
ทำไม นักท่องเที่ยวจีน ถึงมาไทย ลดลง
ทำไม นักท่องเที่ยวจีน ถึงมาไทย ลดลง /โดย ลงทุนแมน
ในช่วงนี้ หลายคนคงเคยได้ยินข่าวกันมาบ้างว่า ตามแหล่งท่องเที่ยว ศูนย์การค้า ไปจนถึงร้านอาหารต่าง ๆ มีนักท่องเที่ยวจีน ลดลงอย่างเห็นได้ชัด
ในช่วงนี้ หลายคนคงเคยได้ยินข่าวกันมาบ้างว่า ตามแหล่งท่องเที่ยว ศูนย์การค้า ไปจนถึงร้านอาหารต่าง ๆ มีนักท่องเที่ยวจีน ลดลงอย่างเห็นได้ชัด
โดยจากข้อมูลของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พบว่า ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2568 จำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีน ที่เดินทางเข้าไทยอยู่ที่ 1.65 ล้านคน
เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2567 ซึ่งอยู่ที่ 2.35 ล้านคน
เรียกได้ว่าลดลงกว่า 30% เลยทีเดียว
เรียกได้ว่าลดลงกว่า 30% เลยทีเดียว
แล้วอะไรเป็นเหตุผล ที่ทำให้นักท่องเที่ยวจีน ลดลงมากขนาดนี้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
แม้ช่วงที่ผ่านมา ถือเป็นช่วง High Season ของการท่องเที่ยวไทย เพราะมีทั้งเทศกาลปีใหม่ ตรุษจีน ไปจนถึงเทศกาลสงกรานต์ ที่ปกติจะเป็นช่วงเวลาที่คนจีนมักจะเดินทางมาเที่ยวไทย
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
แม้ช่วงที่ผ่านมา ถือเป็นช่วง High Season ของการท่องเที่ยวไทย เพราะมีทั้งเทศกาลปีใหม่ ตรุษจีน ไปจนถึงเทศกาลสงกรานต์ ที่ปกติจะเป็นช่วงเวลาที่คนจีนมักจะเดินทางมาเที่ยวไทย
แต่จากตัวเลขอย่างเป็นทางการนี้ สะท้อนให้เห็นว่า นักท่องเที่ยวจีนที่มาไทย กำลังลดลงอย่างชัดเจน
ซึ่งถ้าหากลองมาวิเคราะห์เหตุผลที่ทำให้นักท่องเที่ยวจีนลดลงนั้น ก็คงจะมีมากมาย แต่จะมีอยู่ 3 เหตุผลหลัก ที่มักถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึง
เริ่มกันที่เหตุผลแรก.. ปัญหาอาชญากรรมในไทย
หลายปีที่ผ่านมา ไทยมีปัญหาอาชญากรรมเพิ่มขึ้นมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาชญากรรมทางไซเบอร์ ไปจนถึงการหลอกลวงเหยื่อ หรือแก๊งคอลเซนเตอร์
ซึ่งแก๊งคอลเซนเตอร์ที่ว่า ก็มีอยู่หลายกลุ่ม หนึ่งในนั้นคือกลุ่มอาชญากรชาวจีน หรือ “จีนเทา” ที่เราคุ้นเคย โดยมีฐานปฏิบัติการอยู่ตามแนวชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน รอบ ๆ ประเทศไทย
เหยื่อของการหลอกลวงโดยแก๊งคอลเซนเตอร์ ก็มีทั้งคนไทยและคนต่างชาติ หรือแม้แต่ชาวจีนด้วยกันเอง..
