สุกี้ตี๋น้อย: ทำไมการ SCALE ถึงสำคัญ คุณเฟิร์น เริ่มทำ สุกี้ตี๋น้อย เพราะที่บ้านทำสวนอาหารไทย ที่สเกลต่อได้ยากมาก

สุกี้ตี๋น้อย: ทำไมการ SCALE ถึงสำคัญ คุณเฟิร์น เริ่มทำ สุกี้ตี๋น้อย เพราะที่บ้านทำสวนอาหารไทย ที่สเกลต่อได้ยากมาก

14 ก.พ. 2024
สุกี้ตี๋น้อย: ทำไมการ SCALE ถึงสำคัญ
คุณเฟิร์น เริ่มทำ สุกี้ตี๋น้อย เพราะที่บ้านทำสวนอาหารไทย ที่สเกลต่อได้ยากมาก
- เจ้าของร้านสุกี้ตี๋น้อย ไม่ได้เป็นอาตี๋ แต่เป็นอาหมวย เธอชื่อว่า คุณเฟิร์น-นัทธมน พิศาลกิจวนิช
โดยคุณเฟิร์นเริ่มทำ “สุกี้ตี๋น้อย” เมื่อ 6 ปีที่แล้ว ในปี 2560 ซึ่งในตอนนั้น เธออายุ 25 ปี
- แบ็กกราวน์ของคุณเฟิร์นคือ ที่บ้านเคยทำธุรกิจสวนอาหารไทย ชื่อว่า เรือนปั้นหยา
โดยลักษณะของเรือนปั้นหยา เป็นการทำอาหารและเสิร์ฟจานต่อจาน
ทำให้การควบคุมมาตรฐานให้มีคุณภาพเท่า ๆ กัน ทุกวันเป็นเรื่องที่ยากมาก
และทำให้ในแง่ของการสเกล หรือขยายสาขาเพื่อการเติบโต มันก็ยิ่งยากขึ้นไปอีกเป็นทวีคูณ
- จาก Pain Point ของธุรกิจครอบครัวที่ว่านี้ คุณเฟิร์นในวัย 25 ปี เอาปัญหานั้นมาตั้งต้นเป็นไอเดียธุรกิจใหม่ โดยคิดเป็นโมเดลร้านใหม่ คือการขาย “สุกี้บุฟเฟต์”
ด้วยเหตุผลที่ว่าร้านสุกี้ สามารถตั้งครัวกลางขึ้นมาเพื่อควบคุมมาตรฐานวัตถุดิบได้จากที่เดียว แล้วค่อยกระจายวัตถุดิบไปยังที่ต่าง ๆ
.. และนั่นคือจุดเริ่มต้นของ “สุกี้ตี๋น้อย”
-กลยุทธ์สำคัญ ๆ ของ สุกี้ตี๋น้อย มีอยู่ 3 ข้อ
1. ราคาคุ้มค่า เข้าถึงง่าย ครบจบที่ 279 บาท และมีลิสต์วัตถุดิบให้เลือกเยอะ ซึ่งราคาแบบนี้ ดึงให้คนมาต่อคิวรอหน้าร้านตลอด ตั้งแต่เปิดร้านจนปิดร้าน
2. ช่วงเวลาเปิดที่จับลูกค้าได้กว้างมาก คือเปิดตั้งแต่ 11 โมง จนถึง ตี 5
3. เลือกทำเลทอง ในการเปิดสาขา
โดยสุกี้ตี๋น้อยมีวิธีเลือกทำเลสำคัญ ๆ 3 ข้อคือ 1).มีที่จอดรถเยอะ 2).ถ้าเปิดในศูนย์การค้า ร้านต้องมีมุมให้มองเห็นได้จากด้านนอก 3).เลือกทำเลใกล้กลุ่มลูกค้า หมู่บ้าน แหล่งชุมชน หรือมหาวิทยาลัย
ยังมีกลยุทธ์เรื่องการบริหารคนและองค์กรในแบบคุณเฟิร์น ที่ไม่เคยพูดที่ไหน ซึ่งคุณเฟิร์นจะเป็น Speaker เล่าให้ฟังใน Session ที่ 2 ของงาน The Entrepreneur Forum 2024 (ซื้อบัตรงานนี้ได้ที่ https://www.zipeventapp.com/e/The-Entrepreneur-Forum-2024 )
-สุกี้ตี๋น้อย ช่วงที่ผ่านมาเติบโตแบบติดจรวจ ทั้งมุมรายได้และกำไร
ปี 2562 รายได้ 499 ล้านบาท กำไร 15 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 1,223 ล้านบาท กำไร 140 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 1,572 ล้านบาท กำไร 148 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 3,976 ล้านบาท กำไร 591 ล้านบาท
และเพิ่งทำกำไร 913 ล้านบาท ในปี 2566 ที่ผ่านมา (อ้างอิงจากส่วนแบ่งกำไรที่ JMART ได้รับจากการถือหุ้นสัดส่วน 30% ใน บริษัท บี เอ็น เอ็น เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด เจ้าของ สุกี้ตี๋น้อย)
ซึ่งนี่คือเป็นแค่เรื่องราวส่วนน้ำจิ้มของเจ้าของ สุกี้ตี๋น้อย
ใครอยากรู้เรื่องราวที่อินไซต์กว่านี้
ว่าคุณเฟิร์น-นัทธมน พิศาลกิจวนิช สร้างสุกี้ตี๋น้อยขึ้นมาเป็นวันนี้ได้อย่างไร
มาพบคุณเฟิร์นกันได้ที่งาน The Entrepreneur Forum 2024 <https://www.zipeventapp.com/e/The-Entrepreneur-Forum-2024>; (มีจำนวนจำกัด ไม่เปิดรอบเพิ่ม)
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.