
British East India บริษัทที่เติบโต และล่มสลาย ใน 274 ปี
British East India บริษัทที่เติบโต และล่มสลาย ใน 274 ปี / โดย ลงทุนแมน
ระบบทุนนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจระดับประเทศ ว่าด้วยการที่บริษัทเอกชน
มีเสรีภาพที่จะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตทั้งสินค้าและบริการ
และแน่นอนว่าบริษัทเหล่านี้ มีเป้าหมายตรงกันคือ “การแสวงหาผลกำไร”
มีเสรีภาพที่จะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตทั้งสินค้าและบริการ
และแน่นอนว่าบริษัทเหล่านี้ มีเป้าหมายตรงกันคือ “การแสวงหาผลกำไร”
หนึ่งในวิธีการทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบทุนนิยมคงไม่พ้นการศึกษาประวัติศาสตร์
วันนี้เรามารู้จักกับบริษัทที่เคยดำเนินกิจการมายาวนานกว่า 274 ปี
และมีการพึ่งพาระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม จนสามารถเติบโต
กลายเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรปในช่วงเวลาหนึ่ง
วันนี้เรามารู้จักกับบริษัทที่เคยดำเนินกิจการมายาวนานกว่า 274 ปี
และมีการพึ่งพาระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม จนสามารถเติบโต
กลายเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรปในช่วงเวลาหนึ่ง
บริษัทนี้ มีชื่อว่า “British East India Company”
แล้วบริษัทแห่งนี้ ทำธุรกิจอะไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง..
แล้วบริษัทแห่งนี้ ทำธุรกิจอะไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง..
บริษัท British East India ก่อตั้งขึ้นจากการร่วมทุนระหว่างพ่อค้าและชนชั้นสูงในประเทศอังกฤษ
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1600 ผ่านการพระราชทานตราตั้งบริษัท โดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1600 ผ่านการพระราชทานตราตั้งบริษัท โดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1
British East India มีลักษณะธุรกิจคือ การเดินเรือไปยังประเทศแถบตะวันออก
ซึ่งประเทศแรกก็คือ ประเทศอินเดีย โดยบริษัทแห่งนี้จะเข้าไปหาซื้อสินค้า
เพื่อนำกลับมาขายที่ประเทศอังกฤษ รวมถึงอีกหลายประเทศแถบยุโรป
ซึ่งประเทศแรกก็คือ ประเทศอินเดีย โดยบริษัทแห่งนี้จะเข้าไปหาซื้อสินค้า
เพื่อนำกลับมาขายที่ประเทศอังกฤษ รวมถึงอีกหลายประเทศแถบยุโรป
อย่างไรก็ตาม British East India ไม่ได้เพียงแต่จะหาสินค้าเพื่อนำเข้ามาตีตลาดเท่านั้น
แต่บริษัทมีแนวคิดในการผูกขาดสินค้าต่าง ๆ เพื่อโอกาสที่จะสร้างกำไรสูงที่สุดให้กับบริษัทอีกด้วย
แต่บริษัทมีแนวคิดในการผูกขาดสินค้าต่าง ๆ เพื่อโอกาสที่จะสร้างกำไรสูงที่สุดให้กับบริษัทอีกด้วย
โดยการที่จะผูกขาดการค้าได้นั้น British East India ต้องควบคุมเส้นทางการค้าสำคัญให้ได้ก่อน
ในสมัยนั้นก็คือ “เส้นทางเดินเรือ”
ในสมัยนั้นก็คือ “เส้นทางเดินเรือ”
รวมถึงต้องใช้อำนาจในการผลักดันสินค้าให้เป็นที่รู้จักของชาวตะวันตก
เพื่อให้สินค้าที่นำเข้ามาขายกลายเป็นสินค้าสามัญประจำบ้านที่คนทั่วไปขาดไม่ได้
เพื่อให้สินค้าที่นำเข้ามาขายกลายเป็นสินค้าสามัญประจำบ้านที่คนทั่วไปขาดไม่ได้
ซึ่งบริษัทแห่งนี้ก็ทำได้ไม่ยาก เพราะได้รับการสนับสนุน และการอำนวยความสะดวกจากรัฐบาล
แล้ว British East India เดินเรือไปนำสินค้าอะไรกลับมาจากอินเดียบ้าง ?
