ttb สะท้อนความสำเร็จจากลูกค้า เปิดโรดแมปปี 2566 สร้าง New Business Model ผ่าน Ecosystem Play เพื่อลูกค้าที่มีบัญชีเงินเดือน ลูกค้าที่มีบ้าน และลูกค้าที่มีรถ

ttb สะท้อนความสำเร็จจากลูกค้า เปิดโรดแมปปี 2566 สร้าง New Business Model ผ่าน Ecosystem Play เพื่อลูกค้าที่มีบัญชีเงินเดือน ลูกค้าที่มีบ้าน และลูกค้าที่มีรถ

23 ก.พ. 2023
ttb สะท้อนความสำเร็จจากลูกค้า เปิดโรดแมปปี 2566 สร้าง New Business Model ผ่าน Ecosystem Play เพื่อลูกค้าที่มีบัญชีเงินเดือน ลูกค้าที่มีบ้าน และลูกค้าที่มีรถ
ttb x ลงทุนแมน
ย้อนกลับไปเมื่อ 2 ปีที่แล้ว หนึ่งในข่าวใหญ่ที่เขย่าแวดวงสถาบันการเงิน
คือ การประกาศรวมกิจการของ 2 ธนาคารชั้นนำของไทย อย่าง ทีเอ็มบี และ ธนชาต
นับตั้งแต่วันนั้น จนถึงปัจจุบัน ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ttb ไม่เคยหยุดพัฒนา และต่อยอดบริการจากความแข็งแกร่งของทั้ง 2 ธนาคาร เพื่อให้คนไทยได้มีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นรอบด้าน
ซึ่งความสำเร็จของ ttb ได้เข้ามายกระดับชีวิตคนไทย ในหลากหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็น
- เพิ่มสภาพคล่องในช่วงโควิดและในช่วงปัญหาหนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงให้แก่กลุ่มลูกค้าเปราะบาง โดยช่วยรวบหนี้กว่า 2,000 ราย ทำให้ประหยัดเงินจากดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายกว่า 270 ล้านบาท
- ให้คนไทยกว่า 2,000,000 คน ได้รับความคุ้มครองชีวิต และค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุฟรี ผ่านบัญชี ttb all free
- ลูกค้าได้รับความคุ้มครองผ่านกรมธรรม์กว่า 340,000 ชีวิต
มาวันนี้ ttb เปิดโรดแมปปี 2566 แสดงถึงวิสัยทัศน์ สู่การเป็นธนาคารคู่ใจของคนไทย
พร้อมสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมาย ในรูปแบบใหม่ หรือ The Next REAL Change
ก้าวต่อไปของ ttb นี้ มีความน่าสนใจอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ก่อนอื่น เรามาดูว่าผลลัพธ์ที่ผ่านมาของ ttb เป็นอย่างไรกันบ้าง
เพื่อให้เห็นว่า นอกจากธนาคารจะตอบโจทย์ผู้คนแล้ว ยังประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ อย่างเห็นได้ชัด
เริ่มต้นที่ “ผลประกอบการ” ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่วัดได้ค่อนข้างชัดที่สุด
ปี 2565 ttb มีรายได้ 65,852 ล้านบาท เติบโตจากปีก่อน 0.5%
แม้จะเห็นว่ารายได้จะเติบโตได้เล็กน้อย แต่กำไรสุทธิเติบโตถึง 35.6% เลยทีเดียว
โดยสาเหตุหลัก ๆ มาจากค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน และเงินตั้งสำรองที่ลดลงนั่นเอง
หากมาดูการเติบโตของแต่ละส่วนของผลิตภัณฑ์ และบริการของ ttb ก็มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะมีการเติบโตในทุก ๆ ส่วน ไม่ว่าจะเป็น
- เงินฝาก มูลค่า 1.4 ล้านล้านบาท เติบโต 4.5%
- ยอดเปิดเครดิตการ์ด 1.76 แสนใบ เติบโต 112%
- สินเชื่อส่วนบุคคล มูลค่า 23,000 ล้านบาท เติบโต 71%
- สินเชื่อบ้านแลกเงิน มูลค่า 6,600 ล้านบาท เติบโต 151%
- ประกันชีวิต มูลค่า 5,500 ล้านบาท เติบโต 26%
แม้ว่า ttb กำลังไปในทิศทางที่ดี แต่ก็ยังคงไม่หยุดพัฒนาธุรกิจ เพื่อยกระดับชีวิตทางการเงินของคนไทย ภายใต้ 3 กลยุทธ์สำคัญ ได้แก่