หนึ่งในเหยื่อที่มีชื่อเสียงก็คือ คุณซิงซิง นักแสดงหนุ่มชาวจีน ที่หายตัวไปหลังเดินทางเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งสุดท้ายพบว่า เขาถูกหลอกให้ไปทำงานที่ประเทศเมียนมา
แม้ว่าสุดท้ายแล้ว คุณซิงซิงจะปลอดภัยและได้รับการช่วยเหลือ แต่กรณีที่เกิดขึ้นนี้ ก็ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทยและการท่องเที่ยวไทย
จนมีการนำไปพูดคุยกันในหมู่คนจีน ในทำนองว่า “เมืองไทยน่ากลัว”
แม้ที่ผ่านมา รัฐบาลจะออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อสกัดปัญหาจีนเทาเหล่านี้
เช่น เพิ่มความเข้มงวดในการใช้งานซิมโทรศัพท์, แอปพลิเคชันธนาคาร, จับกุมผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง, ปราบบัญชีม้า ไปจนถึงมาตรการตัดน้ำตัดไฟ และสัญญาณอินเทอร์เน็ต บริเวณชายแดน
จนทำให้ปัญหาการหลอกลวง ดูเหมือนจะเบาบางลงไปบ้าง แต่ความมั่นใจของนักท่องเที่ยวจีนนั้น ดูยังไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น
มาต่อกันที่เหตุผลที่สอง.. การแข่งขันจากประเทศอื่น
ปัจจุบันหลาย ๆ ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ได้ชูจุดขายด้านการท่องเที่ยว ไปจนถึงออกสารพัดกลยุทธ์ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว
โดยเฉพาะญี่ปุ่น ที่แต่เดิมก็เป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางยอดนิยมอยู่แล้ว
ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา เงินเยนของญี่ปุ่น มีการอ่อนค่าลงอย่างมากเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น ๆ หรือพูดง่าย ๆ ว่า นักท่องเที่ยวชาติอื่น ๆ สามารถไปเที่ยวญี่ปุ่นได้ โดยอาจจ่ายถูกลง
ประกอบกับที่ญี่ปุ่น มีจุดแข็งหนึ่งคือการขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่ “ปลอดภัย” มากที่สุดในโลก และเต็มไปด้วยสิ่งดึงดูด เช่น อาหาร วัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยว แหล่งช็อปปิง
จึงไม่แปลกใจที่นักท่องเที่ยวจีน จะเบนเข็มเดินทางไปท่องเที่ยวที่ญี่ปุ่น แทนที่จะมาเสี่ยงในประเทศไทย
ขณะที่ในบางประเทศ ก็ได้ใช้วิธีดึงดูดนักท่องเที่ยว โดยการดึงคอนเสิร์ต หรืองานระดับโลก ให้มาจัดที่ประเทศตัวเอง ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือ สิงคโปร์
ที่ผ่านมา สิงคโปร์ ได้เป็นสถานที่จัดคอนเสิร์ตมากมาย ทั้ง Taylor Swift และ Coldplay วงดนตรีชื่อดังจากอังกฤษ ไปจนถึงงานจัดแสดงอากาศยานอย่าง Singapore Airshow
การมีจุดขายทั้งแหล่งท่องเที่ยว ความปลอดภัย ไปจนถึงกลยุทธ์เด็ด ๆ อย่างการดึงงานระดับโลก ให้เข้ามาจัดในประเทศ
ทำให้ประเทศไทย ที่แทบจะไม่มีอะไรใหม่ ๆ มาดึงดูดนักท่องเที่ยว ต้องพบกับความท้าทายในตลาดการท่องเที่ยวมากขึ้น
มาถึงเหตุผลที่สาม.. พิษเศรษฐกิจของจีน
อย่างที่รู้กันว่า ประเทศจีน ก็ประสบกับภาวะเศรษฐกิจตึงตัว มาหลายระลอก
เริ่มตั้งแต่การล็อกดาวน์ในช่วงการแพร่ระบาด และเปิดเมืองช้ากว่าประเทศอื่น ๆ วิกฤติอสังหาริมทรัพย์ มาจนถึงเหตุการณ์ล่าสุด ก็คือ “สงครามการค้า” กับทรัมป์ 2.0
จึงไม่แปลกที่ชาวจีนจำนวนมาก จะเริ่มตระหนักเรื่องการเงิน และเลือกที่จะจับจ่ายใช้สอยอย่างประหยัด ลดสิ่งฟุ่มเฟือย ซึ่งรวมถึงการตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นอย่าง “การท่องเที่ยวต่างประเทศ” ทิ้งไป
และหันมาท่องเที่ยวภายในประเทศจีนเองมากขึ้น ซึ่งรัฐบาลก็สนับสนุน เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ
หรือถ้าหากอยากเที่ยวต่างประเทศ ก็อาจเลือกเดินทางไปในประเทศที่มีค่าใช้จ่ายถูกลง อย่างเวียดนาม ซึ่งมีรายงานว่า ในไตรมาสแรก ปี 2568 ชาวจีนถือเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่เดินทางมาเยือนเวียดนามมากที่สุด แซงหน้าเกาหลีใต้
ทั้ง 3 เหตุผลนี้ ล้วนเป็นเหตุผลที่ถูกกล่าวถึงเป็นอย่างมาก เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้นักท่องเที่ยวจีน เดินทางมาไทยลดลง
ที่ผ่านมา แม้จะมีการผ่อนคลายกฎระเบียบด้านการท่องเที่ยว อย่างการเปิดฟรีวีซ่า
แต่แทนที่จะทำให้นักท่องเที่ยวจีน เดินทางมาไทยมากขึ้น กลับเป็นการเปิดช่องให้มีคนต่างชาติส่วนหนึ่ง ฉวยโอกาสนี้ เข้ามาทำมาหากินอย่างผิดกฎหมายในไทย
และยิ่งส่งผลกระทบเรื่องความปลอดภัย และภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทย มากขึ้นไปอีก
เรื่องนี้ถือเป็นความท้าทายของประเทศ ที่เน้นพึ่งพาการท่องเที่ยว เป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างไทย และเป็นโจทย์ที่รัฐบาลไทย จะต้องรีบหาทางแก้ไข
เพื่อไม่ให้เครื่องยนต์เศรษฐกิจอย่าง “การท่องเที่ยว” ที่เป็นจุดขายหลักของไทยมายาวนาน ต้องดับลง..
╔═══════════╗
ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
╔═══════════╗
ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman