กรณีศึกษา การลงทุนครั้งใหญ่ของ Nestlé ในประเทศไทย

กรณีศึกษา การลงทุนครั้งใหญ่ของ Nestlé ในประเทศไทย

2 ธ.ค. 2020
กรณีศึกษา การลงทุนครั้งใหญ่ของ Nestlé ในประเทศไทย
Nestlé X ลงทุนแมน
Nestlé เป็นบริษัทผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มที่ใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
มีสินค้ากว่า 2,000 แบรนด์ครอบคลุม 190 ประเทศทั่วโลก
โดยหนึ่งในประเทศที่ Nestlé ประสบความสำเร็จในเรื่องยอดขายก็คือ ประเทศไทย
ที่ในแต่ละปีมียอดขายเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ส่วนความเคลื่อนไหวล่าสุดก็คือ Nestlé ได้ใช้เงินลงทุน 4,500 ล้านบาท
เพื่อสร้างและขยายโรงงานในประเทศไทย
ความน่าสนใจมันอยู่ที่ว่าการลงทุนครั้งนี้
เป็นอีกก้าวสำคัญของ Nestlé ที่กำลังเกี่ยวข้องกับเราทุก ๆ คน
ทีนี้..หลายคนคงสงสัยว่ามันจะเกี่ยวข้องกับตัวเราได้อย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
รู้หรือไม่ว่าบริษัท Nestlé เข้ามาทำธุรกิจในไทยมานาน 127 ปี
มีสินค้ากว่า 40 แบรนด์ครอบคลุมตั้งแต่เครื่องดื่ม, อาหาร, ไอศกรีม, ขนม, อาหารสัตว์เลี้ยง
ก็ไม่แปลกที่คนไทยจะคุ้นเคยและผูกพันกับสินค้าในเครือ Nestlé
จนเมื่อเกิด “จุดเปลี่ยน” ซึ่งก็คือพฤติกรรมผู้บริโภค ที่ต้องการสินค้าที่ดีต่อสุขภาพ
มองหาของทานเล่นเพื่อเพิ่มความสุข, ชื่นชอบสินค้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และนิยมช้อปออนไลน์กันมากขึ้น
และหากต้องการตอบโจทย์ insight เหล่านี้
หนึ่งในกลยุทธ์สำคัญคือการ “พัฒนานวัตกรรม และผลิตสินค้า” ให้ตรงไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยุคใหม่ ก็เลยเป็นที่มาให้ Nestlé ต้องใช้งบลงทุน 4,500 ล้านบาทใน 3 โรงงาน
ที่มีทั้งการสร้างโรงงานใหม่กับขยายโรงงานเก่าให้ดีขึ้นกว่าเดิม
แล้วผู้บริโภคคนไทยจะได้รับผลดีอย่างไรกับการลงทุนครั้งนี้
โรงงานแรกคือที่ บางชัน ที่ผลิตไอศกรีม Nestlé ทุกรสชาติ โดยใช้งบ 440 ล้านบาท

ขยายไลน์การผลิต เพื่อให้เราได้มีไอศกรีมรสชาติแปลกใหม่ได้ทานตลอด
อย่างที่กลายเป็น Talk of The Town ก็คือ ไอศกรีมคิทแคท ที่เป็นการนำเอาขนมช็อกโกแลตยอดฮิตมาผสมกับไอศกรีม หรือแม้แต่ ไอศกรีมโมจิ ที่ถูกใจคนรุ่นใหม่
ขณะเดียวกัน โรงงานแห่งนี้ ก็ได้มีการเปลี่ยนแพ็กเกจจิงเป็นกระดาษชนิดพิเศษ
ที่รีไซเคิลได้ และสามารถปิดผนึกห่อได้ด้วยความร้อนโดยไม่ต้องพึ่งพลาสติก
โรงงานที่สอง ยูเอชที นวนคร 7 ใช้งบลงทุน 1,530 ล้านบาท

