กรณีศึกษา ครั้งแรกในเมืองไทย ที่คนทั่วไปสามารถซื้อ คาร์บอนเครดิต

กรณีศึกษา ครั้งแรกในเมืองไทย ที่คนทั่วไปสามารถซื้อ คาร์บอนเครดิต

14 ก.ค. 2021
กรณีศึกษา ครั้งแรกในเมืองไทย ที่คนทั่วไปสามารถซื้อ คาร์บอนเครดิต /โดย ลงทุนแมน
อุณหภูมิของโลกเฉลี่ยเพิ่มขึ้นปีละราว ๆ 0.6-0.9 องศาเซลเซียส
เรื่องนี้หลายคนอาจมองว่า ไม่น่าจะส่งผลกระทบอะไรกับตัวเรา
แต่ถ้าบอกว่าอนาคตอันใกล้ โลกที่กำลังร้อนขึ้นเรื่อย ๆ
อาจจะสร้างปัญหาเลวร้ายเกินกว่าที่มนุษย์จะรับมือไหว
องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก คาดการณ์ว่าในปี 2050
หากโลกยังคงร้อนขึ้นเรื่อย ๆ เช่นนี้ อาจทำให้หลายเมืองเกิดน้ำท่วมรุนแรง
ผลผลิตทางการเกษตรในหลาย ๆ ประเทศเสียหาย
อัตราการเกิดของสัตว์หลายประเภทน้อยลงและตายมากขึ้นหรืออาจจะสูญพันธุ์
จนเกิดสภาวะขาดแคลนอาหาร
ที่น่ากลัวกว่านั้น ภาวะโลกร้อน ก็มีความเป็นไปได้ที่อาจทำให้มนุษย์โลก
ต้องเผชิญกับโรคระบาดใหม่ ๆ ซึ่งก็ไม่อาจคาดเดาได้ว่ามันจะรุนแรงแค่ไหน
พอได้ยินแบบนี้ ก็เริ่มคิดว่าหากเหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นจริงในอนาคต
มนุษย์เราจะดำรงชีวิตอยู่กันในแบบไหน ซึ่งน่าจะยังไม่มีใครนึกภาพออก
แล้วสาเหตุที่ทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ใช่ใครที่ไหน ก็คือมนุษย์ทุกคน
ซึ่งที่ผ่านมาก็ทำให้หลายประเทศตื่นตัว พร้อมมีมาตรการหลายอย่าง
หนึ่งในนั้นก็คือ คาร์บอนเครดิต
คาร์บอนเครดิต คืออะไร
แล้วรู้หรือไม่ เวลานี้เราทุกคนสามารถซื้อ คาร์บอนเครดิต ได้แล้ว
เรื่องราวทั้งหมด น่าสนใจอย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก่อนอื่นเรามารู้จักที่มาของการเกิด “คาร์บอนเครดิต” กันก่อน
ในปี 1997 ได้เกิดการลงนามในพิธีสารโตเกียว โดยมี 37 ประเทศเข้าร่วมพิธีนี้
พร้อมวางเป้าหมายว่าในแต่ละปี ประเทศตัวเองจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อยู่ที่เท่าไร
พร้อมมีมาตรการทางภาษีสำหรับบริษัทที่ปล่อยก๊าชเรือนกระจกเกินกว่าที่ทางรัฐบาลกำหนด
ซึ่งตอนนั้นหลายประเทศคงเริ่มรู้สึกตัวแล้วว่า อุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ
น่าจะส่งผลกระทบรุนแรงในอนาคต
จนต่อมาในปี 2015 ได้เกิดคำว่า “คาร์บอนเครดิต”
เมื่อการประชุมที่ปารีส ในประเทศฝรั่งเศส ทุกประเทศมีเป้าหมายร่วมกันคือ
รักษาอุณหภูมิเฉลี่ยพื้นผิวโลกไม่ให้เพิ่มมากขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น
หนึ่งในมาตรการที่เกิดขึ้นก็คือการซื้อ-ขาย “คาร์บอนเครดิต”
โดยมีหลักการง่าย ๆ คือ หากบริษัทใดลดการปล่อยคาร์บอนฯ ได้ต่ำกว่าที่รัฐบาลกำหนด
ก็สามารถขายสิทธิ์การปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ที่เหลือให้บริษัทอื่น ๆ
ที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ เกินกว่าที่รัฐบาลกำหนด นั่นเอง
นั่นแปลว่าหากบริษัทไหนต้องการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ เป็นจำนวนมาก
ก็จำเป็นต้องซื้อคาร์บอนเครดิตจากบริษัทอื่น
ส่วนทางฝั่งบริษัทที่เป็นผู้ขายก็จะนำเงินที่ได้ มาพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าตัวเอง
ที่เน้นใช้พลังงานสีเขียวหรือพลังงานสะอาดมากขึ้นกว่าเดิม
ซึ่งโมเดลนี้ จะส่งผลให้บริษัทที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ น้อยอยู่แล้ว
ก็จะลดน้อยลงเรื่อย ๆ จนในที่สุดก็ก้าวไปสู่ Net Zero หรือค่าการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์
ส่วนบริษัทไหนที่ไม่อยากมีต้นทุนทางธุรกิจเพิ่ม ก็หันมาเคร่งครัดการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ
ในกระบวนการผลิตและอื่น ๆ
ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ ภาพรวมการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ น้อยลงเรื่อย ๆ
