กรณีศึกษา การตรวจ “ยีน” เพื่อหา “ยา” ที่เหมาะสม

กรณีศึกษา การตรวจ “ยีน” เพื่อหา “ยา” ที่เหมาะสม

4 ธ.ค. 2020
กรณีศึกษา การตรวจ “ยีน” เพื่อหา “ยา” ที่เหมาะสม
บำรุงราษฎร์ x ลงทุนแมน
ยา คือ 1 ในปัจจัย 4 ของมนุษย์ เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย ทุกคนย่อมต้องการรักษาด้วยยา
เพื่อให้อาการเจ็บป่วยหายดี หรือบรรเทาให้เร็วที่สุด
แต่รู้หรือไม่ว่า มนุษย์แต่ละคน จะตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาที่แตกต่างกัน
โดยสิ่งที่ควบคุมการตอบสนองนี้ก็คือ “ยีน”
ยีน (Gene) คือ หน่วยควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมต่างๆ ในร่างกายของสิ่งมีชีวิต เช่น สีตา สีผม ไปจนถึงการตอบสนองต่อยา โดยยีนเป็นสิ่งที่เราได้รับถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ และสามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานต่อไปได้
รู้ไหมว่า ในวันนี้ ด้วยเทคโนโลยีทางพันธุศาสตร์ที่ก้าวหน้า
เราสามารถรู้ข้อมูลสุขภาพได้มากกว่าที่เราคาดคิด
โดยเฉพาะการตรวจยีนเพื่อหา “ยา” ที่เหมาะสมกับตัวเราเอง..
เรื่องนี้น่าสนใจอย่างไร? ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ก่อนอื่น มาทำความเข้าใจกลไกของยาในร่างกายกันสักนิด
ทุกครั้งที่เรากินยา 1 เม็ด ยาจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด และกระจายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ก่อนที่จะถูกส่งมาที่ตับ
อย่างที่เราเคยได้ยินกันมาว่า หากกินยามากๆ ตับจะทำงานหนัก
นั่นเป็นเพราะว่า หน้าที่ของตับ ก็คือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสารเคมีที่เข้าสู่ร่างกาย
และขจัดสารเคมีที่เป็นพิษออกจากร่างกาย
ซึ่ง ยา ก็เป็นสารเคมีชนิดหนึ่ง..
ยาบางชนิด มีโครงสร้างทางเคมีที่ยังไม่ออกฤทธิ์ จนกว่าจะถูกลำเลียงมาที่ตับ เพื่อเปลี่ยนให้อยู่ในรูปโครงสร้างที่ออกฤทธิ์ และให้ผลทางการรักษาได้
ในขณะที่ยาบางชนิด หลังจากให้ผลทางการรักษาแล้ว ก็จะถูกส่งมาที่ตับ เพื่อเปลี่ยนให้อยู่ในโครงสร้างที่หมดฤทธิ์ และสามารถขับออกจากร่างกายได้
กระบวนการนี้เรียกว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลงสภาพของยา หรือ Drug Metabolism
ซึ่งสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพของยา ก็คือ เอนไซม์ที่อยู่ในตับ
โดยสิ่งที่ควบคุมลักษณะของเอนไซม์ในตับ ก็คือ ยีน
แต่ยีนที่ควบคุมนั้น ก็จะมีหลายชนิด และส่งผลจำเพาะกับยาแตกต่างกันไป
เช่น ยีน CYP2C9 จำเพาะกับยา Warfarin ซึ่งเป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือด ใช้สำหรับป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด โดยเฉพาะหลอดเลือดสมอง
หากทุกคนมียีน CYP2C9 เหมือนๆ กัน ก็จะไม่มีปัญหาอะไร
แต่จะมีปัญหาเกิดขึ้น เมื่อแต่ละคนมียีนที่ไม่เหมือนกัน
บางคนมียีน CYP2C9 บางคนไม่มียีนนี้
สำหรับคนที่มียีน CYP2C9 จะตอบสนองได้ดีต่อการใช้ยา Warfarin จนอาจต้องลดขนาดยาลง เพราะหากได้รับมากเกินไป จะทำให้เกิดอาการเลือดไหลไม่หยุด
แต่สำหรับคนที่มียีน CYP2C9 น้อย หรือไม่มี อาจจะตอบสนองต่อยา Warfarin ได้ไม่ดีเท่าที่ควร จึงจำเป็นต้องเพิ่มขนาดยา หรือเปลี่ยนไปใช้ยาอื่น เพื่อให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพ
นอกจากในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของยา ยีนยังมีผลในเรื่องของ “การแพ้ยา” อีกด้วย..