1. Synergy Realization
คือ การนำจุดแข็ง และความแข็งแกร่งจากการรวมกิจการ มาต่อยอดพัฒนาโซลูชันทางการเงินที่ตอบโจทย์ลูกค้าในวงกว้าง
รู้หรือไม่ว่า หลังจากรวมกิจการ ttb มีฐานลูกค้ามากกว่า 10 ล้านราย
โดยต้นทุนต่อรายได้อยู่ที่ 45% ลดลงจากปีก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ 48%
แสดงให้เห็นว่า การรวมกิจการนั้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับธุรกิจได้เป็นอย่างดี
ttb จึงต่อยอดโอกาสด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ธนาคารมีความโดดเด่น
เช่น สินเชื่อรถ สินเชื่อบ้าน บัญชีเพื่อใช้ เพื่อออม และบัญชีเงินเดือน
โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ผู้คนในภาวะเศรษฐกิจไม่แน่นอนในปีนี้ให้ดียิ่งขึ้น
ซึ่งมีตั้งแต่ สินเชื่อรถแลกเงิน สินเชื่อบ้านแลกเงิน สินเชื่อ ttb payday loan ไปจนถึงกลุ่มประกันภัยรถยนต์
2. Digitalization
คือ การยกระดับประสบการณ์ทางการเงิน และพัฒนาประสิทธิภาพของธนาคารผ่าน ttb touch เวอร์ชันใหม่
อีกหนึ่งเป้าหมายของ ttb ที่ตั้งไว้ในปีนี้ คือการก้าวสู่ Top 3 Digital Banking Platform
หลังจากพัฒนาขีดความสามารถของ ttb touch เวอร์ชันใหม่ในไตรมาส 2 ของปี 2565 ไปแล้ว
จนได้รับกระแสตอบรับที่ดี มีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นถึง 46% และจำนวนรายการธุรกรรมบนแอป เติบโตขึ้น 25%
โดย ttb touch เวอร์ชันใหม่ ไม่เพียงแต่จะมีความเสถียรสูง แต่ยังสามารถบริการลูกค้าได้แบบ Personalized หรือการตอบสนองความต้องการของลูกค้าโดยเฉพาะ
แม้จะมีเหตุการณ์ที่แอปสะดุดบ้าง อย่างเช่นเดือนกันยายนที่ผ่านมา
อย่างไรก็ดี ttb ได้เร่งแก้ไข และวางแผนพัฒนาความสามารถในการรองรับการให้บริการอย่างต่อเนื่อง
จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ ที่ผลลัพธ์แอปเวอร์ชันใหม่ ในมุมต่าง ๆ จะเป็นไปในทิศทางที่ดี
- จำนวนลูกค้าสมัครบัตรเครดิต เติบโต 2.5 เท่า
- ยอดการเปิดบัญชีเงินฝาก เติบโต 12%
- ยอดเบิกเงินกู้สินเชื่อบุคคล เติบโต 3.9 เท่า
ที่น่าสนใจคือ ในปี 2566 ธนาคารมีเป้าหมายที่จะพัฒนาองค์กรให้เป็น Digital-First Experience
เพื่อให้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมส่วนใหญ่ได้ด้วยตัวเอง ผ่าน ttb touch แบบครบ จบ ในที่เดียว
นอกจากนี้ ttb ยังพัฒนาฝ่ายสนับสนุนอย่าง พนักงานสาขา ให้กลายเป็นผู้ให้คำปรึกษา แนะนำ หรือให้บริการลูกค้าสำหรับผลิตภัณฑ์ และบริการที่มีความซับซ้อน ให้เป็นเรื่องง่าย อีกด้วย
3. Ecosystem Play
คือ การสร้างชีวิตทางการเงินของลูกค้าบัญชีเงินเดือน ลูกค้าที่มีรถ มีบ้าน ให้ดีขึ้นรอบด้าน
ttb กำลังสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ ซึ่งตอบโจทย์คน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มมนุษย์เงินเดือน กลุ่มคนมีรถยนต์ และกลุ่มคนมีบ้าน
โดยธนาคารจะเข้าไปแทรกอยู่ในชีวิตประจำวันของแต่ละกลุ่มคน พร้อมร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำ
เพื่อมายกระดับการให้บริการ ให้ลูกค้าทุกคนได้มีชีวิตทางการเงินที่ดี แบบครบวงจร
ยกตัวอย่างเช่น “คนมีรถยนต์” จะสามารถจัดการได้ตั้งแต่
- จ่าย-เช็กยอดสินเชื่อรถยนต์
- ต่อประกันภัยรถยนต์และพ.ร.บ.