โดยโมเดลนี้ก็ถูกนำไปใช้ในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก
อย่างเช่น สหภาพยุโรป, ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตในภาคบังคับ
ส่วนในประเทศไทยนั้นเป็น ตลาดสมัครใจ
คือเป็นการซื้อ-ขายที่ไม่มีกฎระเบียบข้อบังคับจากทางภาครัฐ
โดยความเคลื่อนไหวล่าสุดในเรื่องคาร์บอนเครดิต
ก็คือ การก่อตั้ง Carbon Markets Club นำโดย กลุ่มบริษัทบางจากฯ พร้อมด้วยความร่วมมือจากบริษัทยักษ์ใหญ่ของประเทศไทยมาเข้าร่วม ได้แก่ กฟผ., เครือเจริญโภคภัณฑ์, เชลล์, บีทีเอส กรุ๊ป, เต็ดตรา แพ้ค, บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส, ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารกรุงศรีฯ
11 บริษัทนี้ก็มาทำการซื้อ-ขาย คาร์บอนเครดิต
โดยมีผู้ขายคือ บริษัท บีซีพีจี และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ซึ่งมีราคาขายอยู่ที่ 25 บาทต่อ 1 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ (tCO2e)
และเพียงวันแรกที่เปิดตลาดซื้อ-ขายกันนั้นมีมูลค่ารวม 2,564 ตันคาร์บอนไดออกไซด์
ซึ่งเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ใหญ่ 298,140 ต้น หรือคิดเป็น 1,491 ไร่
ที่น่าสนใจก็คือ Carbon Markets Club ที่เกิดขึ้นครั้งนี้
ยังช่วยประสานงานการขายให้แก่คนทั่วไปที่ต้องการซื้อ คาร์บอนเครดิต จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก หรืออบก. อีกด้วย
รู้หรือไม่ว่า ค่าเฉลี่ยคนไทยปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ 3.77 ตันต่อคน
โดยตัวเลขนี้จะเป็นการคำนวณค่าเฉลี่ยจากภาคการผลิตและภาคขนส่งของประเทศ
ที่ในปี 2020 มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ รวมกัน 224.3 ล้านตัน
โดยแบ่งเป็นภาคการผลิตไฟฟ้า 40% ภาคอุตสาหกรรม 29% ภาคขนส่ง 25%
ที่เหลือคือภาคธุรกิจอื่น ๆ 6%
ข้อมูลตรงนี้ ทำให้ปฏิเสธไม่ได้ว่า ใน 1 วันตัวเราเองก็เป็นผู้ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนฯ
เพราะเราต้องใช้ไฟฟ้าและเดินทางบนท้องถนนอยู่เป็นประจำ
ซึ่งหากใครที่สนใจเข้าร่วม Carbon markets club หรืออยากจะซื้อคาร์บอนเครดิต
ก็สามารถติดต่อสอบถามไปที่กลุ่มบางจากฯ
ทีนี้หลายคนคงถามว่า แล้วเงินที่ได้จากการขายคาร์บอนเครดิตถูกนำไปใช้ประโยชน์อะไร ?
คำตอบก็คือ นอกจากจะนำไปใช้ในเรื่องพัฒนาสิ่งแวดล้อมแล้วนั้น
เงินอีกก้อนก็จะถูกนำไปใช้พัฒนากระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
อีกทั้งในอนาคตก็มีแนวโน้มว่าจะสามารถนำใบรับรองการซื้อคาร์บอนเครดิต
ไปลดหย่อนภาษีได้อีกต่างหาก
ทีนี้ก็น่าจะทำให้เกิดคำถามว่า ควรซื้อหรือไม่ควรซื้อ ?
เรื่องนี้ก็คงขึ้นอยู่กับมุมมองและความสมัครใจของแต่ละคน
ส่วนในมุมของ ลงทุนแมน เรื่องนี้อาจไม่ใช่ประเด็นสำคัญ
เพราะสิ่งที่อยากสื่อสารตั้งแต่ตัวอักษรแรกในบทความนี้
คือต้องการจะบอกทุกคนว่า ที่ผ่านมาเราต่างรู้สึกกันว่า
ในแต่ละวันที่มีอุณหภูมิร้อนขึ้น เราอาจมองว่าเป็นเรื่องปกติ
แต่ความจริงแล้วปัญหานี้แค่รอเวลาจะ “ระเบิด”
ซึ่งมันจะระเบิดในช่วงเวลาที่เรามีชีวิตอยู่ หรือจะรุ่นลูกรุ่นหลาน คงไม่มีใครตอบได้
แต่ที่แน่ ๆ ภาวะโลกร้อน ณ วันนี้ ยังคงไม่มีทางแก้ไข
สิ่งที่ทำได้แค่เพียง “ซื้อเวลา” ที่จะไม่ให้วิกฤติต่าง ๆ เกิดขึ้นเร็วกว่าที่คิดไว้ นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.greenpeace.org/thailand/story/1729/1-5degrees/
-https://thaipublica.org/2020/05/2020-to-be-to-hottest-year-heat-reaching-human-tolerance/
-https://urbancreature.co/reenindex-carbondioxide/
-https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/921002
-ข่าวประชาสัมพันธ์ Carbon Markets Club
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.