KBank ผลักดันลูกค้า เปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจสีเขียว สร้างโอกาสการแข่งขันอย่างยั่งยืน

KBank ผลักดันลูกค้า เปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจสีเขียว สร้างโอกาสการแข่งขันอย่างยั่งยืน

22 ธ.ค. 2023
KBank ผลักดันลูกค้า เปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจสีเขียว สร้างโอกาสการแข่งขันอย่างยั่งยืน
KBank x ลงทุนแมน
หากพูดถึงธนาคารกสิกรไทย หรือ KBank ถือเป็นองค์กรที่อยู่คู่กับเศรษฐกิจไทยมาอย่างยาวนาน
เรียกว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังในการร่วมกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยเป็นแหล่งสนับสนุนด้านเงินทุนทางธุรกิจ ให้กับลูกค้าในหลากหลายอุตสาหกรรม
รู้ไหมว่า มาในวันนี้ KBank กำลังต่อยอดความสำเร็จไปอีกขั้น..
โดยธนาคารดำเนินธุรกิจบนหลักการธนาคารแห่งความยั่งยืน (Bank of Sustainability)
ซึ่งในด้านสิ่งแวดล้อม ธนาคารประกาศเป้าหมาย Net Zero เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิ จากการดำเนินงานของธนาคาร (Scope 1 และ 2) เป็นศูนย์ ภายในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) หรืออีกเพียง 7 ปีต่อจากนี้เท่านั้น และตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิของลูกค้าในพอร์ตโฟลิโอของแบงก์ (Scope 3) เป็นศูนย์ ภายในปี พ.ศ. 2608
แล้วเรื่องนี้มีความคืบหน้ามากน้อยแค่ไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ที่ผ่านมา KBank สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างต่อเนื่อง
ซึ่งเป็นผลจากความตั้งใจ ในการปรับการดำเนินงานขององค์กร จากการปรับเปลี่ยนวัสดุอุปกรณ์ กระบวนการทำงาน และการส่งเสริมพฤติกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
อย่างเช่น ทยอยเปลี่ยนรถยนต์ของธนาคาร จากรถยนต์สันดาปเป็นรถยนต์ไฟฟ้า, ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่อาคารสำนักงานหลักของธนาคารครบทั้ง 7 แห่ง, การจัดกิจกรรมขนาดใหญ่ของธนาคารให้เป็นงานปลอดคาร์บอน (Carbon Neutral Event) เป็นต้น
นอกจากนี้ KBank ยังมีการพัฒนาบริการ Beyond Financial Solutions ที่เป็นมากกว่าบริการทางการเงิน เพื่อช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงไลฟ์สไตล์กรีนได้ง่ายยิ่งขึ้น
อย่างเช่น แอปพลิเคชันปันไฟ (Punfai) และโครงการ SolarPlus ที่ส่งเสริมให้คนไทยเข้าถึงการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ รวมถึง WATT’S UP แพลตฟอร์มเช่า EV Bike อย่างครบวงจร เพื่อส่งเสริมให้คนไทยเข้าถึง EV Bike ได้ง่ายขึ้น
แน่นอนว่า การมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ของทาง KBank ยังได้ถูกส่งต่อไปถึงลูกค้าของธนาคาร
กลายเป็นอีกหนึ่งแรงที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถคว้าโอกาสทางธุรกิจ ในการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำในครั้งนี้ อีกด้วย
ซึ่งทาง KBank ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิในพอร์ตโฟลิโอของแบงก์ (Scope 3) เป็นศูนย์ ภายในปี พ.ศ. 2608 สอดคล้องตามเป้าหมายของประเทศไทย
โดยธนาคารสนับสนุน Green Finance อย่างต่อเนื่อง ด้วยสินเชื่อต่าง ๆ เช่น บ้าน รถ และธุรกิจ, Bond และ Sustainable Investment โดยตั้งเป้าสนับสนุน Sustainable Finance 1-2 แสนล้านบาท ภายในปี พ.ศ. 2573
ซึ่ง 2 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2565-2566) มีการปล่อยไปแล้วประมาณ 53,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังช่วยลูกค้าที่ยังไม่กรีน แต่ต้องการเปลี่ยนผ่านธุรกิจไปสู่กรีน ด้วยการสนับสนุนสินเชื่อที่เกี่ยวกับ Transition เช่น Sustainability Linked-Loan / Bond เป็นต้น