- เติมเงิน-เช็กยอดบัตรทางด่วน Easy Pass
- ค้นหา โปรโมชันเกี่ยวกับการดูแลรถยนต์
- สมัครสินเชื่อรถยนต์ ttb DRIVE
หรือแม้กระทั่งการขายรถยนต์แบบประมูลออนไลน์ สามารถทำบนฟีเจอร์ “My Car” บนแอป ttb touch ได้อย่างง่าย ๆ เพียงแค่ปลายนิ้ว
ที่สำคัญ ttb ยังทรานส์ฟอร์มองค์กร สู่โลกแห่งยุคดิจิทัล ด้วยการเพิ่มศักยภาพของบุคลากรให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง และเพิ่มจำนวนทีมงานด้านเทคโนโลยี
โดยจัดตั้ง ttb spark และ ttb academy เสมือนเป็นศูนย์การเรียนรู้สำคัญ พัฒนาทักษะของคนรุ่นใหม่ให้สอดคล้องกับโลกธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
สุดท้ายแล้ว มาดูบทสรุปเส้นทางความสำเร็จของ ttb ตั้งแต่ประกาศรวมกิจการ จะพบว่า
- ปี 2564 ttb กลายเป็นหนึ่งในธนาคารชั้นนำของไทย จากการผนึกกำลังระหว่างทีเอ็มบี และธนชาต (TMB x TBANK)
- ปี 2565 ttb เดินหน้า Make REAL Change มุ่งสู่การเป็น The Bank of Financial Well-being
เป็นธนาคารที่สร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับคนไทยทั้งประเทศ และมีผลลัพธ์ที่จับต้องได้ชัดเจนทั้งในมุมลูกค้า และแง่มุมของธุรกิจ
- ปี 2566 จากผลสำเร็จของปีที่ผ่านมาถือว่า ttb เดินทางถูกทาง และด้วยการวางกลยุทธ์ The Next REAL Change ในปีนี้ที่มุ่งขยายวงกว้างจากความสำเร็จในการให้ลูกค้ามีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น และมุ่งเน้นการเติบโตเน้น Digitalization ผ่าน ttb touch เวอร์ชันใหม่ และการสร้าง New Business Model ผ่าน Ecosystem Play เพื่อช่วยให้ลูกค้าที่มีบัญชีเงินเดือน ลูกค้าที่มีบ้าน และลูกค้าที่มีรถ ได้เข้าถึงโซลูชันการเงินที่ดีที่สุด และมีแหล่งเงินทุนที่มีคุณภาพ
เพราะลูกค้าทั้ง 3 กลุ่มนี้ เป็นกลุ่มลูกค้าที่ ttb มีความเชี่ยวชาญและเข้าใจ
ทั้งมีจุดเด่นเรื่องฐานลูกค้าด้านสินเชื่อรถยนต์ที่แข็งแกร่งจากธนาคารธนชาตเดิม และ
ในขณะที่ทีเอ็มบีเดิมก็มีความเชี่ยวชาญด้านสินเชื่อบ้าน และมีฐานลูกค้าบัญชีเงินฝากอยู่ในระดับสูง
จึงไม่น่าแปลกใจว่า การเติบโตด้วย Ecosystem Play หรือการนำความแข็งแกร่งของทั้ง 2 ธนาคารมาผนึกกำลัง จะทำให้มีโอกาสสร้างฐานลูกค้าและเพิ่มประสบการณ์ที่ดีที่สุด ให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน
ที่สำคัญคือ การเกิดขึ้นของแพลตฟอร์มอย่าง ttb touch จะเป็นอีกหนึ่งตัวกลางที่จะมาเชื่อมต่อทุก ๆ ฝ่าย ตั้งแต่ลูกค้า พาร์ทเนอร์ และ ttb ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไร้รอยต่อ
ซึ่งทุก ๆ ธุรกรรมทางการเงินจะสามารถทำได้ครบ จบ ในแอปพลิเคชันเดียว ตั้งแต่ขอสินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อบ้าน บริหารจัดการเงินเดือนพนักงานและภาษี ไปจนถึงจ่ายค่าน้ำค่าไฟ
ทั้งหมดนี้ ttb ได้พิสูจน์แล้วว่า ttb ได้เข้ามายกระดับคุณภาพชีวิตทางการเงินของผู้บริโภคอย่างแท้จริง..
ซึ่งเราคงต้องติดตามกันต่อไปว่า ttb จะสามารถเติบโตได้แค่ไหน ในวันที่บริการทางการเงิน เปรียบเสมือนเส้นเลือดสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
แต่ที่แน่ ๆ คือ ปัจจุบัน การรวมกิจการของ 2 ธนาคารชั้นนำอย่าง ทีเอ็มบี และ ธนชาต
ไม่เพียงแค่จะเข้ามาสร้างการเปลี่ยนแปลงรูปแบบใหม่ ในวงการการเงินของประเทศไทย อย่างเห็นได้ชัด
แต่ ttb ยังช่วยให้ คนไทยทุกคน มีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น นั่นเอง..
#ให้ชีวิตการเงินดีทั้งวันนี้และอนาคต
#เปลี่ยนเพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น
#ttb
#MakeREALChange
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.