
อยากมีพอร์ตหุ้น กินปันผล หลังเกษียณ ต้องทำอย่างไร ? สรุปในโพสต์เดียว
อยากมีพอร์ตหุ้น กินปันผล หลังเกษียณ ต้องทำอย่างไร ? สรุปในโพสต์เดียว /โดย ลงทุนแมน
- เชื่อว่า ปลายทางที่มนุษย์วัยทำงานหลายคนต้องการคือ การมีรายได้หรือกระแสเงินสด เพียงพอกับค่าใช้จ่ายหลังเกษียณที่ไม่ได้ทำงานแล้ว
- เชื่อว่า ปลายทางที่มนุษย์วัยทำงานหลายคนต้องการคือ การมีรายได้หรือกระแสเงินสด เพียงพอกับค่าใช้จ่ายหลังเกษียณที่ไม่ได้ทำงานแล้ว
ซึ่งหนึ่งในวิธีที่สามารถพาเราไปถึงจุดนั้นคือ การลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น กองทุนรวม หรือ REIT ก็ตาม
- สำหรับความเห็นของลงทุนแมน ก็มีท่าที่คนทั่วไปน่าจะทำได้คือ วิธีการสร้างพอร์ตกินปันผลหลังเกษียณ โดยมี 2 ขั้นตอนแบบง่าย ๆ
1. ลงทุนให้ได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 8% ต่อปี
ซึ่งตัวเลขผลตอบแทนนี้ อาจดูยากสำหรับบางคน แต่ก็พอเป็นไปได้
เพราะตลาดหุ้นสหรัฐฯ ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 10% ต่อปี ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา
เพราะตลาดหุ้นสหรัฐฯ ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 10% ต่อปี ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา
2. เมื่อถึงเวลาเกษียณหรือ 30 ปีผ่านไป นำเงินไปลงทุนในหุ้นปันผล 5% ต่อปีขึ้นไป
- แต่เริ่มแรกของการสร้างพอร์ตกินปันผลหลังเกษียณ ต้องตั้งเป้าก่อนว่า อยากใช้เงินกี่บาทต่อเดือน แล้วคำนวณว่า ทั้งปีเราจะใช้เงินทั้งหมดกี่บาท
เช่น อยากมีเงินใช้ 30,000 บาทต่อเดือน
ดังนั้น ทั้งปีเราจะใช้เงิน = 30,000 x 12 = 360,000 บาท
ดังนั้น ทั้งปีเราจะใช้เงิน = 30,000 x 12 = 360,000 บาท
- ทีนี้เรามาหาจำนวนเงินก้อนที่ต้องมีหลังเกษียณ เพื่อจะได้วางแผนการออมและลงทุนอย่างถูกต้อง
เมื่อเราคาดหวังว่า จะลงทุนในหุ้นที่จ่ายปันผล 5% ต่อปี
ทำให้เราต้องมีเงิน = 360,000 / 5% = 7,200,000 บาท
โดยวิธีคำนวณมาจาก จำนวนเงินลงทุน = จำนวนเงินปันผลที่จะได้รับ / อัตราผลตอบแทนเงินปันผล
- สรุปเป็นตัวเลขแบบง่าย ๆ หากอยากมีเงินใช้หลังเกษียณ
10,000 บาทต่อเดือน เงินก้อนที่ต้องมีหลังเกษียณ 2,400,000 บาท
30,000 บาทต่อเดือน เงินก้อนที่ต้องมีหลังเกษียณ 7,200,000 บาท
50,000 บาทต่อเดือน เงินก้อนที่ต้องมีหลังเกษียณ 12,000,000 บาท
70,000 บาทต่อเดือน เงินก้อนที่ต้องมีหลังเกษียณ 16,800,000 บาท
30,000 บาทต่อเดือน เงินก้อนที่ต้องมีหลังเกษียณ 7,200,000 บาท
50,000 บาทต่อเดือน เงินก้อนที่ต้องมีหลังเกษียณ 12,000,000 บาท
70,000 บาทต่อเดือน เงินก้อนที่ต้องมีหลังเกษียณ 16,800,000 บาท
โดยคาดหวังว่า เงินก้อนหลังเกษียณนี้ จะนำไปลงทุนในหุ้นที่จ่ายปันผล 5% ต่อปี
