ทำไม ธุรกิจหลักทรัพย์ เติบโตดี ช่วงที่ผ่านมา

ทำไม ธุรกิจหลักทรัพย์ เติบโตดี ช่วงที่ผ่านมา

22 มี.ค. 2022
ทำไม ธุรกิจหลักทรัพย์ เติบโตดี ช่วงที่ผ่านมา /โดย ลงทุนแมน
แม้ว่าปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทย จะเริ่มเห็นสัญญาณของการฟื้นตัวจากวิกฤติโควิด 19 ไปบ้าง
แต่หลายธุรกิจก็ยังไม่ฟื้นกลับไปจุดเดิม
อย่างเช่น โรงแรม สนามบิน ร้านนวด-สปา
อย่างไรก็ตาม หนึ่งในธุรกิจที่เรียกว่าไม่เจ็บ แล้วยังเติบโตในวิกฤติครั้งนี้คือ ธุรกิจหลักทรัพย์
ทำไมธุรกิจหลักทรัพย์ถึงยังเติบโต สวนทางกับอีกหลายธุรกิจ
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 2 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ลองมาดูตัวอย่าง ผลประกอบการของบริษัทหลักทรัพย์ ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ในไทย
ผลประกอบการของ บริษัท เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
ปี 2563 รายได้ 1,881 ล้านบาท กำไร 416 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 3,033 ล้านบาท กำไร 978 ล้านบาท
รายได้เติบโต 61% กำไรเติบโต 135%
ผลประกอบการของ บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
ปี 2563 รายได้ 3,668 ล้านบาท กำไร 568 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 5,356 ล้านบาท กำไร 1,858 ล้านบาท
รายได้เติบโต 46% กำไรเติบโต 227%
ผลประกอบการของ บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
ปี 2563 รายได้ 2,818 ล้านบาท กำไร 484 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 3,593 ล้านบาท กำไร 761 ล้านบาท
รายได้เติบโต 28% กำไรเติบโต 57%

เรียกได้ว่า ส่วนใหญ่แล้ว เติบโตอย่างชัดเจนในปีที่ผ่านมา
แล้วธุรกิจหลักทรัพย์เหล่านี้ มีรายได้มาจากไหน ?
รายได้ส่วนใหญ่ของธุรกิจหลักทรัพย์ มาจาก
- รายได้จากค่าธรรมเนียมและบริการ
- รายได้ค่าดอกเบี้ยจากเงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์
- รายได้ค่านายหน้า จากการซื้อขายตราสารอนุพันธ์
- ค่าธรรมเนียมที่เป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญที่ผลักดันให้ผลประกอบการของธุรกิจหลักทรัพย์เติบโตในช่วงที่ผ่านมา
โดยบริษัทหลักทรัพย์บางแห่ง มีรายได้ที่มาจากค่าธรรมเนียมที่เป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ สูงกว่า 50% ของรายได้รวมเลยทีเดียว
หรืออธิบายง่าย ๆ คือ รูปแบบการทำรายได้ของธุรกิจหลักทรัพย์
คือ การทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการจับคู่ซื้อขายหลักทรัพย์ให้แก่นักลงทุน โดยค่าตอบแทนก็คือ ค่าธรรมเนียมจากการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์เหล่านั้น
ซึ่งไม่ว่าคนซื้อหรือขายจะมีกำไรหรือขาดทุน
บริษัทหลักทรัพย์จะได้ค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหลักทรัพย์ทุกครั้ง
ทีนี้เรามาดู มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตลาดหลักทรัพย์ ในช่วงที่ผ่านมา
ปี 2563 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ย 68,607 ล้านบาทต่อวัน
ปี 2564 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ย 93,846 ล้านบาทต่อวัน
มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน เพิ่มขึ้นประมาณ 37%
คำถามคือ แล้วทำไมมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ถึงเพิ่มขึ้นมาก ?
ต้องบอกว่าเรื่องนี้มีปัจจัยที่สนับสนุนหลายอย่าง เช่น
- จำนวนบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ที่เพิ่มสูงขึ้น (สถิติจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย)
ณ สิ้นปี 2563 มีประมาณ 3.5 ล้านบัญชี
ณ สิ้นปี 2564 มีประมาณ 5.2 ล้านบัญชี
- ความสะดวกในการเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ที่สะดวก รวดเร็ว ทำให้นักลงทุนสามารถเปิดบัญชีได้ง่ายขึ้นกว่าในอดีต
- นโยบายการกระจายการจัดสรรหุ้นเสนอขายต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) ให้แก่รายย่อยมากขึ้น ของหลายบริษัทที่เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้น ช่วยสนับสนุนให้คนทั่วไปเข้ามาในตลาดหุ้นไทยมากขึ้น
- ภาวะดอกเบี้ยต่ำ ทำให้นักลงทุนต้องมองหาสินทรัพย์ทางเลือกอื่น ที่ให้ผลตอบแทนมากกว่าการฝากเงินในธนาคาร ซึ่งการลงทุนในหุ้นก็คือหนึ่งในทางเลือกนั้น
จะเห็นว่าหลายปัจจัยที่ว่ามานี้ เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหุ้นไทยนั้นเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา
ซึ่งหนึ่งในคนที่ได้ประโยชน์จากเรื่องนี้มากที่สุดคนหนึ่ง ก็คือ บริษัทหลักทรัพย์ นั่นเอง..
หมายเหตุ: บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาชี้นำให้ซื้อหรือขายหุ้นเหล่านี้ การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนการตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 2 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
- แบบฟอร์ม 56-1 ปี 2563, บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
- คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2564, บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
- คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2564, บริษัท เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
- คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2564, บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
-https://www.set.or.th/th/market/market_statistics.html
-https://www.bangkokbiznews.com/business/993438?fbclid=IwAR2ZIzvud6UQlPik18054M7hm5DJdFRKmRcaFA6S1yYm9vQlMeXpZ9mdcrA
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.