ทำความรู้จัก ‘ตราสารเงินกองทุน’ ทางเลือกการลงทุนในภาวะตลาดผันผวน จากธนาคารยูโอบี

ทำความรู้จัก ‘ตราสารเงินกองทุน’ ทางเลือกการลงทุนในภาวะตลาดผันผวน จากธนาคารยูโอบี

21 เม.ย. 2022
ทำความรู้จัก ‘ตราสารเงินกองทุน’ ทางเลือกการลงทุนในภาวะตลาดผันผวน จากธนาคารยูโอบี
UOB x ลงทุนแมน

สถาบันการเงินเป็นอีกสถาบันหนึ่งที่มีบทบาทและเป็นฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ
การรักษาความมั่นคงของสถาบันการเงิน จึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ
เป็นที่มาของหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสถาบันการเงินที่เรียกว่า Basel III
หรือแนวทางในการสร้างภูมิคุ้มกันให้ธนาคารสามารถรองรับความผันผวน
โดยเนื้อหาสำคัญของ Basel III คือการรักษาสัดส่วนเงินกองทุน
ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงถึงความแข็งแกร่งของฐานะการเงินของธนาคาร
โดยหนึ่งในที่มาของเงินกองทุนเหล่านี้คือ การออกตราสารเงินกองทุน (Basel)
ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ที่สามารถใช้นับเป็นเงินกองทุนของธนาคารได้
เร็ว ๆ นี้ ตลาดทุนในประเทศไทยก็กำลังจะมีตราสารเงินกองทุนที่ออกโดย ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)
ธนาคารชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
แล้วตราสารเงินกองทุนของธนาคารยูโอบี ที่เป็นตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนประเภทที่ 2 (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกสั้น ๆ ว่า “ตราสารเงินกองทุน”) เป็นอย่างไร ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ตราสารเงินกองทุน เป็นหลักทรัพย์ที่ระบุวันครบกำหนดไถ่ถอน และอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ถือตราสารเงินกองทุนจะได้รับไว้อย่างชัดเจนเหมือนกับหุ้นกู้
แต่การลงทุนในตราสารเงินกองทุนนั้น ผู้ลงทุนจะต้องสามารถรองรับผลขาดทุนของธนาคารผู้ออกตราสารเงินกองทุน หากธนาคารไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ และธนาคารแห่งประเทศไทย หรือหน่วยงานทางการอื่น ตัดสินใจเข้าช่วยเหลือทางการเงินแก่ธนาคารรวมถึงลำดับในการได้รับชำระหนี้ของผู้ถือตราสารเงินกองทุน ที่อยู่ในลำดับหลังจากเจ้าหนี้บุริมสิทธิ์ และเจ้าหนี้สามัญทั่วไป (ซึ่งรวมถึงผู้ฝากเงิน) ในกรณีที่ธนาคารถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลายหรือเลิกกิจการไป
สำหรับการเสนอขายตราสารเงินกองทุนของธนาคารยูโอบีในครั้งนี้ มีจำนวนประมาณ 8,000,000 หน่วย
และมีตราสารเงินกองทุนสำรองอีกจำนวนประมาณ 6,000,000 หน่วย
รวมจำนวนตราสารเงินกองทุนทั้งสิ้นไม่เกินประมาณ 14,000,000 หน่วย
คิดเป็นมูลค่ารวมไม่เกินประมาณ 14,000 ล้านบาท
โดยเป็นตราสารเงินกองทุนชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน ไม่มีผู้แทนผู้ถือตราสารเงินกองทุน ที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย
ครบกำหนดไถ่ถอนในปี 2575 หรือมีอายุ 10 ปี กำหนดจ่ายดอกเบี้ยทุก ๆ 3 เดือน โดยผู้ออกตราสารเงินกองทุนมีสิทธิขอไถ่ถอนตราสารเงินกองทุนทั้งจำนวนก่อนวันครบกำหนดได้ ณ วันกำหนดชำระดอกเบี้ยใดๆ หลังจากครบ 5 ปีนับจากวันออกตราสารเงินกองทุน
เพื่อนำเงินที่ได้ไปนับเป็นเงินกองทุน ใช้ในการประกอบธุรกิจ และเป็นเงินทุนในการดำเนินกิจการ
ธนาคารยูโอบีอยู่ระหว่างการจัดทำอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารเงินกองทุนซึ่งคาดว่าจะประกาศผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารเงินกองทุนประมาณปลายเดือนเมษายน 2565
แล้วการลงทุนกับธนาคารยูโอบี น่าสนใจอย่างไร?
ธนาคารยูโอบี ที่เราเห็นกันในประเทศไทยนั้น เป็นบริษัทย่อยในเครือกลุ่มธนาคารยูโอบี ประเทศสิงคโปร์
ซึ่งมีอายุเก่าแก่มากกว่า 80 ปี และมีเครือข่ายที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะในแถบประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย เวียดนาม และจีน
โดยธนาคารยูโอบี ประเทศสิงคโปร์ นั้น ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสำหรับเงินฝากสกุลเงินตราต่างประเทศระยะยาวจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำ อย่างมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส, ฟิทซ์ เรทติ้ง และเอสแอนด์พี ที่ระดับ Aa1, AA- และ AA- ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าประเทศไทยที่ Baa1 (มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส) และ BBB+ (ฟิทซ์ เรทติ้ง และเอสแอนด์พี)
