
กองทุน LTF ที่มีธรรมาภิบาล
กองทุน LTF ที่มีธรรมาภิบาล / โดย เพจลงทุนแมน
การซื้อกองทุนในทุกวันนี้ นอกเหนือจากผลประโยชน์ในเรื่องของการลดหย่อนภาษีในแต่ละปีที่จะได้จากการซื้อกองทุนประเภท LTF และ RMF แล้ว ยังเรียกได้ว่าเป็นตัวช่วยให้คนหลายคนที่ไม่มีเวลาคอยวิเคราะห์หรือติดตามหุ้นแต่ละตัวด้วยตัวเอง สามารถที่จะเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นได้ง่ายขึ้น
หลายๆ คนก็น่าจะมีลักษณะของบริษัทที่ตัวเองชอบอยู่ในใจซึ่งก็คงไม่เหมือนกันในแต่ละคน เช่น บางคนอาจชอบบริษัทใหญ่มีชื่อเสียง บริษัทเล็กหรือกลางที่กำลังเติบโต หรือบริษัทที่เริ่มอยู่ตัวแล้วจ่ายเงินปันผลดี
แต่ยังมีอีกทางเลือกของการลงทุน นั่นก็คือ บริษัทที่มีธรรมาภิบาลที่ดี
ถ้าเราได้มีโอกาสอ่านรายงานประจำปีของบริษัทใหญ่ๆ ตอนนี้ จะมีอยู่สิ่งหนึ่งที่มีเหมือนกัน คือคำว่า “ธรรมาภิบาล” “บรรษัทภิบาล” หรือ “Corporate Governance” หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า “CG”
CG คืออะไร?
เป็นระบบที่จะควบคุมและกำกับดูแลการบริหารจัดการภายในบริษัท เพื่อให้มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกฝ่าย ซึ่งก็จะมีหลักเกณฑ์สากลจำนวนหลายข้อที่จะถูกใช้เพื่อประเมินว่าบริษัทนั้นๆ มีการกำกับดูแลกิจการที่ดีอยู่ในระดับไหน หรือที่เรียกว่า CG Rating ซึ่งมีตั้งแต่ระดับ 1 – 5 โดยระดับ 5 คือ Rating ที่มีคุณภาพสูงสุด (ถูกประเมินโดยองค์กรเฉพาะ ถ้าเป็นของไทยจะมี TRIS และ IOD)
สรุปง่ายๆ คือ บริษัทที่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดีควรจะต้อง โปร่งใส ได้รับการตรวจสอบอย่างเหมาะสม และควรจะต้องไม่มีใครเอาเปรียบใครไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ พนักงาน และคนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท
บริษัทในลักษณะนี้ก็น่าจะไว้ใจได้ และ น่าจะลงทุนได้ในระยะยาว โดยเราไม่ต้องกังวลว่าจะมีเรื่องไม่ชอบมาพากลในบริษัทหรือไม่
มี CG ที่ดีแล้วบริษัทได้ประโยชน์อะไร?
แน่นอนว่าการที่บริษัทมีภาพลักษณ์ที่ดีก็คงจะส่งผลต่อมุมมองของผู้บริโภคและนักลงทุน แต่สุดท้ายแล้ว คุ้มจริงหรือ ที่บริษัทต่างๆ ต้องมานั่งยุ่งยากปรับระบบการจัดการเพื่อให้ได้ CG Rating ที่ดี
รู้หรือไม่ว่า มีงานวิจัยจำนวนไม่น้อยทั้งในไทยและในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาตัวอย่างบริษัทจากทางฝั่งตะวันตกหรือในเอเชีย ที่ชี้ว่า ในทางสถิติแล้ว บริษัทได้รับประโยชน์จากการถูกประเมินว่ามี CG อยู่ในระดับที่ดี ซึ่งก็อาจจะมาในรูปของ ผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น (Performance) หรือ ต้นทุนในการกู้ยืมที่ถูกลง (Cost of borrowing) เป็นต้น
ลองคิดเป็นตัวอย่างง่ายๆ ก็ได้ว่า ถ้าเราจะให้คนอื่นมายืมเงินเราไปใช้ นอกจากเราจะอยากรู้ว่าคนๆ นั้นจะเอาเงินไปทำอะไรแล้ว ก็คงอยากรู้ด้วยว่าเขาไว้ใจได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าไว้ใจได้ เราคงรู้สึกสบายใจที่จะให้ยืมมากขึ้น (คิดดอกเบี้ยถูกกว่า)
เท่ากับว่า การที่บริษัทพยายามแสดงให้เห็นว่าตัวเองมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี ก็เพราะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สามารถส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานได้นั่นเอง
แล้วเราจะเลือกลงทุนในบริษัทที่มี CG ที่ดีได้อย่างไร?
ทุกคนสามารถเข้าไปหาอ่านรายละเอียดและวิเคราะห์การกำกับดูแลกิจการของบริษัทได้ด้วยตัวเองจากในรายงานประจำปี หรือจะไปหาดูระดับ CG Rating เลยก็ได้จากองค์กรที่จัดทำเรตติ้งทุกปีอยู่แล้ว
หรือก็มีทางที่ลัดกว่านั้น..
ทาง บลจ. ยูโอบี (UOBAM) ที่ได้เล็งเห็นถึงบทบาทความสำคัญของ CG ก่อนใคร ได้จัดตั้งกองทุนที่เน้นคัดเลือกเฉพาะบริษัทที่ได้รับการประเมินว่ามี CG อยู่ในระดับที่ดี ตั้งแต่ปี 2547 หรือเมื่อ 13 ปีที่แล้ว โดยถือเป็นเจ้าแรกในตลาดที่ริเริ่มการลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ โดยยังเป็นกองทุน LTF ที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีในแต่ละปีได้อีกด้วย
กองทุนเปิด บรรษัทภิบาล หุ้นระยะยาว (CG-LTF)
เป็นกองทุนที่มีกลยุทธ์เชิงรุก (ACTIVE) ที่ได้รับการจัดอันดับผลตอบแทนจาก Morningstar ให้อยู่ในระดับ 5 ดาว (ณ ตุลาคม 2560) กองทุนมีนโยบายลงทุนในหุ้นไม่น้อยกว่า 65% ปัจจุบันเน้นเลือกหุ้นของบริษัทที่มีระบบธรรมาภิบาลที่ดีได้รับ CG rating ระดับ 3 ขึ้นไป ปัจจุบัน ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2560 มีขนาดกองทุนอยู่ที่ 9,957 ล้านบาท
เป็นกองทุนที่มีกลยุทธ์เชิงรุก (ACTIVE) ที่ได้รับการจัดอันดับผลตอบแทนจาก Morningstar ให้อยู่ในระดับ 5 ดาว (ณ ตุลาคม 2560) กองทุนมีนโยบายลงทุนในหุ้นไม่น้อยกว่า 65% ปัจจุบันเน้นเลือกหุ้นของบริษัทที่มีระบบธรรมาภิบาลที่ดีได้รับ CG rating ระดับ 3 ขึ้นไป ปัจจุบัน ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2560 มีขนาดกองทุนอยู่ที่ 9,957 ล้านบาท
สัดส่วนการลงทุนในบริษัท 5 อันดับแรกของ CG-LTF ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2560
ซีพีออลล์ (CPALL) คิดเป็นสัดส่วน 6.09%
บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่มีธุรกิจหลักคือ การค้าปลีกประเภทร้านค้าสะดวกซื้อภายใต้ชื่อ เซเว่น อีเลฟเว่น (7-Eleven) และธุรกิจอื่นๆ ที่สนับสนุนธุรกิจหลัก เช่น ผลิตและจำหน่ายอาหารพร้อมรับประทาน (CPRAM) และตัวแทนรับชำระค่าสินค้าและบริการ (Counter Service) เป็นต้น
บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่มีธุรกิจหลักคือ การค้าปลีกประเภทร้านค้าสะดวกซื้อภายใต้ชื่อ เซเว่น อีเลฟเว่น (7-Eleven) และธุรกิจอื่นๆ ที่สนับสนุนธุรกิจหลัก เช่น ผลิตและจำหน่ายอาหารพร้อมรับประทาน (CPRAM) และตัวแทนรับชำระค่าสินค้าและบริการ (Counter Service) เป็นต้น
ปตท (PTT) คิดเป็นสัดส่วน 6.03%
บริษัทมหาชนที่ใหญ่ที่สุดในไทย ประกอบธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ปิโตรเลียม และปิโตรเคมีแบบครบวงจร คือ ไล่ตั้งแต่การสำรวจ ผลิต จัดหา ไปจนถึงจัดจำหน่าย ผ่านทั้ง ปตท เองและบริษัทในเครือ มีผลิตภัณฑ์เป็นน้ำมันเชื่อเพลิง เบนซิน ดีเซล แก๊สโซฮอล์ NGV น้ำมันหล่อลื่น และยังมีธุรกิจค้าปลีก เช่น ร้านสะดวกซื้อจิฟฟี่ และ กาแฟอเมซอน เป็นต้น
บริษัทมหาชนที่ใหญ่ที่สุดในไทย ประกอบธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ปิโตรเลียม และปิโตรเคมีแบบครบวงจร คือ ไล่ตั้งแต่การสำรวจ ผลิต จัดหา ไปจนถึงจัดจำหน่าย ผ่านทั้ง ปตท เองและบริษัทในเครือ มีผลิตภัณฑ์เป็นน้ำมันเชื่อเพลิง เบนซิน ดีเซล แก๊สโซฮอล์ NGV น้ำมันหล่อลื่น และยังมีธุรกิจค้าปลีก เช่น ร้านสะดวกซื้อจิฟฟี่ และ กาแฟอเมซอน เป็นต้น
แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) คิดเป็นสัดส่วน 5.91%
บริษัทด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโทรคมนาคม มีธุรกิจหลักอยู่ 3 อย่าง คือ บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เครือข่าย AIS บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง AIS Fibre และธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์อย่างเช่น AIS PLAY และ AIS PLAYBOX
บริษัทด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโทรคมนาคม มีธุรกิจหลักอยู่ 3 อย่าง คือ บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เครือข่าย AIS บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง AIS Fibre และธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์อย่างเช่น AIS PLAY และ AIS PLAYBOX
ท่าอากาศยานไทย (AOT) คิดเป็นสัดส่วน 4.88%
บริษัทที่ผูกขาดกิจการด้านอากาศยานในประเทศไทย มีธุรกิจหลักคือ การจัดการ ดำเนินงาน และพัฒนาท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ สนามบินสุวรรณภูมิ ดอนเมือง เชียงใหม่ แม่ฟ้าหลวง (เชียงราย) ภูเก็ต และหาดใหญ่ โดยมีรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ ส่วนแบ่งผลประโยชน์ และค่าเช่าพื้นที่
บริษัทที่ผูกขาดกิจการด้านอากาศยานในประเทศไทย มีธุรกิจหลักคือ การจัดการ ดำเนินงาน และพัฒนาท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ สนามบินสุวรรณภูมิ ดอนเมือง เชียงใหม่ แม่ฟ้าหลวง (เชียงราย) ภูเก็ต และหาดใหญ่ โดยมีรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ ส่วนแบ่งผลประโยชน์ และค่าเช่าพื้นที่
ไออาร์พีซี (IRPC) คิดเป็นสัดส่วน 4.88%
บริษัทในเครือของ ปตท เดิมเคยรู้จักกันในชื่อ ทีพีไอ เป็นเจ้าของโรงกลั่นน้ำมันและโรงงานปิโตรเคมีที่จังหวัดระยอง มีธุรกิจหลักคือ การกลั่นน้ำมันชนิดต่างๆ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีเช่น เม็ดพลาสติกและวัตถุดิบตั้งต้นที่ใช้ในการผลิตพลาสติกสำเร็จรูป ธุรกิจท่าเรือน้ำลึก คลังเก็บน้ำมัน และโรงไฟฟ้า รวมถึงการบริหารจัดการทรัพย์สินในส่วนที่เป็นที่ดินเปล่า
บริษัทในเครือของ ปตท เดิมเคยรู้จักกันในชื่อ ทีพีไอ เป็นเจ้าของโรงกลั่นน้ำมันและโรงงานปิโตรเคมีที่จังหวัดระยอง มีธุรกิจหลักคือ การกลั่นน้ำมันชนิดต่างๆ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีเช่น เม็ดพลาสติกและวัตถุดิบตั้งต้นที่ใช้ในการผลิตพลาสติกสำเร็จรูป ธุรกิจท่าเรือน้ำลึก คลังเก็บน้ำมัน และโรงไฟฟ้า รวมถึงการบริหารจัดการทรัพย์สินในส่วนที่เป็นที่ดินเปล่า
ด้วยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์การลงทุนด้วยกลยุทธ์แบบ ACTIVE ที่คัดสรรทุกขั้นตอนของการลงทุน ส่งผลสะท้อนไปยังผลการดำเนินงานย้อนหลังของกองทุน เมื่อเทียบกับดัชนีชี้วัดอย่าง SET Total Return Index ซึ่งจะรวมเงินปันผลเข้าไปในดัชนีด้วย ดังนี้
ย้อนหลัง 1 ปี
CG-LTF ผลตอบแทน 16.72% ความผันผวน 6.98%
SET TRI ผลตอบแทน 18.57% ความผันผวน 5.05%
CG-LTF ผลตอบแทน 16.72% ความผันผวน 6.98%
SET TRI ผลตอบแทน 18.57% ความผันผวน 5.05%
ย้อนหลัง 3 ปี (%ต่อปี)
CG-LTF ผลตอบแทน 5.95% ความผันผวน 11.07%
SET TRI ผลตอบแทน 3.83% ความผันผวน 10.54%
CG-LTF ผลตอบแทน 5.95% ความผันผวน 11.07%
SET TRI ผลตอบแทน 3.83% ความผันผวน 10.54%
ย้อนหลัง 5 ปี (%ต่อปี)
CG-LTF ผลตอบแทน 11.96% ความผันผวน 16.15%
SET TRI ผลตอบแทน 6.42% ความผันผวน 12.32%
CG-LTF ผลตอบแทน 11.96% ความผันผวน 16.15%
SET TRI ผลตอบแทน 6.42% ความผันผวน 12.32%
ย้อนหลัง 10 ปี (%ต่อปี)
CG-LTF ผลตอบแทน 12.73% ความผันผวน 21.72%
SET TRI ผลตอบแทน 6.93% ความผันผวน 20.10%
CG-LTF ผลตอบแทน 12.73% ความผันผวน 21.72%
SET TRI ผลตอบแทน 6.93% ความผันผวน 20.10%
ตั้งแต่จัดตั้งกองทุน 27 ตุลาคม 2547 (%ต่อปี)
CG-LTF ผลตอบแทน 14.58% ความผันผวน 20.81%
SET TRI ผลตอบแทน 8.07% ความผันผวน 19.22%
CG-LTF ผลตอบแทน 14.58% ความผันผวน 20.81%
SET TRI ผลตอบแทน 8.07% ความผันผวน 19.22%
เมื่อดูจากผลการดำเนินงานย้อนหลัง แม้ว่าในระยะเวลา 1 ปี กองทุนจะได้รับผลตอบแทนน้อยกว่าตลาด แต่สำหรับการลงทุนในกองทุน LTF ที่มีจุดประสงค์เพื่อลงทุนระยะยาวแล้วนั้น การจะดูผลการดำเนินงานในระยะสั้นเพียงอย่างเดียว คงไม่สามารถสะท้อนถึงผลตอบแทนที่เราคาดหวังว่าจะได้รับในอนาคตได้
และเมื่อมาดูผลตอบแทนระยะยาวย้อนหลัง 5 ปี และ 10 ปี ที่ใกล้เคียงกับจำนวนปีที่เราต้องถือหน่วยลงทุน (อย่างน้อย 7 ปี) แล้ว ก็จะเห็นได้ว่ากองทุน CG-LTF นั้น ทำได้ดีกว่าตลาดอย่างชัดเจน
โดยเฉพาะในระยะ 10 ปี ที่กองทุนและตลาดมีระดับความผันผวนหรือความเสี่ยงที่แทบจะเท่ากันกับตลาดโดยรวม แต่ทางกองทุนกลับสามารถสร้างผลตอบแทนได้เป็นเกือบ 2 เท่าของตลาดเลยทีเดียว
สรุปแล้ว กองทุน CG-LTF ของทาง บลจ. ยูโอบี คงเรียกได้ว่าเป็นกองทุนที่มีความน่าสนใจทั้งในเรื่องของนโยบายการลงทุนที่แตกต่างจากกอง LTF ทั่วๆ ไป และมีความโดดเด่นในการสร้างผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ซึ่งจะสามารถตอบโจทย์ได้อย่างเหมาะสม สำหรับคนที่กำลังคัดเลือกลงทุนในกองทุน LTF เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีในปีนี้ และอยากให้เป็นการลงทุนระยะยาวที่มีโอกาสได้ผลตอบแทนที่ดีไปพร้อมกัน..
------------------
คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะกองทุน นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานกองทุนก่อนตัดสินใจลงทุน ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าว ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต การจัดอันดับข้างต้นไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน
คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะกองทุน นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานกองทุนก่อนตัดสินใจลงทุน ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าว ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต การจัดอันดับข้างต้นไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน