
“Market PE Cycle” วิธีมองวัฏจักรตลาดหุ้นถูก-แพง เพื่อบริหารความเสี่ยง
“Market PE Cycle” วิธีมองวัฏจักรตลาดหุ้นถูก-แพง เพื่อบริหารความเสี่ยง
-โดย คุณบาส ศุภอรรถ ตปนียากร” ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนหุ้นโลก
คงปฏิเสธไม่ได้ว่านโยบายภาษีของทรัมป์ สร้างความไม่แน่นอนทางการค้า จนตลาดหุ้นทั่วโลกเกิดความผันผวนอย่างหนัก และปีนี้ปรับตัวลงแรง
-โดย คุณบาส ศุภอรรถ ตปนียากร” ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนหุ้นโลก
คงปฏิเสธไม่ได้ว่านโยบายภาษีของทรัมป์ สร้างความไม่แน่นอนทางการค้า จนตลาดหุ้นทั่วโลกเกิดความผันผวนอย่างหนัก และปีนี้ปรับตัวลงแรง
ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐ S&P 500 ปรับตัวลดลงจากระดับ 5,865 จุดเมื่อต้นปี
ลงไปแตะระดับต่ำสุดที่ 4,982 จุดในเดือนเมษายน
คิดเป็นการลดลงประมาณ -15.06%
โดยที่ปัจจุบันยังคงผันผวน และเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน
ลงไปแตะระดับต่ำสุดที่ 4,982 จุดในเดือนเมษายน
คิดเป็นการลดลงประมาณ -15.06%
โดยที่ปัจจุบันยังคงผันผวน และเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน
ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา “การบริหารความเสี่ยง” จึงไม่ใช่เพียงกลยุทธ์ป้องกันการขาดทุน แต่เป็นกุญแจสำคัญในการสร้างโอกาสท่ามกลางความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น
วันนี้ เราลองมาดูแนวคิดการบริหารความเสี่ยงจากคุณ บาส ศุภอรรถ ตปนียากร ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนหุ้นโลก จากงาน Beat The Market กับหัวข้อ “Mastering the Risk Management”
คุณบาสได้แชร์กรณีศึกษาจากประสบการณ์จริงของตัวเอง โดยยกตัวอย่างการบริหารพอร์ตล่าสุด ที่เขาตัดสินใจขายหุ้นสหรัฐฯ ออกไป และถือเงินสดมากกว่า 50% ของพอร์ตตั้งแต่ช่วงต้นปี ก่อนที่ตลาดหุ้นจะเริ่มปรับตัวลดลง
คำถามคือ อะไรคือเบื้องหลังการตัดสินใจการปรับกลยุทธ์การลงทุน ?
คุณบาสเล่าว่า หนึ่งในปัจจัยสำคัญ ที่เขาใช้ดูคือ “Market PE Cycle ”
โดย Market PE Cycle คือวัฏจักรของอัตราส่วนระหว่างมูลค่าบริษัท เทียบกับกำไรทั้งหมดของตลาด ซึ่งมีความสัมพันธ์กับวัฏจักรเศรษฐกิจ ที่มักจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางต่าง ๆ ตามช่วงเวลา เช่น ช่วงเศรษฐกิจขาขึ้น (Expansion) และช่วงเศรษฐกิจขาลง (Recession)
แล้วทำไม PE Ratio ของตลาดในแต่ละช่วงเวลา ถึงสำคัญ ?
