
KASIKORN INVESTURE เกมรุกจาก KBank ลุยตลาดลูกค้ารายย่อย โอกาสสร้างรายได้ใหม่
KASIKORN INVESTURE เกมรุกจาก KBank ลุยตลาดลูกค้ารายย่อย โอกาสสร้างรายได้ใหม่
KIV x ลงทุนแมน
KIV x ลงทุนแมน
LINE BK ทำให้ใคร ๆ แช็ต-โอน-ยืม-จ่าย ผ่าน LINE ได้ง่าย ๆ
Meta Pay ทำให้ร้านค้าออนไลน์ มีระบบชำระเงินผ่านแพลตฟอร์ม
Meta Pay ทำให้ร้านค้าออนไลน์ มีระบบชำระเงินผ่านแพลตฟอร์ม
ตัวอย่างเหล่านี้ ไม่ได้เกิดจาก ความบังเอิญ แต่ล้วนเป็น จิกซอว์สำคัญแต่ละชิ้นที่ KBank วางแผนไว้หมดแล้ว
ที่น่าสนใจคือ จิกซอว์เหล่านี้กำลังถูกหลอมรวม ภายใต้บริษัทโฮลดิ้งของกลุ่มธนาคารกสิกรไทย เพื่อลงทุนในบริษัทร่วมกับพันธมิตร โดยมีชื่อว่า บริษัท กสิกร อินเวสเจอร์ จำกัด หรือ KIV
แล้ว KIV จะกลายมาเป็น ดาวดวงใหม่ ที่สร้างรายได้ให้กับ KBank อย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง..
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง..
จริง ๆ แล้ว KIV เกิดขึ้น เพื่อจับกลุ่มลูกค้า Underserved
ซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่ ที่ไม่สามารถเป็นลูกค้าธนาคารได้ ทั้งในแง่ของการขอสินเชื่อไม่ได้ ไม่มีบัญชีธนาคาร หรือรายย่อยที่มีรายได้ไม่มั่นคง
ซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่ ที่ไม่สามารถเป็นลูกค้าธนาคารได้ ทั้งในแง่ของการขอสินเชื่อไม่ได้ ไม่มีบัญชีธนาคาร หรือรายย่อยที่มีรายได้ไม่มั่นคง
ทีนี้ เมื่อฐานลูกค้าไม่ใช่กลุ่มเดิม ๆ ที่ธนาคารคุ้นเคย
KIV จึงต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งหมดทั้ง Business Model, Mindset รวมทั้ง การมองหาพันธมิตรที่เข้าใจลูกค้ากลุ่มนี้จริง ๆ
KIV จึงต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งหมดทั้ง Business Model, Mindset รวมทั้ง การมองหาพันธมิตรที่เข้าใจลูกค้ากลุ่มนี้จริง ๆ
รู้หรือไม่ว่า ประเทศไทยมีตัวเลขกว่า 25 ล้านคน ที่ไม่มีฐานข้อมูลเครดิตบูโร
แถมข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทยยังพบว่า สินเชื่อธนาคาร เป็นกลุ่มบริการทางการเงินที่ยังมีคนเข้าไม่ถึงอีกกว่า 49.5%
แถมข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทยยังพบว่า สินเชื่อธนาคาร เป็นกลุ่มบริการทางการเงินที่ยังมีคนเข้าไม่ถึงอีกกว่า 49.5%
นั่นสะท้อนได้ว่า กลุ่มคนเหล่านี้คือ ฐานลูกค้าขนาดใหญ่มาก
แต่ความยากอยู่ตรงที่ แล้วจะปล่อยสินเชื่อให้กับคนที่มีข้อมูลทางการเงินน้อยได้อย่างไร..
แต่ความยากอยู่ตรงที่ แล้วจะปล่อยสินเชื่อให้กับคนที่มีข้อมูลทางการเงินน้อยได้อย่างไร..
จุดแรกคือ KIV เลือกกลุ่มลูกค้าหลัก ๆ อย่าง กลุ่มพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์, กลุ่มฟรีแลนซ์ หรือกลุ่มรายย่อยที่ต้องการเสริมสภาพคล่องในการสร้างรายได้
เพื่อที่ว่า เมื่อมีรายได้ที่มากขึ้น ก็จะมีกำลังในการจ่ายหนี้คืนได้
ซึ่งเป็นการลดต้นทุนความเสี่ยงจากการให้สินเชื่อ หรือ Credit Cost นั่นเอง
เพื่อที่ว่า เมื่อมีรายได้ที่มากขึ้น ก็จะมีกำลังในการจ่ายหนี้คืนได้
ซึ่งเป็นการลดต้นทุนความเสี่ยงจากการให้สินเชื่อ หรือ Credit Cost นั่นเอง
ยกตัวอย่างง่าย ๆ ก็เช่น
- กลุ่มขับรถค้าขาย แม้จะมีรายได้ไม่แน่นอน แต่รถยนต์คือสิ่งจำเป็นที่สร้างรายได้ให้เขา รถยนต์จึงเป็นหลักประกันที่ดีว่า เขาไม่มีเจตนาจะสร้างหนี้เสีย
- กลุ่มพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ โดยพิจารณาจากฐานข้อมูล Digital Footprint ในสมาร์ตโฟน สะท้อนพฤติกรรมทางการเงินของลูกค้า
- กลุ่มร้านค้าโชห่วย ที่ต้องการสต็อกสินค้า โดยใช้จ่ายผ่าน Wallet ได้เฉพาะร้านคู่ค้า เพื่อป้องกันการใช้จ่ายเงินผิดวัตถุประสงค์
