
ทำไม “บอนไซ” บางต้นถึงมีราคา หลายสิบล้านบาท
29 มี.ค. 2022
ทำไม “บอนไซ” บางต้นถึงมีราคา หลายสิบล้านบาท | BrandCase
43.7 ล้านบาท คือราคาของบอนไซ “Old Pine Bonsai”
บอนไซสนขาวญี่ปุ่น อายุ 800 ปี ที่มีการซื้อขายในงาน International Bonsai Convention ครั้งที่ 11 ปี 2012 ซึ่งถูกจัดขึ้นที่เมืองทากามัตสึ ประเทศญี่ปุ่น
บอนไซสนขาวญี่ปุ่น อายุ 800 ปี ที่มีการซื้อขายในงาน International Bonsai Convention ครั้งที่ 11 ปี 2012 ซึ่งถูกจัดขึ้นที่เมืองทากามัตสึ ประเทศญี่ปุ่น
ซึ่งนี่เป็นตัวอย่างที่ทำให้เห็นว่า “บอนไซ” มีคนให้ความสนใจ และมีมูลค่าในระดับที่ไม่ธรรมดา..
เพราะอะไรที่ทำให้บอนไซมีราคาสูงได้ถึงหลักสิบล้านบาท ?
BrandCase จะเล่าให้ฟัง
BrandCase จะเล่าให้ฟัง
“บอนไซ” คำนี้มีที่มาจากภาษาญี่ปุ่น
โดยคำว่า “บอน” แปลว่า ชามขนาดเล็กหรือกระถาง และ “ไซ” ที่แปลว่า ต้นไม้
เมื่อนำมารวมกันจะมีความหมายว่า ต้นไม้ที่ปลูกในกระถาง หรือมีความหมายว่าสวนกระถางนั่นเอง
โดยคำว่า “บอน” แปลว่า ชามขนาดเล็กหรือกระถาง และ “ไซ” ที่แปลว่า ต้นไม้
เมื่อนำมารวมกันจะมีความหมายว่า ต้นไม้ที่ปลูกในกระถาง หรือมีความหมายว่าสวนกระถางนั่นเอง
หรือพูดได้ว่า การทำบอนไซ
ก็คือการย่อส่วนต้นไม้ขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง และปลูกลงในกระถาง
ก็คือการย่อส่วนต้นไม้ขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง และปลูกลงในกระถาง
จุดเริ่มต้นที่แท้จริงของการทำบอนไซนั้นมาจากประเทศจีน และได้มีการกล่าวไว้ว่า บอนไซ มาจากคำว่า “Pen-Tsai” ตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิ้น หรือราว ๆ ปี พ.ศ. 808-963
ที่ชาวจีนได้คิดค้นการปลูกต้นไม้และเลี้ยงให้เติบโตในภาชนะที่จำกัด
ที่ชาวจีนได้คิดค้นการปลูกต้นไม้และเลี้ยงให้เติบโตในภาชนะที่จำกัด
แต่กลับกลายเป็นว่า ประเทศญี่ปุ่น กลายมาเป็นผู้เผยแพร่และมีส่วนสำคัญ ในการสร้างชื่อเสียงให้กับการปลูกบอนไซ..
เรื่องนี้ต้องย้อนกลับไปเมื่อตอนสมัยปี พ.ศ. 1337-1728 ในช่วงนั้น เป็นยุคที่วัฒนธรรมของจีนเริ่มแพร่หลายเข้ามาในประเทศญี่ปุ่น
ซึ่งรวมถึงการรับวัฒนธรรมการปลูกบอนไซเข้ามา
ไม่นานการปลูกบอนไซก็เป็นที่นิยมมากขึ้นในญี่ปุ่น
จนสามารถจัดการประกวดไม้แคระประจำปีขึ้นที่กรุงเกียวโต ในช่วงปี พ.ศ. 2324-2331
ไม่นานการปลูกบอนไซก็เป็นที่นิยมมากขึ้นในญี่ปุ่น
จนสามารถจัดการประกวดไม้แคระประจำปีขึ้นที่กรุงเกียวโต ในช่วงปี พ.ศ. 2324-2331
เมื่อการเล่นบอนไซแพร่หลายและเป็นที่นิยมมากขึ้น จึงทำให้เกิดธุรกิจเกี่ยวกับบอนไซขึ้นมา รวมไปถึงมีการส่งออกบอนไซไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาและฝั่งยุโรปด้วย
นอกจากนี้ยังมีการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ศิลปะบอนไซโอมิยะ ในปี พ.ศ. 2553
ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกของโลก ที่จัดแสดงศิลปะบอนไซแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นโดยเฉพาะ
ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกของโลก ที่จัดแสดงศิลปะบอนไซแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นโดยเฉพาะ
จึงไม่น่าแปลกใจเท่าไรนัก หากเมื่อนึกถึงบอนไซเราก็มักจะนึกถึงประเทศญี่ปุ่น
แล้วอะไรที่ทำให้บอนไซมีราคาแพง ?
