จับประเด็นสำคัญ "TRUMPONOMY" จุดเปลี่ยนเกม การเมือง-การเงินโลก
K-WEALTH X ลงทุนแมน
หลังการเลือกตั้งสหรัฐฯ สิ้นสุดลง ด้วยชัยชนะของดอนัลด์ ทรัมป์
คำถามคือ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะไปในทิศทางไหน และเศรษฐกิจโลกจะเป็นอย่างไรต่อไป ในยุค "TRUMPONOMY"
คำถามคือ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะไปในทิศทางไหน และเศรษฐกิจโลกจะเป็นอย่างไรต่อไป ในยุค "TRUMPONOMY"
มาสำรวจ 2 มุมมอง ทั้งในมุมของนักวิเคราะห์อย่าง คุณสรพล วีระเมธีกุล Assistant Managing Director Kasikorn Securities PCL
และมุมของนักลงทุนอย่างคุณธณัฐ เตชะเลิศ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ บริษัท แอลทีเอ็มเอช จำกัด (มหาชน)
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง
และมุมของนักลงทุนอย่างคุณธณัฐ เตชะเลิศ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ บริษัท แอลทีเอ็มเอช จำกัด (มหาชน)
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง
คุณสรพล วีระเมธีกุล ฉายภาพถึงนโยบายสำคัญของดอนัลด์ ทรัมป์ ที่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางของตลาดหุ้นสหรัฐฯ และเศรษฐกิจโลกไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้
- ประเด็นนโยบายเกี่ยวกับการลดภาษีเงินได้นิติบุคคล
เชื่อว่าเป็นนโยบายแรก ๆ ที่ดอนัลด์ ทรัมป์จะทำ เพราะเป็นนโยบายที่สามารถทำได้ง่าย
นโยบายนี้จะเป็นประโยชน์ต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ (S&P) แต่ก็ไม่ใช่หุ้นทุกตัวที่จะได้ประโยชน์
เพราะบางบริษัทแม้จะมีกำไรมากขึ้นจากภาษีที่ลดลง แต่รายได้ก็อาจลดลงได้เช่นกัน
ถ้าบริษัทนั้นมีรายได้จากการขายหรือโฆษณาสินค้าของจีนในสหรัฐฯ อาจจะโดนผลกระทบจากนโยบายการขึ้นภาษีสินค้าจีน
เพราะบางบริษัทแม้จะมีกำไรมากขึ้นจากภาษีที่ลดลง แต่รายได้ก็อาจลดลงได้เช่นกัน
ถ้าบริษัทนั้นมีรายได้จากการขายหรือโฆษณาสินค้าของจีนในสหรัฐฯ อาจจะโดนผลกระทบจากนโยบายการขึ้นภาษีสินค้าจีน
ส่วนผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก นโยบายนี้จะทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ สามารถเก็บภาษีได้ลดลง ทำให้ต้องหารายได้จากทางอื่น หรือต้องลดรายจ่ายต่าง ๆ ลง เพื่อรักษาระดับหนี้สินต่อ GDP
ตัวอย่างหนึ่งในวิธีลดรายจ่ายที่สหรัฐฯ สามารถทำได้คือ การลดการสนับสนุนทางทหารในยูเครน
ซึ่งถ้าทำจริง อาจทำให้เศรษฐกิจยุโรปได้รับผลกระทบตามไปด้วย
ซึ่งถ้าทำจริง อาจทำให้เศรษฐกิจยุโรปได้รับผลกระทบตามไปด้วย
- ประเด็นนโยบายเกี่ยวกับผู้อพยพ
นโยบายของดอนัลด์ ทรัมป์ ที่จะสกัดกั้น ไม่ให้แรงงานจากต่างประเทศเข้าไปทำงานในสหรัฐฯ หากทำได้จริง ผลกระทบที่ตามมาคือจะทำให้จำนวนแรงงานในสหรัฐฯ ลดลง ทำให้ค่าแรงเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นตามมา
การลดดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ก็อาจไม่เป็นอย่างที่หลายฝ่ายเคยคาดไว้
อาจจะลดลงจาก 6 ครั้งเหลือเพียง 4 ครั้ง ในช่วง 24 เดือนข้างหน้า ซึ่งไม่เอื้อต่อตลาดหุ้นเท่าไร
อาจจะลดลงจาก 6 ครั้งเหลือเพียง 4 ครั้ง ในช่วง 24 เดือนข้างหน้า ซึ่งไม่เอื้อต่อตลาดหุ้นเท่าไร
ถ้ามองอีกมุมหนึ่ง นโยบายนี้อาจมีผลต่อภาคการบริโภค เพราะเมื่อผู้อพยพลดลง ก็อาจทำให้การบริโภคลดลง ดังนั้นเงินเฟ้อก็อาจไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก
- ประเด็นนโยบายกำแพงภาษีสินค้าจากจีน
เชื่อว่าไม่มีทางที่สหรัฐฯ จะขึ้นภาษีสูงถึง 60% กับทุกสินค้าจากจีน เพราะจีนเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญของโลก ทำให้ไม่มีทางเลือกอื่นที่มากนัก
นโยบายนี้จะส่งผลให้จีนหันมาโฟกัสการเติบโตทางเศรษฐกิจภายในประเทศ (Domestic) มากขึ้น เพื่อชดเชยกับการส่งออกที่ลดลง และเพื่อให้เศรษฐกิจสามารถโตได้ 5% ตามเป้าหมายที่วางไว้
นอกจากนี้ จีนก็ยังมีกระสุนเหลืออีกเยอะที่จะใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น การลดดอกเบี้ย ทำให้หุ้นที่พึ่งพาการบริโภคภายในประเทศได้ประโยชน์
หากนักลงทุนกังวลผลกระทบต่อนโยบายของทรัมป์ที่มีต่อจีน คุณสรพลชวนมองมุม Contrarian Play (กลยุทธ์การลงทุนในทิศทางตรงกันข้ามกับกระแสของตลาด) และแนะนำการลงทุนหุ้นจีน A-Share มากกว่า H-Share รวมถึงชวนโฟกัสธุรกิจที่ได้รับประโยชน์จากภาค Domestic เพราะเชื่อว่าจีนมีมาตรการรับมือ
คำแนะนำทิ้งท้ายสำหรับนักลงทุนคือ หุ้นจีนควรเลือกตามนโยบายภาครัฐ ส่วนหุ้นสหรัฐอเมริกาควรเลือกตามความเก่งของธุรกิจ
คำแนะนำทิ้งท้ายสำหรับนักลงทุนคือ หุ้นจีนควรเลือกตามนโยบายภาครัฐ ส่วนหุ้นสหรัฐอเมริกาควรเลือกตามความเก่งของธุรกิจ
ทีนี้ลองมาจับประเด็นสำคัญของนักลงทุน คุณธณัฐ เตชะเลิศ ผ่านมุมมองการลงทุนที่น่าสนใจ ดังนี้
- อีก 10 ปีข้างหน้า สหรัฐอเมริกาและจีน ยังเป็นยักษ์ใหญ่ของโลกในแบบของตัวเอง
ดังนั้น โลกจะแบ่งเป็น 2 สาย และมีโอกาสที่อีกสายจะแยกไปอีกรูปแบบหนึ่งเลย เช่น รถยนต์ EV ที่วันนี้จีน เป็นผู้นำของสายนี้ไปเรียบร้อยแล้ว
ดังนั้น โลกจะแบ่งเป็น 2 สาย และมีโอกาสที่อีกสายจะแยกไปอีกรูปแบบหนึ่งเลย เช่น รถยนต์ EV ที่วันนี้จีน เป็นผู้นำของสายนี้ไปเรียบร้อยแล้ว
