รู้จัก ‘Z’ ผู้นำการให้บริการด้านบัญชีเงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ ในวันที่เทรนด์เทรดหุ้นออนไลน์มาแรง!

รู้จัก ‘Z’ ผู้นำการให้บริการด้านบัญชีเงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ ในวันที่เทรนด์เทรดหุ้นออนไลน์มาแรง!

11 พ.ย. 2022
รู้จัก ‘Z’ ผู้นำการให้บริการด้านบัญชีเงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ ในวันที่เทรนด์เทรดหุ้นออนไลน์มาแรง!
Z x ลงทุนแมน
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความทันสมัยของเทคโนโลยีทำให้ทุกอย่าง Go Digital มากขึ้นเรื่อย ๆ
ไม่เว้นแม้แต่ในแวดวงการเงินการลงทุน
ที่สามารถเลือกลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกสบาย
จากข้อมูลจำนวนมากที่มีให้เรียนรู้บนอินเทอร์เน็ต
รวมทั้งกระบวนการต่าง ๆ ที่ทำได้แบบออนไลน์
ประกอบกับราคาสินทรัพย์ที่ปรับตัวลงในช่วงวิกฤต
เปิดโอกาสให้หลายคนเข้าถึง และก้าวสู่โลกการลงทุนได้อย่างไร้ขีดจำกัด
รู้หรือไม่ว่า นอกจากบัญชีหุ้นแบบเงินฝากล่วงหน้า หรือ Cash Balance Account
ที่นักลงทุนต้องฝากเงินเข้าบัญชี ก่อนซื้อหลักทรัพย์
ซึ่งน่าจะเป็นบัญชีหุ้นประเภทที่หลายคนรู้จักแล้ว
ยังมีบัญชีแบบเงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ หรือ Credit Balance Account (Margin Account)
ที่นักลงทุนสามารถกู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ได้
โดยจะต้องนำเงินหรือหุ้นมาวางเป็นหลักประกันเริ่มต้นก่อนซื้อหลักทรัพย์ตามอัตรามาร์จิ้นที่โบรกเกอร์กำหนด แล้วเสียดอกเบี้ยในการกู้ยืม
เช่น โบรกเกอร์กำหนดสัดส่วนที่ 50% ของวงเงินกู้ ถ้าซื้อหุ้น 1,000 บาท
นักลงทุนจะต้องออกเงิน 500 บาท และสามารถกู้ยืมจากโบรกเกอร์ได้ 500 บาท
ทำให้มีโอกาสในการลงทุนมากขึ้น จากมูลค่าวงเงินที่มากขึ้นนั่นเอง
โดยเร็ว ๆ นี้ กำลังจะมีบริษัทโบรกเกอร์ออนไลน์ ที่เป็นผู้นำการให้บริการด้านบัญชี Margin
เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
คือ บริษัทหลักทรัพย์ จีเอ็มโอ-แซด คอม (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ Z
ซึ่งให้บริการภายใต้แบรนด์ Z.com ในบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ 2 ประเภท
ทั้งบัญชี Cash Balance และบัญชี Margin
โดยเน้นให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์แบบบริการตนเองผ่านระบบออนไลน์
เพื่อเป้าหมายที่จะเป็นโบรกเกอร์ออนไลน์อันดับ 1 ของประเทศไทย
แล้วธุรกิจของ Z แตกต่างจากโบรกเกอร์เจ้าอื่นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
Z มีแหล่งเงินทุนอันแข็งแกร่งจากผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทฯ
คือ GMO Financial Holdings, Inc. ในเครือของ GMO Internet Group
ซึ่งจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์โตเกียวทั้งสองบริษัท
โดยการมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่เป็นบริษัทญี่ปุ่นนั้น ไม่เพียงส่งเสริมด้านเงินทุน
แต่ยังทำให้ Z ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี
และสามารถนำมาพัฒนาให้เข้ากับตลาดหลักทรัพย์ฯ ไทยได้ด้วย
โดยเฉพาะระบบ Initial Margin Methodology หรือการคิดหลักประกันขั้นต้น
เพื่อนำมาประเมิน และคัดเลือกหุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิคเป็นรายวัน
นอกจากนี้ ยังมีโปรแกรมช่วยวิเคราะห์หุ้นจาก efinance
และวิดีโอแนะนำการลงทุนจากกูรูชื่อดังผ่านทางห้องเรียนออนไลน์ Zchool
ที่นักลงทุนสามารถเข้าถึงได้เพิ่มเติม
ปัจจุบันนักลงทุนที่มีพอร์ตบัญชี Margin ของ Z สามารถเทรดหุ้น ได้กว่า 800 หลักทรัพย์
ซึ่งครอบคลุมหุ้นส่วนใหญ่ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดฯ
โดยสามารถส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ได้ด้วยตัวเองผ่านอินเทอร์เน็ต
ตั้งแต่การเปิดบัญชี ตรวจสอบข้อมูล ส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์
รวมถึงให้บริการบทวิเคราะห์ เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน
ทำให้ลูกค้าส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม Gen X (อายุ 41-55 ปี) ซึ่งมีประสบการณ์ในการลงทุน
และกำลังวางแผนขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่ม Gen Y (อายุ 25-40 ปี) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นประจำ
สำหรับผลประกอบการของ Z
ปี 2562 มีรายได้รวม 251.5 ล้านบาท กำไร 6.8 ล้านบาท
ปี 2563 มีรายได้รวม 398.2 ล้านบาท กำไร 44.7 ล้านบาท
ปี 2564 มีรายได้รวม 719.8 ล้านบาท กำไร 261.3 ล้านบาท
ล่าสุด งวด 6 เดือน ปี 2565 มีรายได้รวม 469.7 ล้านบาท กำไร 181.7 ล้านบาท
โดย 91.6% ของรายได้รวม มาจากรายได้ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์
และมีอัตรากำไรสุทธิสูงถึง 38.7% (ณ งวด 6 เดือน ปี 2565)
ถ้าถามว่า ภาพรวมการแข่งขันของบัญชี Margin ในประเทศไทยตอนนี้ เป็นอย่างไร ?
แน่นอนว่า สถานการณ์ของธุรกิจโบรกเกอร์จะเป็นไปในทิศทางเดียวกับปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาด
ในส่วนของบัญชี Margin นั้น ปริมาณการซื้อขายยังโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยมีปัจจัยการแข่งขันจากจำนวนหลักทรัพย์ที่บริษัทให้นักลงทุนกู้ยืม และความแข็งแกร่งด้านแหล่งเงินทุน
ซึ่งบริษัทหลักทรัพย์จะมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้จัดลำดับ และคำนวณเกรดของหุ้นที่สามารถลงทุนได้ด้วยบัญชี Margin ให้ครอบคลุมมากขึ้น ตามจำนวนบริษัทจดทะเบียนที่เพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี
รวมถึงการสนับสนุนด้านแหล่งเงินทุนทั้งจากบริษัทแม่และสถาบันการเงินในประเทศ
เพื่อรองรับการขยายตัวของพอร์ตมาร์จิ้นได้อย่างต่อเนื่อง
ถึงตรงนี้จะเห็นได้ว่า แม้ปัจจุบันจะมีโบรกเกอร์หลายเจ้าในประเทศไทย
แต่การเน้นให้บริการบัญชี Margin เป็นหลัก ทำให้ Z กลายเป็นโบรกเกอร์ที่มีจุดเด่นแตกต่างจากผู้ประกอบการในธุรกิจเดียวกัน
นอกจากนี้ การที่ Z ให้ลูกค้าทำรายการด้วยตนเองผ่านอินเทอร์เน็ต
จึงไม่จำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่จำนวนมากมารองรับ
ทำให้ Z มีต้นทุนทางธุรกิจต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง
และสามารถกำหนดค่าธรรมเนียมการซื้อขาย ได้ต่ำกว่านั่นเอง
ส่งผลให้ในปี 2564 Z มีรายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ สูงเป็นอันดับ 1
ของบริษัทหลักทรัพย์ที่ให้บริการเงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดในประเทศไทย
โดยมูลค่าของพอร์ตเงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ของ Z เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
คิดเป็น CAGR ประมาณ 36%ในช่วงปี 2562-2564
เรียกได้ว่า น่าจะเป็นหนึ่งในไม่กี่ธุรกิจที่สามารถสร้างการเติบโตได้แบบก้าวกระโดด
ในช่วงเวลาที่ถือเป็นความท้าทายและบทพิสูจน์ของแทบทุกอุตสาหกรรม
สำหรับการ IPO ที่กำลังจะเกิดขึ้นในเร็ว ๆ นี้
Z จะเสนอขายหุ้น IPO จำนวน 75 ล้านหุ้น
คิดเป็นร้อยละ 20 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ
โดยนักลงทุนที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
https://market.sec.or.th/public/ipos/IPOSEQ01.aspx?TransID=428986
Reference:
- ร่างแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และหนังสือชี้ชวนฉบับเต็มของ Z ซึ่งได้ยื่นต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ที่ www.sec.or.th
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.