บริษัทได้เริ่มเข้าไปล่าอาณานิคมบริเวณ “อนุทวีปอินเดีย” ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ประเทศอินเดีย ไปจนถึงหมู่เกาะอินโดนีเซีย โดยอนุทวีปอินเดียแห่งนี้ ถือเป็นแหล่งผลิตสินค้าสำคัญ เช่น ผ้าฝ้ายอินเดีย เครื่องเทศ รวมถึงแรงงานทาสราคาถูก
และด้วยความที่ผ้าฝ้ายอินเดียมีลักษณะพิเศษ คือ มีน้ำหนักเบา ทำความสะอาดได้รวดเร็วและราคาถูก
บริษัท British East India จึงได้ไอเดียที่จะผลักดันให้คนอังกฤษหันมาใช้ผ้าฝ้ายอินเดีย
ซึ่งสมัยนั้นถือเป็นสินค้าแปลกใหม่ และยังไม่เคยมีชาวอังกฤษคนไหนรู้จักมาก่อน
ซึ่งสมัยนั้นถือเป็นสินค้าแปลกใหม่ และยังไม่เคยมีชาวอังกฤษคนไหนรู้จักมาก่อน
บริษัทใช้วิธีการโฆษณาเพื่อบ่งบอกถึงสรรพคุณ รวมถึงนำไปเปรียบเทียบกับสินค้าดั้งเดิมอย่าง
“ผ้าขนแกะ” ที่นิยมใช้กันที่ประเทศอังกฤษ โดยได้อ้างว่าผ้าฝ้ายจากอินเดียดีกว่า และถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า
“ผ้าขนแกะ” ที่นิยมใช้กันที่ประเทศอังกฤษ โดยได้อ้างว่าผ้าฝ้ายจากอินเดียดีกว่า และถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า
ในขณะเดียวกันก็ได้นำเสนอชาวอังกฤษว่า ผ้าฝ้ายอินเดียยังสามารถใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับเครื่องแต่งกาย ผ้าเช็ดหน้า ไปจนถึงผ้าปูเตียง ซึ่งมีความหลากหลายในการนำไปประยุกต์ใช้
ทำให้หลังจากนั้นชาวอังกฤษเริ่มหันมาให้ความสนใจกับผ้าฝ้ายอินเดีย จนกระทั่งมันได้กลายมาเป็นวัตถุดิบสำคัญในประเทศอังกฤษ
และด้วยความที่ British East India มีพันธมิตรเป็นรัฐบาล บริษัทจึงมีอำนาจการปกครองกองกำลังเรืออังกฤษภายในประเทศอินเดีย
นั่นหมายความว่าบริษัทสามารถกีดกัดบริษัทเดินเรือรายอื่นจนสามารถทำกำไรได้มหาศาลเพราะไร้คู่แข่ง และเรื่องนี้เองก็ได้นำมาสู่ความรุ่งเรืองของบริษัท จนในช่วงนั้น British East India ถือเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป
ต่อมา บริษัทก็ยังเฟ้นหาแหล่งผลิตสินค้าสามัญ ที่เหมือนกับผ้าฝ้ายอินเดีย
เพื่อนำไปขายทำกำไรต่อที่อังกฤษและประเทศแถบยุโรปตะวันตก
ยกตัวอย่างวัตถุดิบสำคัญเช่น เครื่องเทศ, ใบชาอินเดีย (ชาอัสสัม), สีย้อมผ้า, เกลือ และดินประสิว
เพื่อนำไปขายทำกำไรต่อที่อังกฤษและประเทศแถบยุโรปตะวันตก
ยกตัวอย่างวัตถุดิบสำคัญเช่น เครื่องเทศ, ใบชาอินเดีย (ชาอัสสัม), สีย้อมผ้า, เกลือ และดินประสิว