นอกจากนี้ อีกหนึ่งจุดที่สำคัญของ KIV คือ การลดต้นทุนการดำเนินงาน หรือ Operating Cost
เดิมทีการขยายธุรกิจธนาคารแบบเดิม ๆ ถือว่ามีต้นทุนที่สูงมาก เพราะมีทั้งด้านสาขาและทรัพยากรบุคคล
ซึ่งแน่นอนว่า การขยายบนโลกดิจิทัล ช่วยทำให้ต้นทุนเหล่านี้ลดลงได้
แต่สิ่งที่ยากคือ การควบคุมฐานข้อมูลให้เป็นจริง ไม่ให้โดนหลอกด้วยหลักฐานปลอม ๆ จนกลายเป็นหนี้เสีย
แต่สิ่งที่ยากคือ การควบคุมฐานข้อมูลให้เป็นจริง ไม่ให้โดนหลอกด้วยหลักฐานปลอม ๆ จนกลายเป็นหนี้เสีย
จุดนี้เอง โชคดีที่ KIV มีโครงสร้างและทรัพยากรของ KBank ไว้อยู่แล้ว เช่น ฐานลูกค้ากว่า 20 ล้านราย, K PLUS, เงินทุน, ข้อมูลไอที และสาขาต่าง ๆ รวมทั้ง ความเชี่ยวชาญของพันธมิตรในแต่ละด้าน เช่น
- T2P ฟินเทคผู้พัฒนา e-Wallet รูปแบบ B2B2C ด้วยต้นทุนการบริหารจัดการที่แข่งขันได้
- JK ธุรกิจบริหารหนี้เสีย ที่จะเป็นหลังบ้านที่ดี ทำให้หน้าบ้านกล้าปล่อยสินเชื่อมากขึ้น
- JK ธุรกิจบริหารหนี้เสีย ที่จะเป็นหลังบ้านที่ดี ทำให้หน้าบ้านกล้าปล่อยสินเชื่อมากขึ้น
ทั้งหมดนี้ จึงช่วยให้ KIV สามารถเข้าใจลูกค้าที่หลากหลาย และพร้อมให้บริการทางการเงินอย่างครอบคลุม
ทีนี้ ลองมาดูกันว่า ภายใต้ KIV มูลค่าการลงทุนรวมกว่า 30,000 ล้านบาท มีธุรกิจอะไรกันบ้าง..
1. ประเภท Joint Venture
- KASIKORN LINE ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อรายย่อย เพื่อการประกอบอาชีพ KASIKORN LINE INSURANCE BROKER นายหน้าประกันผ่าน LINE
- JK บริหารหนี้เสียและติดตามหนี้
- Kapture One ระบบ CRM Solution Platform
- kbao ให้บริการสินเชื่อและบริการทางการเงินกลุ่มลูกค้าถูกดี และบริษัทในกลุ่มธุรกิจคาราบาว
- JK บริหารหนี้เสียและติดตามหนี้
- Kapture One ระบบ CRM Solution Platform
- kbao ให้บริการสินเชื่อและบริการทางการเงินกลุ่มลูกค้าถูกดี และบริษัทในกลุ่มธุรกิจคาราบาว
2. ประเภท ลงทุนในธุรกิจ
- เงินให้ใจ สินเชื่อรถยนต์
- JAM บริหารหนี้เสียและติดตามหนี้
- Grab แพลตฟอร์มเรียกใช้บริการตามต้องการ
- Buzzebees ระบบ CRM Solution และ M-commerce
- Thinkerfint ระบบช่วยตัดสินใจการอนุมัติสินเชื่ออัตโนมัติ
- TD Tawandang บริหารจัดการร้านค้าปลีก ภายใต้ชื่อร้านถูกดี มีมาตรฐาน
- JAM บริหารหนี้เสียและติดตามหนี้
- Grab แพลตฟอร์มเรียกใช้บริการตามต้องการ
- Buzzebees ระบบ CRM Solution และ M-commerce
- Thinkerfint ระบบช่วยตัดสินใจการอนุมัติสินเชื่ออัตโนมัติ
- TD Tawandang บริหารจัดการร้านค้าปลีก ภายใต้ชื่อร้านถูกดี มีมาตรฐาน
3. อยู่ระหว่างดำเนินการจัดโครงสร้าง
- Travel Ecosystem Platform บริการออนไลน์แพลตฟอร์ม
- KGP ให้บริการระบบรับชำระเงินดิจิทัล
- T2P Holdings บริการ e-Wallet และสินเชื่อผู้ประกอบการรายย่อย
- Car Hero ซื้อขายรถยนต์มือสอง
- KGP ให้บริการระบบรับชำระเงินดิจิทัล
- T2P Holdings บริการ e-Wallet และสินเชื่อผู้ประกอบการรายย่อย
- Car Hero ซื้อขายรถยนต์มือสอง
สุดท้ายแล้ว ภายใต้เป้าหมายของ KBank คือ การเพิ่มอำนาจให้ทุกชีวิตและธุรกิจของลูกค้า หรือ Empower Every Customer's Life and Business.
ก็น่าจะพูดได้ว่า KIV กำลังตอบโจทย์นี้ เพื่อกลุ่มรายย่อยที่ไม่เคยเข้าถึงธนาคารได้อย่างดี เลยทีเดียว..
ก็น่าจะพูดได้ว่า KIV กำลังตอบโจทย์นี้ เพื่อกลุ่มรายย่อยที่ไม่เคยเข้าถึงธนาคารได้อย่างดี เลยทีเดียว..
References
- งานเปิดตัวบริษัท กสิกร อินเวสเจอร์ จำกัด
- https://www.kasikornbank.com/th/news/pages/qrnews.aspx
- งานเปิดตัวบริษัท กสิกร อินเวสเจอร์ จำกัด
- https://www.kasikornbank.com/th/news/pages/qrnews.aspx