รู้จัก CHASE บริษัทที่กำลัง IPO ที่มี RS GROUP ถือหุ้น 35%

รู้จัก CHASE บริษัทที่กำลัง IPO ที่มี RS GROUP ถือหุ้น 35%

19 ม.ค. 2023
รู้จัก CHASE บริษัทที่กำลัง IPO ที่มี RS GROUP ถือหุ้น 35%
CHASE X ลงทุนแมน
เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ลงทุนแมน มีโอกาสพูดคุยกับ เฮียฮ้อ เจ้าของอาณาจักร RS GROUP
โดยหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจก็คือการที่ เฮียฮ้อ ตัดสินใจซื้อหุ้น 35% มูลค่า 920 ล้านบาท
ในบริษัท เชฎฐ์ เอเชีย จำกัด หรือ CHASE
พร้อมกับคำพูดของ เฮียฮ้อ ที่น่าสนใจว่า “อีกไม่เกิน 3 ปี บริษัท เชฎฐ์ เอเชีย จำกัด จะเข้าตลาดหลักทรัพย์”
ซึ่ง CHASE ก็ได้ดำเนินการตามที่เฮียฮ้อว่าไว้ โดยได้เปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่ที่มีคำว่า “มหาชน” ต่อท้ายคือ บริษัท เชฎฐ์ เอเชีย จำกัด (มหาชน)
และยื่นขออนุญาตเสนอขายหุ้นกับสำนักงาน ก.ล.ต. ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
โดยล่าสุด บริษัท อยู่ระหว่างการเตรียมเสนอขายหุ้นสามัญให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก IPO จำนวน 562 ล้านหุ้น
เพื่อระดมทุนเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และสร้างรายได้บริษัทให้เติบโต
สิ่งที่หลายคนสงสัยก็คือ CHASE ดำเนินธุรกิจอะไรบ้าง ?
และทำไมถึงเป็นบริษัทที่มีโอกาสเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง จนทำให้ เฮียฮ้อ แห่งอาณาจักร RS GROUP ตัดสินใจซื้อหุ้นถึง 35%
ลงทุนแมน จะวิเคราะห์ให้ฟัง
รู้หรือไม่ จุดเริ่มต้นของ CHASE เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง
ที่เวลานั้นมีการประเมินว่าสถาบันการเงินต่าง ๆ และกลุ่ม Non Bank มีลูกหนี้ด้อยคุณภาพ
หรือ NPL สูงถึง 2.3 ล้านล้านบาท
คุณประชา ชัยสุวรรณ ซึ่งมีประสบการณ์อยู่ในธุรกิจบริหารหนี้มายาวนานมองเห็นโอกาสในวิกฤติครั้งนั้น
ทำให้ในปี พ.ศ. 2541 ได้ก่อตั้งบริษัท เชฎฐ์ เอเชีย จำกัด ขึ้นมา เพื่อทำธุรกิจบริการติดตามทวงถามและเร่งรัดหนี้สินให้แก่สถาบันการเงิน โดยทำหน้าที่ติดตามทวงถามหนี้จากลูกหนี้ที่เป็นหนี้เสียของสถาบันการเงิน ภายใต้แนวคิดที่จะเป็นที่ปรึกษาให้ความรู้คู่วินัยในการบริหารหนี้ เพื่อให้ลูกหนี้สามารถแก้ไขหนี้เสียและปลดเปลื้องภาระหนี้ได้
อีก 5 ปีต่อมา คุณประชา ก็ก่อตั้งบริษัท รีโซลูชั่น เวย์ จำกัด เพิ่มอีกหนึ่งธุรกิจใหม่เข้ามา คือ บริหารจัดการสินทรัพย์ โดยรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพมาจากสถาบันการเงิน
อธิบายง่าย ๆ คือ การซื้อลูกหนี้ด้อยคุณภาพจากสถาบันการเงินมาบริหารเอง พร้อมกับได้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล จากธนาคารแห่งประเทศไทย
โดยในปี 2564 บริษัท เชฎฐ์ เอเชีย จำกัด (มหาชน)
มีรายได้จากดอกเบี้ยและรายได้ค่าบริการและค่าวิชาชีพจากการให้บริการติดตามทวงถามหนี้รวมทั้งสิ้นอยู่ที่ 781.07 ล้านบาท โดยผลประกอบการในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ปี 2562 รายได้ดอกเบี้ย, รายได้ค่าบริการค่าวิชาชีพ และอื่น ๆ รวม 635.69 ล้านบาท
กำไรสุทธิ 161.95 ล้านบาท อัตรากำไรสุทธิ 25.48%
ปี 2563 รายได้ดอกเบี้ย, รายได้ค่าบริการค่าวิชาชีพ และอื่น ๆ รวม 730.19 ล้านบาท
กำไรสุทธิ 171.38 ล้านบาท อัตรากำไรสุทธิ 23.47%