ผลิตเครื่องดื่ม UHT โดยแบรนด์ที่เรารู้จักกันดี ไมโล และ นมตราหมี
ที่นอกจากจะเพิ่มกำลังการผลิตจนถึงการคิดค้นรสชาติสินค้าใหม่ ๆ ในกลุ่ม UHT
เพื่อให้คนไทยได้มีทางเลือกในการซื้อเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพมากขึ้นแล้วนั้น
รู้หรือไม่ว่า โรงงานแห่งนี้ยังใช้เทคโนโลยีทันสมัยพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพดีขึ้นกว่าเดิม
ส่วนแพ็กเกจจิงต่าง ๆ ก็จะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
อย่างเช่น ไมโล UHT ที่ใช้หลอดกระดาษงอได้
ซึ่งคาดว่าจะลดการใช้หลอดพลาสติกมากกว่า 500 ล้านหลอดในปี 2564
สุดท้ายคือสร้างโรงงานอมตะแห่งใหม่มูลค่า 2,530 ล้านบาท เพื่อเสริมพอร์ตอาหารสัตว์เลี้ยง

รู้หรือไม่ว่า..ในช่วงที่ผ่านมา หลายธุรกิจที่เผชิญกับความท้าทาย
ในเรื่องยอดขายจากการระบาดของโควิด 19 แต่ตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงกลับโตระเบิด
นั่นเพราะพฤติกรรมคนไทยที่หันมาเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อนคลายเหงามากขึ้น
พอเป็นแบบนี้ Nestlé จึงสร้างโรงงานแห่งใหม่เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต
จนถึงเตรียมพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อมาตอบโจทย์ความต้องการเจ้าของสัตว์
ที่ต้องการให้สัตว์เลี้ยงสุดที่รักของตัวเอง มีสุขภาพที่ดี

จึงพอสรุปภาพรวมการลงทุนของ Nestlé ครั้งนี้
ก็คือการขยายการลงทุน เพิ่มกำลังการผลิตสินค้า คิดค้นนวัตกรรม
ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคอย่างเรา ๆ มีโอกาสได้ซื้อสินค้าที่มีคุณภาพ
จนถึงได้สัมผัสกับความแปลกใหม่อยู่ตลอดเวลานั่นเอง
แล้วเรื่องที่น่าสนใจอีกอย่าง..คือเราจะเห็นได้ว่าทั้ง 3 โรงงานนี้
ถูกสร้างให้กระบวนการผลิตสินค้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เหตุผลมาจากนโยบายบริษัทแม่ที่ต้องการให้ภายในปี 2568 แพ็กเกจจิงสินค้า Nestlé ทั่วโลก
สามารถนำไปรีไซเคิลได้ หรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 100% ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นเป้าหมายของ Nestlé ในประเทศไทยเช่นกัน
และสุดท้ายก็คือ การลงทุนเพื่อรุกตลาดอีคอมเมิร์ซ
ที่ในปี 2563 นี้ Nestlé มียอดขายในออนไลน์เติบโตกว่าเป้าที่ตั้งไว้ถึง 2 เท่า
ซึ่งก็เป็นไปตามเทรนด์พฤติกรรมการช้อปของคนไทยที่กำลังมุ่งสู่ออนไลน์เต็มตัว
เรื่องนี้ก็เลยทำให้ Nestlé จัดตั้งทีมอีบิสซิเนสตั้งแต่ปี 2561 ทำหน้าที่ทำความเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาสินค้า, กลยุทธ์การตลาด และวิธีการโฆษณา
ซึ่งล่าสุดก็มีการลงทุนในทีมนี้อีก 50 ล้านบาท โดยเป็นการลงทุนในเรื่องเทคโนโลยี
จะเห็นว่า Nestlé ปรับตัวหลายอย่างเพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมคนไทยที่เปลี่ยนไป
นับเป็นโจทย์ใหญ่อันท้าทาย เพราะในอนาคตพฤติกรรมผู้บริโภคก็ต้องเปลี่ยนไปอีก
ดังนั้นภารกิจของ Nestlé ก็คือการสร้าง Good Food, Good Life
ในทุกจังหวะของการเปลี่ยนแปลง นั่นเอง..
Reference
-เอกสารข่าวประชาสัมพันธ์ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จํากัด
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.