จะเกิดการระบาดของโควิด 19
แต่รายได้ของ สยามราชธานี ก็ยังคงเติบโตได้ถึง 11%

ด้วยการเติบโตของ สยามราชธานี ที่ผ่านมา
ทำให้บริษัทได้ก้าวสู่การเป็นบริษัทมหาชน
ที่พร้อมเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อรองรับการขยายธุรกิจต่อไปในอนาคต

และด้วยประสบการณ์ของ กว่า 40 ปี ในการให้บริการด้านการจัดการบุคลากร
จึงทำให้ สยามราชธานี เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่น่าสนใจ
ที่จะมาตอบโจทย์ความต้องการด้านบุคคลของหลายบริษัท ในยุคนี้..
หมายเหตุ: บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาชี้นำให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ดังกล่าว การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.