ปี 2564 รายได้ดอกเบี้ย, รายได้ค่าบริการค่าวิชาชีพ และอื่น ๆ รวม 781.07 ล้านบาท
กำไรสุทธิ 270.88 ล้านบาท อัตรากำไรสุทธิ 34.68%
จะเห็นว่าอัตรากำไรสุทธิต่อรายได้ 3 ปีที่ผ่านมา สูงถึงราว ๆ 23% - 35% เลยทีเดียว
จริงอยู่ด้วยธรรมชาติของธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับหนี้เสีย จะมีอัตรากำไรที่สูง แต่หากขาดการบริหารจัดการที่ดี ก็ไม่สามารถที่จะแปลงหนี้ที่เกือบเป็น NPL หรือเป็นหนี้เสียไปแล้ว ให้กลับมาเป็นรายได้ให้แก่บริษัทได้ ซึ่งที่ผ่านมา กลุ่มบริษัทฯ สามารถเรียกชำระเงินจากลูกหนี้ได้มากกว่าต้นทุนที่กลุ่มบริษัทฯ รับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพอย่างมาก
ด้วยประสบการณ์ 24 ปีของ CHASE กลับทำเรื่องนี้ได้สำเร็จ
ด้วยแนวทางการทำธุรกิจที่ไม่ใช่แค่ติดตามทวงถามหนี้ เพียงอย่างเดียว
แต่เลือกที่จะเป็นเพื่อนคู่คิดของคนเป็นหนี้
สะท้อนจากวิสัยทัศน์ของ CHASE ซึ่งก็คือ “เป็นศูนย์กลางในการบริหารหนี้ครบวงจร โดยให้คำปรึกษาและให้ความรู้คู่วินัยในการบริหารหนี้ เพื่อสร้างโอกาสปลดเปลื้องภาระหนี้”
เพราะ CHASE เชื่อว่า “ลูกหนี้ทุกคนต้องการโอกาสในการเจรจา เพื่อวางแผน เพื่อชำระหนี้” CHASE จึงมุ่งเน้นที่จะพูดคุยกับลูกหนี้เพื่อหาหนทางที่ดีที่สุดสำหรับลูกหนี้ในการจ่ายชำระหนี้ ในขณะเดียวกันก็ให้ผลการติดตามหนี้ที่ดีให้แก่ลูกค้าของบริษัทฯ
ด้วยเหตุผลนี้เองที่ทำให้สถาบันการเงินต่าง ๆ เลือกใช้บริการให้ CHASE ติดตามหนี้สิน
เพราะด้วยแนวคิดนี้ของ CHASE ยังช่วยรักษาภาพลักษณ์ของผู้ว่าจ้าง
จนได้รับการยอมรับจากสถาบันการเงินว่าเป็นตัวจริง ที่เป็นเหมือนเพื่อนคู่คิดให้แก่คนที่มีหนี้สิน
โดยการระดมทุนขายหุ้นสามัญ IPO ในตลาดหลักทรัพย์ ครั้งนี้
เงินก้อนหนึ่งที่ได้ก็จะนำมาใช้เพิ่มศักยภาพในธุรกิจ เช่น รับซื้อหนี้ด้อยคุณภาพ
ซึ่งก็น่าจะทำให้ CHASE จากเดิมที่แข็งแกร่งอยู่แล้ว ก็จะแข็งแกร่งเพิ่มขึ้นไปอีก
ที่สำคัญธุรกิจการเงินสมัยใหม่ในภาพรวมจะได้รับแรงขับเคลื่อนจากเทคโนโลยีการเงิน
ที่มีระบบล้ำ ๆ มากมาย ที่จะมาช่วยให้ผู้กู้เข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบมากขึ้น
โดยทาง CHASE ได้ศึกษาโมเดลนี้เพื่อรองรับการให้บริการอย่างเต็มรูปแบบเช่นเดียวกัน
น่าจะหมดข้อสงสัยว่า ทำไมเมื่อ 2 ปีที่แล้ว เฮียฮ้อแห่งอาณาจักร RS GROUP ตัดสินใจซื้อหุ้น 35% มูลค่า 920 ล้านบาท
เพราะนอกจากการที่จะนำ CHASE เป็นพาร์ตเนอร์ของ RS แล้วนั้น
บริษัท เชฎฐ์ เอเชีย จำกัด (มหาชน) ยังถือเป็นบริษัทที่มีผลประกอบการเติบโตต่อเนื่อง, อัตรากำไรสูง, สถาบันการเงินจนถึงลูกหนี้ต่างไว้ใจ และพร้อมปรับตัวอยู่ตลอดเวลา
สรุปสั้น ๆ ก็คือด้วยโมเดลธุรกิจและแนวทางบริหารในสไตล์นี้
ก็น่าจะทำให้ บริษัท เชฎฐ์ เอเชีย จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในบริษัทที่ยั่งยืนและมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
References
-https://market.sec.or.th/public/ipos/IPOSEQ01.aspx?TransID=455146&lang=th
-https://www.chase.co.th/about-us
-การวิเคราะห์และคำอธิบายผลดำเนินงานและฐานะทางการเงินสำหรับปีบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2562 2563 และ 2564
-สัมภาษณ์โดยตรงกับ คุณสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ CEO ของ RS GROUP
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.