โดยปกติแล้วราคาของบอนไซนั้นมักจะขึ้นอยู่กับ 3 องค์ประกอบหลัก นั่นก็คือ
1. ความสวยงาม
ว่ากันว่าเทคนิคการปลูกบอนไซนั้นมีมากถึง 100 แบบ ซึ่งมีชื่อเรียกและวิธีทำที่แตกต่างกันออกไป
และในการดัดไม้ของบอนไซนั้นจะต้องดูทั้ง รูปทรงของต้นหลัก ทิศทางการแตกกิ่ง ไปจนถึงองศาระหว่างช่อในแต่ละกิ่งก้าน ที่ต้องเห็นชั้นของกิ่งเหมือนต้นตามธรรมชาติ
ซึ่งส่วนใหญ่บอนไซที่เราเห็นจะเป็นในรูปแบบ ไม้ทรงลำต้นเดี่ยวไม่ตรง (Informal Upright) โดยลำต้นจะมีลักษณะโค้งไปมาคล้ายกับตัว S
หากต้นบอนไซที่ได้รางวัลชนะการประกวดด้านความสวยงามมา ก็จะยิ่งทำให้มันมีราคาที่มากขึ้นไปอีก
และถึงแม้ว่าการดัดแปลงความสวยงามของต้นไม้ จะเป็นไปตามจินตนาการของผู้เลี้ยง แต่ก็ล้วนอ้างอิงจากธรรมชาติของต้นไม้นั้น ๆ
เพราะการดัดต้นไม้ในการทำบอนไซคือการทำให้เหมือนธรรมชาติมากที่สุด
เพราะการดัดต้นไม้ในการทำบอนไซคือการทำให้เหมือนธรรมชาติมากที่สุด
2. อายุ
ในสมัยก่อนมีการขุดตอของต้นไม้เก่าจากในป่า เพื่อมาทำการดัดแปลงลงในกระถางให้เกิดความสวยงาม
แต่เมื่อมีการขุดกันมากขึ้น ส่งผลให้พันธุ์ไม้บางสายพันธ์ุ มีความเสี่ยงที่จะเกิดการสูญพันธ์ุได้ ถึงขั้นที่ประเทศญี่ปุ่นได้มีการออกกฎหมายห้ามขุดตอไม้ในป่า เพื่อมาทำบอนไซกันเลยทีเดียว
ปัจจุบันจึงนิยมหันมาเพาะเมล็ดกันแทน
ทำให้ต้นไม้ที่ขุดมาจากป่า และมีอายุมาก ถูกมองว่าเป็นของแรร์ไอเทม โดยเฉพาะบอนไซที่มีอายุหลายร้อยหลายพันปี จึงทำให้บางต้นมีราคาที่สูง ถึงหลักสิบล้านบาท
ทำให้ต้นไม้ที่ขุดมาจากป่า และมีอายุมาก ถูกมองว่าเป็นของแรร์ไอเทม โดยเฉพาะบอนไซที่มีอายุหลายร้อยหลายพันปี จึงทำให้บางต้นมีราคาที่สูง ถึงหลักสิบล้านบาท
แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป คนเริ่มเพาะเมล็ดกันมากขึ้น
บางครั้ง ก็ทำให้ราคาของมันขึ้นอยู่กับความสวยงามเป็นหลัก ได้เช่นกัน
บางครั้ง ก็ทำให้ราคาของมันขึ้นอยู่กับความสวยงามเป็นหลัก ได้เช่นกัน
3. สายพันธุ์
ในประเทศไทย สายพันธ์ุที่นิยมก็คงหนีไม่พ้นไม้ใหญ่ อายุยืน เหมือนประเทศอื่น ๆ และสายพันธุ์ที่นิยมนำมาทำบอนไซก็อย่างเช่น ต้นโพ ต้นโมก หรือต้นมะขาม
แต่ก็มีบางส่วนที่นิยมนำไม้ญี่ปุ่นอย่าง สนดำ (Kuromatsu Bonsai) และสนจูนิเปอร์ (Shimpaku Bonsai) มาปลูกเป็นบอนไซด้วย
แต่เนื่องจากไม้ต่างถิ่นเมื่อนำมาทำบอนไซ จะต้องมีการดูแลที่สม่ำเสมอ และใส่ใจมากเป็นพิเศษ
เพราะบางสายพันธุ์ไม่ค่อยทนต่อสภาพอากาศในประเทศไทย ซึ่งอาจทำให้ต้นไม้ที่นำมาทำบอนไซนั้นตายได้ง่าย
เพราะบางสายพันธุ์ไม่ค่อยทนต่อสภาพอากาศในประเทศไทย ซึ่งอาจทำให้ต้นไม้ที่นำมาทำบอนไซนั้นตายได้ง่าย