และเมื่ออำนาจทางกองเรือจักรวรรดิอังกฤษ ได้ขยายอาณาเขตเข้าไปสู่เอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
บริษัท British East India ก็ได้นำกองกำลังทหารเรืออังกฤษมาควบคุมเส้นทางเดินทะเลในอาณาเขตที่ขยายไปด้วยจนทำให้เกิดความขัดแย้งกับประเทศล่าอาณานิคมอื่น ๆ
ยกตัวอย่างเช่น การปะทะกันของกองเรืออังกฤษ กับกองเรือของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ของฝรั่งเศส
บนหมู่เกาะเครื่องเทศ ในปี ค.ศ. 1804 รวมถึงการยึดเกาะชวาจากเนเธอร์แลนด์ ในปี ค.ศ. 1811
บนหมู่เกาะเครื่องเทศ ในปี ค.ศ. 1804 รวมถึงการยึดเกาะชวาจากเนเธอร์แลนด์ ในปี ค.ศ. 1811
ความสำเร็จจากอินเดีย ได้ทำให้ British East India มองไปยังเป้าหมายใหม่ ซึ่งจุดหมายปลายทางต่อไป ก็คือ ประเทศจีน
โดยสินค้าสำคัญที่บริษัทเล็งเห็นคือ ผ้าไหมดิบ, เครื่องกระเบื้อง และใบชาของจีน ซึ่งก็ถูกนำไปขายในทวีปยุโรปในเวลาต่อมา
อ่านมาถึงตรงนี้ ก็ต้องบอกว่า British East India เป็นบริษัทที่มีส่วนสำคัญ
ที่ทำให้เกิดวัฒนธรรมต่าง ๆ ในยุโรปหลายประเทศ ซึ่งสินค้าหลายตัวก็มีให้เราพบเห็นในปัจจุบัน
ที่ทำให้เกิดวัฒนธรรมต่าง ๆ ในยุโรปหลายประเทศ ซึ่งสินค้าหลายตัวก็มีให้เราพบเห็นในปัจจุบัน
ยกตัวอย่างเช่น ชาเอิร์ลเกรย์
ที่จริง ๆ แล้ว มีต้นกำเนิดมาจากชาดำเจิ้งซานเสียวจ่ง จากประเทศจีน
แต่ก็ได้ถูกชาวอังกฤษนำไปผสมกับน้ำมันมะกรูด
จนกลายมาเป็นชาเอิร์ลเกรย์ ที่เรารู้จักกันอยู่ในทุกวันนี้
ที่จริง ๆ แล้ว มีต้นกำเนิดมาจากชาดำเจิ้งซานเสียวจ่ง จากประเทศจีน
แต่ก็ได้ถูกชาวอังกฤษนำไปผสมกับน้ำมันมะกรูด
จนกลายมาเป็นชาเอิร์ลเกรย์ ที่เรารู้จักกันอยู่ในทุกวันนี้
นอกจากชาเอิร์ลเกรย์แล้ว ก็ยังมีเบียร์อินเดียเพลเอล (IPA) และเหล้าจินโทนิค จากประเทศอินเดีย อีกเช่นกัน
แต่ในอีกมุมหนึ่ง British East India ก็ได้สร้างความเหลื่อมล้ำทางสังคม
โดยเฉพาะในประเทศอินเดีย และประเทศขนาดเล็กอื่น ๆ ที่อยู่ใต้อาณานิคม
โดยเฉพาะในประเทศอินเดีย และประเทศขนาดเล็กอื่น ๆ ที่อยู่ใต้อาณานิคม
รวมไปถึงการผลักดันสินค้าอันตราย เพื่อหวังแต่การทำกำไร เช่น
การนำเข้ายาเสพติดประเภทฝิ่นในประเทศจีน และเอเชียตะวันออก
จนเป็นชนวนทำให้เกิดสงครามฝิ่น (Opium War) ระหว่างจีนกับอังกฤษในสมัยต่อมา
การนำเข้ายาเสพติดประเภทฝิ่นในประเทศจีน และเอเชียตะวันออก
จนเป็นชนวนทำให้เกิดสงครามฝิ่น (Opium War) ระหว่างจีนกับอังกฤษในสมัยต่อมา
แล้ว British East India มีจุดจบอย่างไร ?