- ช่วงเวลาต่อจากนี้ อาจจะเกิดความผันผวนขึ้นได้ ดังนั้น การถือเงินสดหรือพันธบัตรระยะสั้น ก็ไม่ใช่สิ่งที่แย่ และควรทำการบ้านเตรียมไว้ด้วย เพื่อรอโอกาสในการเข้าซื้อที่เหมาะสม
- กลยุทธ์ในการเลือกลงทุน ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้ชีวิตของแต่ละคน
เช่น ถ้าไม่ค่อยมีเวลา หรือต้องทำงานประจำ การลงทุนก็อาจจะต้องมองระยะยาว และเน้นลงทุนแบบกระจายในหุ้นหลายตัว เช่น พอร์ตกระจายหุ้น 10 ตัว หรือกระจายลงทุนใน S&P 500
เพราะการลงทุนแค่ตัวเดียว มีโอกาสเสียหายหนักได้ ถ้าไม่มีเวลาติดตามมากพอ
เช่น ถ้าไม่ค่อยมีเวลา หรือต้องทำงานประจำ การลงทุนก็อาจจะต้องมองระยะยาว และเน้นลงทุนแบบกระจายในหุ้นหลายตัว เช่น พอร์ตกระจายหุ้น 10 ตัว หรือกระจายลงทุนใน S&P 500
เพราะการลงทุนแค่ตัวเดียว มีโอกาสเสียหายหนักได้ ถ้าไม่มีเวลาติดตามมากพอ
- การลงทุนไม่ต้องเล่นท่ายาก แค่ต้องรู้จักตัวเอง และกระจายการลงทุนในธุรกิจที่มีโอกาสเป็นผู้ชนะ
- มองว่า หลายบริษัทสหรัฐฯ คือ ผู้ที่ชนะไปทั่วโลก ถ้าเป็นบริษัทที่ผลิตสินค้าและให้บริการที่คนทั้งโลกจำเป็นต้องใช้
สังเกตจากตนเอง ถ้ายังใช้สินค้าหรือบริการนั้นตลอดเวลา มองไม่เห็นภาพว่าตัวเองจะเปลี่ยนไปใช้อย่างอื่น หรือจ่ายเงินน้อยลงให้กับสินค้าหรือบริการนั้น ๆ บริษัทนั้นคือผู้ชนะที่เราควรเข้าลงทุน
สังเกตจากตนเอง ถ้ายังใช้สินค้าหรือบริการนั้นตลอดเวลา มองไม่เห็นภาพว่าตัวเองจะเปลี่ยนไปใช้อย่างอื่น หรือจ่ายเงินน้อยลงให้กับสินค้าหรือบริการนั้น ๆ บริษัทนั้นคือผู้ชนะที่เราควรเข้าลงทุน
- การลงทุนในบริษัทที่คนทั้งโลกใช้ เป็นตัวอย่างการลงทุนที่เล่นท่าง่าย
และมีโอกาสทำให้เงินของเราชนะเงินเฟ้อ เพราะต่อให้เงินเฟ้อ สินค้านั้นก็ยังขึ้นราคาได้ หรือมีรายได้และกำไร ที่ยังเติบโตชนะเงินเฟ้อได้
และมีโอกาสทำให้เงินของเราชนะเงินเฟ้อ เพราะต่อให้เงินเฟ้อ สินค้านั้นก็ยังขึ้นราคาได้ หรือมีรายได้และกำไร ที่ยังเติบโตชนะเงินเฟ้อได้
- การวางเงินให้อยู่ในจุดที่ปลอดภัยและเอาชนะเงินเฟ้อ คือ แก่นของการลงทุน และเป็นเคล็ดลับสำคัญในการลงทุน
ทั้งหมดนี้คือประเด็นที่น่าสนใจผ่าน 2 มุมมองจากนักวิเคราะห์ และนักลงทุน
เชื่อว่าน่าจะช่วยให้นักลงทุนไทยเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นว่า เศรษฐกิจโลกในยุค "TRUMPONOMY" จะเป็นอย่างไรต่อไป..
เชื่อว่าน่าจะช่วยให้นักลงทุนไทยเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นว่า เศรษฐกิจโลกในยุค "TRUMPONOMY" จะเป็นอย่างไรต่อไป..
สามารถรับชมรายการ TALK ลงทุนแมน The Global Game Changer: "TRUMPONOMY" จุดเปลี่ยนเกม การเมือง-การเงินโลก ได้ที่ลิงก์ https://www.youtube.com/watch?v=xELXKDTe2qw