
Meta ประเทศไทย รับมือกับปัญหาอาชญากรรมทางไซเบอร์ อย่างไร ?
Meta ประเทศไทย มองว่า ปัญหาอาชญากรรมทางไซเบอร์ ต้องมี 3 ระบบที่ทำงานไปด้วยกัน นั่นคือ
- การสกัดยับยั้ง
- การให้ความรู้ผู้คน
- การเพิ่มอุปสรรคให้คนร้ายหลอกหลวงได้ยากขึ้น
- การสกัดยับยั้ง
- การให้ความรู้ผู้คน
- การเพิ่มอุปสรรคให้คนร้ายหลอกหลวงได้ยากขึ้น
ในส่วนของการสกัดยับยั้ง เป็นหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ ที่ต้องบังคับใช้กฏหมาย
ส่วนการให้ความรู้ เป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วนไปด้วยกัน
ส่วนการให้ความรู้ เป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วนไปด้วยกัน
แต่ในส่วนของการเพิ่มอุปสรรคหรือสกัดยับยั้งคนร้าย ไม่ให้กระทำความผิดได้สำเร็จ เป็นหน้าที่ของแพลตฟอร์มอย่าง Meta ที่สามารถทำได้
ทำให้ปัจจุบัน Meta พยายามศึกษาเส้นทางการกระทำความผิดของคนร้ายทางไซเบอร์ เพื่อดูว่าจะสามารถขัดขวางเส้นทางนี้ อย่างไรได้บ้าง
โดยทำ 4 กลยุทธ์สำคัญไปพร้อมกัน นั่นคือ
1. การสร้างเกราะป้องกันของแพลตฟอร์ม
2. การเสริมพลังให้กับธุรกิจและผู้ใช้งาน
3. การขัดขวางการกระทำความผิดทางไซเบอร์
4. การร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ ในสังคม
2. การเสริมพลังให้กับธุรกิจและผู้ใช้งาน
3. การขัดขวางการกระทำความผิดทางไซเบอร์
4. การร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ ในสังคม
โดยฟีเจอร์หลัก ๆ ที่ Meta เข้ามาสนับสนุนเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเกราะป้องกัน การกระทำความผิดของคนร้ายทางไซเบอร์ เช่น
- การทำฟีเจอร์ยืนยันตัวตน 2 ขั้นตอนหรือ 2FA
- การยืนยันตัวตน ผ่านหมายเลขโทรศัพท์สำหรับผู้ลงโฆษณาใหม่
- การพัฒนาระบบการตรวจสอบใบหน้า เพื่อป้องกันแอบอ้างบุคคลชื่อเสียง
- การพัฒนาระบบตรวจจับบัญชีที่น่าสงสัย ซึ่งทำงานร่วมกับกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ถึงการแจ้งเตือนผู้ใช้ถึงบัญชีธนาคารที่ต้องสงสัย โดยฟีเจอร์นี้ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา
นอกจากฟีเจอร์ที่ทาง Meta พยายามสร้างขึ้นมาแล้ว ยังมีการเสริมสร้างให้ธุรกิจปลอดภัย เช่น เครื่องมือปกป้องแบรนด์ตัวเอง
หรือการให้ความรู้ ความร่วมมือกับ ETDA ด้วยการลงพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ ให้ความรู้ปลอดภัยทางออนไลน์ รวมทั้งปล่อยเเคมเปญ “Legit ot leg it จริงใจหรือหลอกลวง”
สุดท้ายแล้ว Meta บอกว่า ปัญหาอาชญากรรมทางไซเบอร์ เป็นเรื่องที่ท้าทายในการจัดการ เพราะต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายองค์กรที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เร่งทันติดตามการกระทำความผิดของคนร้ายไซเบอร์ ที่ตอนนี้มีขั้นตอนซับซ้อนมากขึ้น จากการมาของเครื่องมือ AI ในปัจจุบัน..