กรณีศึกษา Karoshi โรคทำงานหนักจนตาย ของพนักงานญี่ปุ่น

กรณีศึกษา Karoshi โรคทำงานหนักจนตาย ของพนักงานญี่ปุ่น

13 ก.พ. 2023
กรณีศึกษา Karoshi โรคทำงานหนักจนตาย ของพนักงานญี่ปุ่น /โดย ลงทุนแมน
“งานหนัก ไม่เคยทำให้ใครตาย” น่าจะเป็นประโยคให้กำลังใจที่หลายคนมักได้ยินเป็นประจำ ในตอนที่เรากำลังเผชิญกับภาระงานจำนวนมาก
แต่จริง ๆ แล้วรู้ไหมว่า การทำงานหนักจนตายนั้น เกิดขึ้นจริงในหลายประเทศ
โดยเฉพาะในญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อว่า พนักงานทำงานหนักมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก จนนำมาซึ่งคำว่า “Karoshi” หรือ “โรคทำงานหนักจนตาย”
แล้วที่มาที่ไปของโรค Karoshi เป็นอย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
Karoshi หรือ โรคทำงานหนักจนตายนั้น เกิดจากการทำงานหนักติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จนพักผ่อนไม่เพียงพอ
ทำให้มีความเครียดสะสม เสียสุขภาพ และเกิดโรคต่าง ๆ ตามมา อย่างเช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด หรือโรคเบาหวาน เป็นต้น จนสุดท้ายนำไปสู่การเสียชีวิตลงในที่สุด
ต้องบอกว่า จุดเริ่มต้นของโรคนี้ เกิดขึ้นในช่วงหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ในปี 1945 ที่จบลงด้วยความเสียหายอย่างหนักของญี่ปุ่น จากการพ่ายแพ้สงคราม
โดยผลกระทบที่สำคัญคือ จำนวนประชากรของญี่ปุ่นนั้นลดลงเป็นอย่างมากถึง 1.2 ล้านคน
ปี 1940 จำนวนประชากร 73.1 ล้านคน
ปี 1945 จำนวนประชากร 71.9 ล้านคน
และด้วยความที่จำนวนประชากรในตลาดแรงงาน มีไม่เพียงพอ สวนทางกับความต้องการแรงงาน เพื่อมาเร่งการฟื้นฟูเศรษฐกิจ หลังได้รับความเสียหายจากสงคราม
นั่นหมายถึง แรงงานต้องเพิ่มชั่วโมงการทำงานให้มากขึ้น
นอกจากนี้ ช่วงทศวรรษ 1970 ญี่ปุ่นยังได้มีการปรับโครงสร้างแรงงาน และสภาพแวดล้อมการทำงาน เพื่อเอื้อให้แรงงานชาวญี่ปุ่นสามารถทำงานได้มากกว่า 70 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ อีกด้วย
จึงทำให้เกิดการปลูกฝัง วัฒนธรรมการทำงานหนัก เป็นเรื่อง “ปกติและน่ายกย่อง”
ส่งผลให้พนักงานชาวญี่ปุ่นจำนวนมาก ทำงานกันมากขึ้น โดยมีการทำงานล่วงเวลามากขึ้นเรื่อย ๆ แบกรับภาระงานที่หนักเกินตัว จนนำมาซึ่งโรคทำงานหนักจนตาย หรือ Karoshi นั่นเอง
ที่น่าตกใจคือ จำนวนดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ปี 1990 จนปัจจุบัน มีการคาดการณ์ว่า มีชาวญี่ปุ่นที่เสียชีวิตจากโรค Karoshi สูงถึงปีละ 10,000 คนเลยทีเดียว
ซึ่งผลกระทบของโรค Karoshi ยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตลาดแรงงานของญี่ปุ่นอย่างมาก โดยเฉพาะการทำงานของคนญี่ปุ่นรุ่นใหม่ ที่ชอบมองหางานที่มีลักษณะเป็นงาน Part Time แทนที่จะเป็นงาน Full Time แบบคนญี่ปุ่นรุ่นก่อน
ซึ่งงาน Part Time นั้น ไม่เพียงแต่จะลดระยะเวลาในการทำงานลง แต่ยังช่วยให้คนญี่ปุ่นรุ่นใหม่ สามารถเลือกทำงานตามเวลาที่สะดวกได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม หลายปีมานี้ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนของญี่ปุ่น ได้พยายามแก้ไขปัญหาโรค Karoshi
ด้วยการแก้ไขกฎหมายแรงงาน แก้ไขกฎระเบียบต่าง ๆ
รวมถึงกระตุ้นให้พนักงานชาวญี่ปุ่น ใช้เวลาไปพักผ่อนมากขึ้น
ขณะที่บริษัทเอกชนหลายแห่ง ก็มีการจำกัดการทำงานล่วงเวลา ให้น้อยลงกว่าเดิม
ทั้งนี้ ก็เพื่อปรับสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัว และการทำงาน ให้สุขภาพกายและสุขภาพจิตของพนักงานชาวญี่ปุ่นนั้นดีขึ้น และลดความเสี่ยงจากโรค Karoshi ที่สังคมญี่ปุ่นต้องเผชิญกันมาเป็นระยะเวลานาน
ต้องบอกว่า เหตุการณ์เสียชีวิตจากการทำงานหนักนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นแค่เฉพาะในประเทศญี่ปุ่น แต่ปัจจุบันยังแพร่กระจายไปในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกอีกด้วย
แม้โลกทุนนิยมจะสร้างประโยชน์ต่าง ๆ มากมายให้แก่โลกของเรา แต่ก็กลับทำให้คนจำนวนไม่น้อยต้องทำงานหนักจนเกินจะรับไหว จนนำไปสู่การเสียชีวิต นั่นเอง..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://observatory.tec.mx/edu-news/karoshi-phenomenon/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Karoshi
-https://en.wikipedia.org/wiki/Demographics_of_Japan
-https://en.wikipedia.org/wiki/Freeter
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.