สโมสรฟุตบอล ลงทุนซื้อ นักเตะหมื่นล้าน แต่ยังได้กำไรทุกปี

สโมสรฟุตบอล ลงทุนซื้อ นักเตะหมื่นล้าน แต่ยังได้กำไรทุกปี

28 ธ.ค. 2023
สโมสรฟุตบอล ลงทุนซื้อ นักเตะหมื่นล้าน แต่ยังได้กำไรทุกปี /โดย ลงทุนแมน
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา รู้ไหมว่าสโมสรฟุตบอลชื่อดังอย่าง แมนเชสเตอร์ซิตี ซื้อนักเตะไปกว่า 11,209 ล้านบาท และขายนักเตะไป 9,755 ล้านบาท
หรือเท่ากับว่า ขาดทุนจากการซื้อขายนักเตะไป 1,454 ล้านบาท
แต่ถ้าเราไปดูผลประกอบการช่วงเดียวกัน
(รอบงบการเงิน ของบริษัท เริ่มเดือน ก.ค. ถึง มิ.ย.)
- ปี 2022
รายได้ 27,204 ล้านบาท
กำไร 1,851 ล้านบาท
- ปี 2023
รายได้ 31,524 ล้านบาท
กำไร 3,558 ล้านบาท
จะเห็นได้ว่า แมนเชสเตอร์ซิตี กลับยังมีกำไรระดับพันล้านบาท..
แล้วเรื่องนี้ เป็นเพราะอะไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
เรามาเริ่มกันที่ฝั่งของรายได้ ปกติแล้ว
สโมสรฟุตบอลจะได้เงินจาก 3 ทางด้วยกัน
- ค่าบัตรเข้าชม
- ส่วนแบ่งลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด
- สปอนเซอร์และของที่ระลึก
ส่วนรายจ่ายของสโมสรฟุตบอล ก็จะมีตั้งแต่ ค่าจ้างนักฟุตบอล โค้ช เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ รวมไปถึงค่าอาหาร ค่าที่พัก และ การจัดการทั่วไป
ซึ่งธรรมชาติของธุรกิจนี้ ต้องมีการซื้อและขายนักฟุตบอลเป็นประจำทุกปี
เพราะนักฟุตบอลเปรียบเสมือนเครื่องจักรชิ้นสำคัญ ในการสร้างรายได้ให้กับธุรกิจสโมสรฟุตบอล
ไม่ว่าจะเป็น จากความสามารถของนักเตะ ที่จะทำให้ทีม มีโอกาสชนะการแข่งขันมากขึ้น หรือจากฐานแฟนคลับของนักเตะที่ตามมา ซึ่งจะสร้างรายได้อื่น ๆ เช่น เสื้อแข่ง
ดังนั้น ทางสโมสรจึงจำเป็นต้องลงทุน กับ เครื่องจักรชิ้นนี้มากเป็นพิเศษ
ยกตัวอย่างเช่น สโมสรแมนเชสเตอร์ซิตี ปีที่ผ่านมา ลงทุนซื้อนักเตะไปมากถึง 5,916 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 5 ของรายได้เลยทีเดียว
ซึ่งก็ต้องบอกว่าการลงทุนซื้อนักเตะเป็นพันล้าน จะไม่ได้ถูกนับเป็นค่าใช้จ่ายก้อนเดียว แต่จะถูกตัดค่าเสื่อมออกตามอายุสัญญา
ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น
-ถ้าสโมสรฟุตบอล A มีรายได้ 200 ล้านบาท
-ซื้อนักฟุตบอลมา 100 ล้านบาท ด้วยสัญญา 5 ปี
นักฟุตบอลคนนี้ จะมีค่าเสื่อม 20 ล้านบาท ต่อปี เมื่อหักลบกับรายได้ ที่ยังไม่รวมต้นทุน และ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เลย เท่ากับว่า สโมสรจะมีกำไร 180 ล้านบาท ต่อปี
ลองมาคิดต่อกัน ถ้านักฟุตบอลคนเดิม เซ็นสัญญากับสโมสร 8 ปี ค่าเสื่อมต่อปีจะเหลือเพียง 12.5 ล้านบาท ทำให้กำไรต่อปีเพิ่มเป็น 187.5 ล้านบาท
เพียงเท่านี้ ก็ทำให้สโมสรมีกำไรที่เพิ่มขึ้นได้ หากเซ็นสัญญานักฟุตบอล เป็นระยะเวลานาน ๆ
ในช่วงที่ผ่านมา วิธีนี้ก็ได้ถูกหลาย ๆ สโมสรนำมาใช้ ยกตัวอย่างเช่น สโมสรฟุตบอลเชลซี ที่เซ็นสัญญานักเตะ 8 ปี
แต่ล่าสุดทาง UEFA ออกมาปรับเกณฑ์ทางบัญชี ให้หักค่าเสื่อมนักฟุตบอล ได้ไม่เกิน 5 ปี แม้ว่าสัญญาจะยาวมากกว่านั้นก็ตาม
อ่านมาถึงตรงนี้ คงพอเห็นภาพแล้วว่า ทำไมสโมสรฟุตบอลระดับโลก ถึงต้องลงทุนซื้อนักเตะเป็นเงินหลักหมื่นล้านบาท
และแม้จะลงทุนด้วยเงินจำนวนมาก แต่ก็ยังสามารถใช้วิธีตัดค่าเสื่อมของนักเตะ จนมีกำไรทุกปีได้อยู่
แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า กำไรเป็นแค่ตัวเลขหนึ่งเท่านั้น เพราะหากสโมสรกู้ยืมมาซื้อนักเตะเข้าสโมสร แต่ภายหลังกลับจ่ายหนี้เพื่อซื้อนักเตะไม่ได้ สุดท้ายก็จะเกิดปัญหา หมุนเงินไม่ทันแทน..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
ในฤดูกาลที่ผ่านมา สโมสรฟุตบอลที่มีการลงทุนซื้อนักเตะมากที่สุดในพรีเมียร์ลีก คือ เชลซี
โดยนักเตะที่ซื้อมาทั้งหมด คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 23,320 ล้านบาท เลยทีเดียว..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.mancity.com/annualreport2023/wp-content/uploads/2023/11/manchester-city_financial-report_2022-23
-https://www.capology.com/club/chelsea/finances/
-https://www.footballfinance.de/en/fcchelsea
-https://www.mancity.com/annualreport2023/business-performance/
-https://www.transfermarkt.com/manchester-city/alletransfers/verein/281
-https://www.transfermarkt.com/fc-chelsea/alletransfers/verein/631
-https://sqaf.club/premier-league-ffp-table/
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.