ปัจจุบัน กลุ่มธนาคารยูโอบีมีสาขากว่า 500 แห่ง ใน 19 ประเทศ ทั้งในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ยุโรป และอเมริกาเหนือ โดยธนาคารยูโอบีในประเทศไทย แบ่งโมเดลธุรกิจได้เป็น 4 กลุ่ม
1. กลุ่มบรรษัทธนกิจ ให้บริการลูกค้าบรรษัทขนาดใหญ่ การบริหารจัดการความเสี่ยง (Hedging) และวาณิชธนกิจที่ให้บริการทางการเงินในตลาดทุน
2. กลุ่มพาณิชย์ธนกิจ ให้บริการลูกค้าที่ประกอบธุรกิจในลักษณะที่ปรึกษาและนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม เช่น สินเชื่อสำหรับขยายธุรกิจ การจ่ายเงินเดือนผ่านบัญชีอิเล็กทรอนิกส์
3. กลุ่มวิสาหกิจขนาดเล็ก ดูแลลูกค้าผู้ประกอบการ SMEs เช่น สินเชื่อเพื่อการลงทุนซื้อสถานประกอบการหรือ UOB BizProperty, สินเชื่อหมุนเวียนไม่ใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันหรือ UOB BizMoney
4. กลุ่มบุคคลธนกิจ บริการทางการเงินทั่วไปแก่กลุ่มลูกค้าบุคคล
โดยธนาคารยูโอบีได้รับรางวัล Best Foreign Retail Bank in Thailand
หรือธนาคารต่างชาติที่ประกอบธุรกิจรายย่อยที่โดดเด่นที่สุดในประเทศไทย เป็นเวลา 5 ปีติดต่อกัน จาก The Asian Banker
นอกจากนี้ ยังได้รับการจัดอันดับจาก บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด
อยู่ในระดับความน่าเชื่อถือภายในประเทศระยะยาวสูงสุด AAA(tha)
ซึ่งจะออกให้กับบริษัทที่คาดว่าจะมีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ต่ำที่สุด เมื่อเทียบกับผู้ออกตราสารหนี้ หรือตราสารหนี้อื่น ๆ ในประเทศไทย
โดยการออกตราสารเงินกองทุนครั้งนี้ จะทำให้ธนาคารยูโอบีมีเงินกองทุนที่แข็งแกร่งขึ้น
ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ธนาคารยูโอบีมีอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่ระดับ 19.0%
ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำและเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อสำรองไว้ยามฉุกเฉินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ที่ 11.0%
ในส่วนของทิศทางการเติบโตในช่วง 5 ปีจากนี้
ธนาคารยูโอบีมีเป้าหมายที่จะเป็นธนาคารขนาดกลางที่มีผลกำไรระดับแนวหน้า และมีงบดุลที่แข็งแกร่ง โดยเน้นเพิ่มความพึงพอใจในการใช้บริการให้แก่ลูกค้าทุกกลุ่ม ขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลกิจการ สร้างองค์กรให้เป็นบริษัทที่คนต้องการเข้ามาทำงานด้วย หรือ Employer of Choice
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่จะขับเคลื่อนกลุ่มธนาคารยูโอบีสู่การเป็น The World Most Trusted Bank หรือธนาคารที่ได้รับความไว้วางใจมากที่สุดในโลก
ตามวิชันที่วางไว้ทั้งหมดนี้ ทำให้การออกตราสารเงินกองทุนของธนาคารยูโอบีในครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกการลงทุนที่ไม่ควรมองข้าม
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับผู้ลงทุนรายใหญ่ที่มองหาการลงทุนที่มีโอกาสรับผลตอบแทนสม่ำเสมอ ท่ามกลางสภาวะตลาดผันผวน
และที่สำคัญคือ โอกาสในการร่วมลงทุนกับองค์กรชั้นนำในระดับภูมิภาค

โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
https://market.sec.or.th/public/ipos/IPOSDE01.aspx?TransID=412687

หรือติดต่อสถาบันการเงินทั้ง 3 แห่งนี้
ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) โทร. 0-2343-4900 หรือ 0-2093-4900
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ยกเว้นสาขาไมโคร) โทร. 0-2645-5555 หรือ 1333
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 02-888-8888 กด 819

คำเตือน: การลงทุนในตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนประเภทที่ 2 มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน ซึ่งมีความแตกต่างจากการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนทั่วไป แม้ว่าผู้ลงทุนจะเคยมีประสบการณ์ในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนมาก่อน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ความเสี่ยง เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.