การที่บริษัท British East India ที่ใช้ระบบทุนนิยม แต่กลับต้องพึ่งพารัฐบาลจากอังกฤษมากเกินไป
จนไม่ต่างอะไรไปจากผู้ผูกขาด ก็เปรียบเสมือนดาบสองคม
จนไม่ต่างอะไรไปจากผู้ผูกขาด ก็เปรียบเสมือนดาบสองคม
ในวันที่เศรษฐกิจของอังกฤษรุ่งเรือง ทุกอย่างก็ดีไปหมด
แต่ในวันที่ไม่เป็นแบบนั้น British East India ก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย
แต่ในวันที่ไม่เป็นแบบนั้น British East India ก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย
หลังจากที่บริษัทแห่งนี้ทำธุรกิจมาได้ยาวนานกว่า 200 ปี
เศรษฐกิจของจักรวรรดิอังกฤษก็เริ่มฝืดเคือง สืบเนื่องจากการเริ่มมีกลุ่มผู้ต่อต้านการขยายอำนาจของอาณานิคมอังกฤษ จนเกิดการกบฏอยู่หลายต่อหลายครั้ง
เศรษฐกิจของจักรวรรดิอังกฤษก็เริ่มฝืดเคือง สืบเนื่องจากการเริ่มมีกลุ่มผู้ต่อต้านการขยายอำนาจของอาณานิคมอังกฤษ จนเกิดการกบฏอยู่หลายต่อหลายครั้ง
รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการทำสงครามต่าง ๆ ที่อังกฤษต้องเผชิญในช่วงนั้น
ยกตัวอย่างเช่น สงครามฝิ่นกับประเทศจีน หรือสงครามไครเมียกับจักรวรรดิรัสเซีย
ยกตัวอย่างเช่น สงครามฝิ่นกับประเทศจีน หรือสงครามไครเมียกับจักรวรรดิรัสเซีย
นั่นจึงทำให้ประเทศอังกฤษต้องหันไปขูดรีดเหล่าประเทศที่อยู่ใต้อาณานิคม มากขึ้นกว่าเดิม
ด้วยการเพิ่มภาษี ขึ้นราคาสินค้าสามัญที่ผูกขาด บังคับให้เกิดสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมต่าง ๆ
ด้วยการเพิ่มภาษี ขึ้นราคาสินค้าสามัญที่ผูกขาด บังคับให้เกิดสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมต่าง ๆ
เหตุการณ์สำคัญต่อมา คือ การเกิดกลุ่มกบฏเพื่อเอกราชของอินเดียครั้งยิ่งใหญ่ (The Great Mutiny)
ซึ่งเป็นการรวมตัวของ กลุ่มชาตินิยมของอินเดีย ที่เริ่มออกมาแสดงจุดยืนต่อต้านบริษัท British East India และอาณานิคมอังกฤษ
ซึ่งเป็นการรวมตัวของ กลุ่มชาตินิยมของอินเดีย ที่เริ่มออกมาแสดงจุดยืนต่อต้านบริษัท British East India และอาณานิคมอังกฤษ
เรื่องนี้จึงทำให้รัฐบาลอังกฤษ ต้องทำการลดทอนอำนาจของบริษัท British East India ลง
เพื่อเข้าไปบริหารธุรกิจและการปกครองในประเทศอินเดียเองทั้งหมด
เพื่อเข้าไปบริหารธุรกิจและการปกครองในประเทศอินเดียเองทั้งหมด
ซึ่งนั่นทำให้ British East India ต้องถึงจุดล่มสลาย จากพระราชบัญญัติรัฐบาลอินเดีย ค.ศ. 1858 ที่ออกมาภายหลังกบฏอินเดีย ว่าด้วยอำนาจการปกครองอนุทวีปอินเดีย ให้บริษัท British East India มาขึ้นกับราชสำนักอังกฤษโดยตรง
หลังจากนั้น บริษัท British East India จึงได้ปิดตัวลง ในวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1874
และกลายเป็นกรณีศึกษาของบริษัทที่เติบโต และล่มสลาย ภายใน 274 ปี
ที่ก็เรียกได้ว่าเป็นรากฐานการวิวัฒนาการของระบบทุนนิยมในช่วงเริ่มต้น ให้เราได้ศึกษากัน..
และกลายเป็นกรณีศึกษาของบริษัทที่เติบโต และล่มสลาย ภายใน 274 ปี
ที่ก็เรียกได้ว่าเป็นรากฐานการวิวัฒนาการของระบบทุนนิยมในช่วงเริ่มต้น ให้เราได้ศึกษากัน..
References
-หนังสือ British East India Company โดยคุณปรีดี หงษ์สตัน
-บทความชุด “ความรุ่งเรืองและถดถอย ของ บริษัทบริติชอีสต์อินเดีย” เขียนโดย ดร.ทศพร มะหะหมัด
-https://www.matichon.co.th/columnists/news_1132417
-https://en.wikipedia.org/wiki/East_India_Company
-http://www.polsci-law.buu.ac.th/pegjournal/document/3-1/6.pdf
-หนังสือ British East India Company โดยคุณปรีดี หงษ์สตัน
-บทความชุด “ความรุ่งเรืองและถดถอย ของ บริษัทบริติชอีสต์อินเดีย” เขียนโดย ดร.ทศพร มะหะหมัด
-https://www.matichon.co.th/columnists/news_1132417
-https://en.wikipedia.org/wiki/East_India_Company
-http://www.polsci-law.buu.ac.th/pegjournal/document/3-1/6.pdf
Tag: British East India