การแพ้ยา เป็นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายที่มีต่อยา เมื่อร่างกายมองว่ายาคือสิ่งแปลกปลอมที่ต้องกำจัดออก แต่หากมีการตอบสนองที่มากเกินไปอาจส่งผลเสียตามมา
เช่น มีผื่นขึ้น ริมฝีปากบวม ผิวหนังหลุดลอก หรือเกิดความผิดปกติของอวัยวะภายในร่างกาย
จนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
การกลายพันธุ์ของยีนบางชนิด เช่น ยีน HLA-B ซึ่งทำหน้าที่สร้างโปรตีนบนภูมิคุ้มกัน หากเกิดการกลายพันธุ์กลายเป็นยีน HLA-B*1502 จะทำให้ได้โปรตีนที่มีความผิดปกติ ซึ่งสามารถจับกับยาทำให้เกิดการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันมากกว่าปกติ โดยเฉพาะ ยากันชัก Carbamazepine
ผู้ที่มียีน HLA-B*1502 ทำให้เสี่ยงต่อการแพ้ชนิดรุนแรงจากยา Carbamazepine
มากกว่าปกติถึง 55 เท่า
มนุษย์มียีนที่แตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล โดยมีปัจจัยหลักคือ เชื้อชาติ
หากเราสามารถตรวจยีน ก่อนรับการรักษาด้วยการใช้ยา ก็จะทำให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถเลือกใช้ยาที่เหมาะกับตัวเรา และจ่ายยาให้เราในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ลดผลข้างเคียงจากการใช้ยา และลดอาการแพ้ยาลงได้
ในอดีต การตรวจเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก ด้วยต้องอาศัยเทคโนโลยีและเครื่องมือที่ทันสมัย
แต่ในปัจจุบัน เราสามารถตรวจสอบยีนได้ ด้วยการตรวจ PGx panel - myDNA Medication test ซึ่งเป็นการตรวจวิเคราะห์ทางเภสัชพันธุศาสตร์ที่ตรวจความผิดแปลกทางพันธุกรรมในแต่ละบุคคล
ผลของการตรวจนี้ ทำให้แพทย์สามารถทำนายการตอบสนองต่อยา เลือกใช้ยาและขนาดยาที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการรักษาและลดอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาได้
เช่น หากตรวจพบว่า เรามียีน CYP2C9 ซึ่งจำเพาะกับยา Warfarin
แพทย์จำเป็นต้องลดขนาดยา Warfarin ลง เพื่อลดผลข้างเคียง โดยเฉพาะอาการเลือดไหลไม่หยุด เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพต่อไปได้
แล้วในประเทศไทย เราสามารถทำการตรวจวิเคราะห์แบบนี้ได้ที่ไหนบ้าง?
หนึ่งในศูนย์การแพทย์ที่สามารถทำแบบนี้ได้ คือ
“ศูนย์พันธุศาตร์เชิงป้องกัน โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์” ที่มีทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่มากด้วยประสบการณ์ รวมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ครบครัน ทันสมัยและได้มาตรฐานสากล
การตรวจพันธุกรรมยา เป็นการตรวจระดับพันธุกรรมซึ่งช่วยทำนายการตอบสนองของร่างกายต่อยา ผลการตรวจช่วยให้แพทย์สามารถเลือกยาที่มีประสิทธิภาพให้แก่ผู้ป่วยได้อย่างแม่นยำ ลดเวลาการลองผิดลองถูก และลดโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากยาลง
การตรวจพันธุกรรมยา เป็นการตรวจ 9 ยีน ที่ครอบคลุมยากว่า 140 ชนิด เช่น ยาลดระดับไขมันในเลือด, ยาละลายลิ่มเลือด, ยารักษาโรคหัวใจ, ยาแก้ปวด, ยาจิตเวช, ยารักษาโรคกระเพาะ ฯลฯ
ซึ่งนอกจากการตรวจเพื่อหาการตอบสนองต่อยาแล้ว ศูนย์พันธุศาตร์เชิงป้องกัน โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ยังให้บริการการตรวจเพื่อหาโรคติดต่อทางพันธุกรรม ไม่ว่าจะเป็น มะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือดจากพันธุกรรม รวมไปถึงตรวจโรคทางพันธุกรรมที่อาจถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้อีกด้วย
สิ่งเหล่านี้เป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจมาก
ซึ่งในอนาคตอันใกล้ เรื่องนี้อาจเข้ามาเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของวงการแพทย์
เพราะยีนของเราเปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่เราเลือกที่จะลงทุนเพื่อตรวจหาได้
ว่าอะไรเหมาะสมกับยีนของเรามากที่สุด..
สำหรับคนที่สนใจ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม หรือซื้อแพ็กเกจได้ที่ https://bit.ly/3nz7dWT
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.