นั่นก็เพราะว่าการมองวัฏจักร PE Ratio ของตลาดในระยะยาว จะช่วยให้เราเห็นภาพใหญ่ของความถูก แพงของตลาดได้ดียิ่งขึ้น
ซึ่งถ้าเราลองดู Market PE Cycle ในช่วงที่ผ่านของดัชนี S&P 500 ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา จะพบว่า
- ช่วงปี 2000 วิกฤติ Dot-Com
ดัชนี S&P 500 วิ่งขึ้นไปถึง PE 25 เท่า
หลังจากนั้นก็ค่อย ๆ ซึมลงมาจนเหลือ PE 15 เท่า
ดัชนี S&P 500 วิ่งขึ้นไปถึง PE 25 เท่า
หลังจากนั้นก็ค่อย ๆ ซึมลงมาจนเหลือ PE 15 เท่า
- ช่วงปี 2008 วิกฤติ Hamburger
ดัชนี S&P 500 ลงจาก PE 15 เท่า เหลือ PE 10 เท่า ในเวลา 1 ปี
ดัชนี S&P 500 ลงจาก PE 15 เท่า เหลือ PE 10 เท่า ในเวลา 1 ปี
- ช่วงปี 2009-2020 ที่เกิด Fed Bull Run
การลดดอกเบี้ยนโยบาย รวมทั้งการกระหน่ำอัดเงินเข้าระบบของ FED ทำให้ PE ของดัชนี S&P 500 พุ่งขึ้นไปถึง PE 20 เท่า
การลดดอกเบี้ยนโยบาย รวมทั้งการกระหน่ำอัดเงินเข้าระบบของ FED ทำให้ PE ของดัชนี S&P 500 พุ่งขึ้นไปถึง PE 20 เท่า
- ช่วงปี 2020 วิกฤติล็อกดาวน์
ดัชนี S&P 500 ลงมาเหลือ PE 13 เท่า และวิ่งกลับขึ้นไป 21 เท่า
ดัชนี S&P 500 ลงมาเหลือ PE 13 เท่า และวิ่งกลับขึ้นไป 21 เท่า
- ช่วงปี 2022 จนถึงปัจจุบัน
ดัชนี S&P 500 กลับขึ้นไปที่ PE 25 เท่า
ก่อนลงจงมาที่ระดับ PE 20-21 เท่าในปัจจุบัน
ดัชนี S&P 500 กลับขึ้นไปที่ PE 25 เท่า
ก่อนลงจงมาที่ระดับ PE 20-21 เท่าในปัจจุบัน
พอต้นปีนี้ คุณบาสแล้วเห็นว่า PE สหรัฐเริ่มแพง อยู่ในกรอบบน ๆ เมื่อเทียบกับในอดีต บวกกับคาดว่าจะเศรษฐกิจโลกจะตกต่ำในอนาคต คุณบาสจึงตัดสินใจขายหุ้นสหรัฐส่วนใหญ่และถือเงินสดไว้ กว่า 50% ของพอร์ต
รวมถึงนำเครื่องมือบริหารความเสี่ยงอื่น ๆ มาใช้ เช่น
-การใช้หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงหรือ Structured Products ที่เป็นเครื่องมือการลงทุนประเภทหนึ่ง ซึ่งให้ผลตอบแทนหรือมูลค่าที่เชื่อมโยงกับหลักทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset)
-การใช้ Options หรือสัญญาทางการเงิน ที่ให้สิทธิ์แก่ผู้ซื้อในการซื้อหรือขายสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) เช่น หุ้น หรือสกุลเงิน ในราคาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า (Strike Price) ภายในระยะเวลาที่กำหนด
ไม่กี่เดือนต่อมา สงครามนโยบายภาษีก็เกิดขึ้น ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับการลงทุนของคุณบาสจึงจำกัดทั้งจากการปรับพอร์ตไว้ล่วงหน้า
และเครื่องมือทางการเงินต่าง ๆ สามารถนำไปสร้างผลตอบแทนกลับมาเป็นเงินสดในช่วงตลาดหุ้นโลกผันผวนได้ โดยตัวอย่างตลาดหุ้นที่คุณบาสมองว่ามีมูลค่าเหมาะสม เช่น ตลาดหุ้นไทย, ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์, ตลาดหุ้นอินโดนีเชีย
นอกเหนือจาก Market PE Cycle แล้ว คุณบาสก็ยังใช้ปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาร่วมบริหารพอร์ตการลงทุน และประเมินความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนด้วย
และก็ได้ให้ความเห็นต่อการลงทุนไว้ว่า การลงทุนกับความเสี่ยงเป็นของคู่กัน
ไม่ว่าเราจะลงทุนในสินทรัพย์อะไรก็ตาม
เราก็ต้องคิดถึงมุมความเสี่ยงควบคู่กัน
เพื่อให้เราอยู่รอด และมีโอกาสสร้างผลตอบแทนชนะตลาดได้ ในระยะยาว..
ไม่ว่าเราจะลงทุนในสินทรัพย์อะไรก็ตาม
เราก็ต้องคิดถึงมุมความเสี่ยงควบคู่กัน
เพื่อให้เราอยู่รอด และมีโอกาสสร้างผลตอบแทนชนะตลาดได้ ในระยะยาว..