มากกว่านั้น ทาง KBank ยังให้ความรู้กับลูกค้าในด้าน Decarbonization โดยล่าสุด ธนาคารจัดงานสัมมนา Decarbonize Now ขึ้น ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญจาก บริษัท เดอะ ครีเอจี้ จำกัด ที่เชี่ยวชาญด้านการลดก๊าซเรือนกระจก มาให้ความรู้เชิงลึกเจาะรายอุตสาหกรรม เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับลูกค้าธุรกิจ 4 กลุ่มอุตสาหกรรม
ได้แก่ ธุรกิจผลิตไฟฟ้า ธุรกิจขนส่ง ธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มธุรกิจส่งออก
ซึ่งถือเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมอันดับต้น ๆ ที่มีความเสี่ยงจากมาตรการ CBAM จากการดำเนินงานแบบเดิม
ซึ่งมาตรการ CBAM ได้เริ่มมีการนำมาใช้แล้ว โดยจะเป็นกลุ่มธุรกิจที่ถูกระบุใน Thailand Taxonomy และมาตรการอื่น ๆ ที่จะตามมาในอนาคต ที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ต้องปรับตัวลดก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินงานให้ได้ เพื่อชิงความได้เปรียบให้ธุรกิจ
เนื่องจากการปรับกระบวนการทำธุรกิจต้องใช้เวลา ดังนั้นใครปรับก่อนย่อมได้เปรียบกว่า
ลงทุนแมนขอยกตัวอย่างเนื้อหาในงานสัมมนาที่น่าสนใจอย่าง 8 Steps for Decarbonization หรือ 8 ขั้นตอน สำหรับธุรกิจ ในการลดคาร์บอนเป็นศูนย์
โดย 8 ขั้นตอนที่ว่านี้คือ
1. วัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยธุรกิจควรทราบแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในทุกกิจกรรมการดำเนินงาน เพื่อประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของธุรกิจ
2. กำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อนำไปใช้วางแผนกลยุทธ์ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ให้สอดคล้องกับ Ecosystem ของธุรกิจ
3. ประเมินความเสี่ยงของธุรกิจ ซึ่งอาจเกิดจากโลกร้อน ทั้งอันตรายและความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน (Physical Risk) และความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง ในแง่นโยบาย กฎเกณฑ์ รวมถึงเทคโนโลยี (Transition Risk) รวมทั้งหาโอกาสให้กับธุรกิจ จากการปรับต้นทุนพลังงานให้น้อยลง การมีผลิตภัณฑ์รักษ์โลกใหม่ ๆ รวมทั้งเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการลดคาร์บอน
4. กำหนดเป้าหมายที่วัดได้ เช่น ตั้งเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจกต่อปี วางแผนการลงทุน และวิธีในการติดตามผลลัพธ์
5. วางแผนกลยุทธ์ เพื่อให้บรรลุแผนการดำเนินการลดคาร์บอนได้จริง
6. เตรียมความพร้อมให้องค์กร เช่น สร้างความรู้ให้กับคนในองค์กร เนื่องจากคือตัวแปรสำคัญที่จะทำให้สำเร็จตามเป้าหมาย รวมถึงสร้างการมีส่วนร่วมกับทาง Supplier และสร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นในอุตสาหกรรม
7. ลงมือทำและวัดผลที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งการลงมือให้สำเร็จต้องอาศัยความร่วมมือจากคนในองค์กร
8. การเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส สอดคล้องกับมาตรฐานการรายงานของโลก รวมทั้งสอดคล้องกับความคาดหวังของผู้ที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งหลังจบสัมมนาไปแล้ว ลูกค้าจะมีทั้งองค์ความรู้และเครื่องมือที่สามารถนำไปกำหนดแผนงานของบริษัท เพื่อวางแผน Decarbonize ให้บริษัทของตัวเอง และสามารถคำนวณการปล่อยคาร์บอนได้
ถึงตรงนี้จะเห็นว่า ความคืบหน้าทั้งหมดของ KBank มีเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม ที่เป็นแบบแผนและมีแนวทางที่ชัดเจน
ซึ่งเป้าหมาย Net Zero ของ KBank ก็น่าจะเป็นอีกแรงกระเพื่อมที่สำคัญ ให้ธุรกิจในอุตสาหกรรมการเงิน รวมถึงธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ในประเทศไทย หันมาตระหนักและเตรียมพร้อม สำหรับเมกะเทรนด์ด้านสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนของโลกต่อไปในอนาคต..
Reference
-เอกสารเปิดเผยของธนาคารกสิกรไทย
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.