เรื่องนี้จึงส่งผลให้ราคาของบอนไซที่ใช้ต้นไม้จากต่างประเทศ มักมีราคาที่สูงกว่าต้นไม้ภายในประเทศนั่นเอง
แต่ไม่ใช่ว่าต้นไม้ในไทยเมื่อนำมาทำบอนไซจะราคาไม่ดี เพราะอย่างบอนไซที่ทำจากต้นโพ ก็สามารถขายได้มากถึงหลักแสนบาท กันเลยทีเดียว
แต่สุดท้ายแล้วเงินก็ไม่ใช่สิ่งเดียวที่จะสามารถซื้อบอนไซได้
เพราะผู้ที่นิยมเลี้ยงบอนไซส่วนใหญ่แล้ว มองบอนไซเป็นเหมือน “ศิลปะที่มีชีวิต”
เพราะผู้ที่นิยมเลี้ยงบอนไซส่วนใหญ่แล้ว มองบอนไซเป็นเหมือน “ศิลปะที่มีชีวิต”
เพราะกว่าจะสร้างบอนไซที่สวยงามได้หนึ่งต้น
ล้วนมาจากเรื่องราวและการดูแลเอาใจใส่ของผู้เลี้ยง ถ้าหากขายให้กับคนที่เลี้ยงบอนไซไม่เป็น หรือไม่ใส่ใจกับมันมากพอ ก็ดูจะเป็นสิ่งที่สร้างความเจ็บปวดให้กับผู้สร้างอยู่ไม่น้อย
ล้วนมาจากเรื่องราวและการดูแลเอาใจใส่ของผู้เลี้ยง ถ้าหากขายให้กับคนที่เลี้ยงบอนไซไม่เป็น หรือไม่ใส่ใจกับมันมากพอ ก็ดูจะเป็นสิ่งที่สร้างความเจ็บปวดให้กับผู้สร้างอยู่ไม่น้อย
ในบางต้นที่ผู้เลี้ยงมีความผูกพันมาก ๆ ก็ไม่สามารถที่จะตัดใจขายให้กับผู้อื่นได้อีกเช่นกัน
หรือในประเทศญี่ปุ่น บอนไซบางต้นก็เป็นมรดกที่ตกทอดกันจากรุ่นสู่รุ่น เพราะฉะนั้นแล้วบางครั้ง การมีเงินอย่างเดียว ก็ไม่ได้ทำให้เราสามารถครอบครองบอนไซและเรื่องราวของมันได้
อย่างเช่น แบงค์ วง CLASH นักร้องไทยที่มีชื่อเสียง ที่หันมาปลูกบอนไซเป็นงานอดิเรก ก็เคยเปิดเผยว่าการเลี้ยงบอนไซ เป็นเหมือนงานอดิเรก ที่ทำให้ได้ฝึกความอดทน มีจิตใจที่สงบมากขึ้น และค้นพบความสุขที่แท้จริงของชีวิต
จึงสรุปได้ว่าแท้จริงแล้ว บอนไซ นั้นเกิดมาจากคนมีความรักที่จะทำงานศิลปะที่มีชีวิตนี้ให้สวยงาม
การจำลองสวนในกระถางนี้ เป็นเหมือนกับการเฝ้าดูความสวยงามที่เป็นธรรมชาติของมัน
และเมื่อมีผู้คนที่เห็นและรับรู้ได้ถึงเรื่องราวของมัน เมื่อนั้นมันจึงมีค่าขึ้นมา
และบางต้น บางกระถาง ก็มีมูลค่าได้มหาศาล เลยทีเดียว..
References
-https://www.japan-bonsai.jp/en/aboutbonsai/jukei/
-https://www.jnto.or.th/newsletter/bonsai-living-art/
-https://www.facebook.com/Bonsaihuntergallery
-https://www.bonsaiempire.com/blog/expensive-bonsai
-https://theplanthunter.com.au/culture/bonsai-and-the-cult-of-cute/
-หนังสือบ้านและสวน เรื่อง บอนไซ
-https://www.japan-bonsai.jp/en/aboutbonsai/jukei/
-https://www.jnto.or.th/newsletter/bonsai-living-art/
-https://www.facebook.com/Bonsaihuntergallery
-https://www.bonsaiempire.com/blog/expensive-bonsai
-https://theplanthunter.com.au/culture/bonsai-and-the-cult-of-cute/
-หนังสือบ้านและสวน เรื่อง บอนไซ