- มาถึงคำถามสำคัญ เราต้องเก็บเงินต่อเดือนกี่บาท เพื่อให้มีเงินก้อนจำนวนที่ต้องการ หากได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 8% ต่อปี
ซึ่งเราสามารถคำนวณได้ง่าย ๆ หากมีเครื่องคิดเลขทางการเงิน หรือผ่านเว็บไซต์ https://www.allaboutfin.com/fin-program/tvm/calculator-value
โดย
N = ระยะเวลาลงทุน
I = ผลตอบแทน
PV = เงินต้น
FV = เงินก้อนที่ต้องมีหลังเกษียณ
PMT = เงินเก็บต่อเดือน
N = ระยะเวลาลงทุน
I = ผลตอบแทน
PV = เงินต้น
FV = เงินก้อนที่ต้องมีหลังเกษียณ
PMT = เงินเก็บต่อเดือน
หากเราต้องการปันผล 30,000 บาทต่อเดือน (หรือต้องมีเงินก้อนหลังเกษียณ 7,200,000 บาท)
N = 30 ปี = 30 x 12 = 360 เดือน
I = 8% ต่อปี = 0.667% ต่อเดือน
PV = 0
FV = 7,200,000
I = 8% ต่อปี = 0.667% ต่อเดือน
PV = 0
FV = 7,200,000
ดังนั้น จะได้ว่า PMT = 4,828 หรือแปลว่า เราต้องเก็บเงิน 4,828 บาทต่อเดือน
- สรุปเป็นตัวเลขแบบง่าย ๆ หากอยากมีเงินใช้หลังเกษียณ
10,000 บาทต่อเดือน ต้องเก็บเงิน 1,610 บาทต่อเดือน
30,000 บาทต่อเดือน ต้องเก็บเงิน 4,828 บาทต่อเดือน
50,000 บาทต่อเดือน ต้องเก็บเงิน 8,046 บาทต่อเดือน
70,000 บาทต่อเดือน ต้องเก็บเงิน 11,264 บาทต่อเดือน
30,000 บาทต่อเดือน ต้องเก็บเงิน 4,828 บาทต่อเดือน
50,000 บาทต่อเดือน ต้องเก็บเงิน 8,046 บาทต่อเดือน
70,000 บาทต่อเดือน ต้องเก็บเงิน 11,264 บาทต่อเดือน
โดยสมมติว่า เราสามารถสร้างผลตอบแทนได้เฉลี่ยปีละ 8% เป็นระยะเวลา 30 ปี
- หากเราคิดว่า ไม่สามารถทำผลตอบแทนได้ดีกว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ ก็ลงทุนกับตลาดไปเลย เช่น
S&P 500 มี ETF ให้เลือกหลัก ๆ 3 ทางเลือก คือ
1. SPDR S&P 500 ETF Trust (SPY)
2. Vanguard S&P 500 ETF (VOO)
3. iShares Core S&P 500 ETF (IVV)
2. Vanguard S&P 500 ETF (VOO)
3. iShares Core S&P 500 ETF (IVV)
- หลังจากนั้นผ่านไป 30 ปี หรือถึงเวลาเกษียณก็เปลี่ยนพอร์ตมาเน้นลงทุนในหุ้นปันผลสูง
เพื่อให้มีรายได้รองรับค่าใช้จ่ายของเรา
เพื่อให้มีรายได้รองรับค่าใช้จ่ายของเรา
- ตัวอย่างหุ้นที่จ่ายปันผลมากกว่า 5% ต่อปีในปัจจุบัน
หุ้นสหรัฐฯ
1. Altria Group (MO) เป็นผู้ผลิตบุหรี่ Marlboro
2. Franklin Resources (BEN) บริษัทด้านการลงทุน
3. OUTFRONT Media (OUT) ทำธุรกิจสื่อกลางแจ้ง
1. Altria Group (MO) เป็นผู้ผลิตบุหรี่ Marlboro
2. Franklin Resources (BEN) บริษัทด้านการลงทุน
3. OUTFRONT Media (OUT) ทำธุรกิจสื่อกลางแจ้ง
หุ้นไทย
1. SCB ธุรกิจธนาคาร
2. KBANK ธุรกิจธนาคาร
3. KTB ธุรกิจธนาคาร
1. SCB ธุรกิจธนาคาร
2. KBANK ธุรกิจธนาคาร
3. KTB ธุรกิจธนาคาร
อย่างไรก็ตาม การที่หุ้นจะจ่ายปันผลสูงกว่า 5% ต่อปี ไม่ได้หมายความว่า จะสามารถปันผลสูงได้ตลอดไป เพราะในอนาคต หากผลประกอบการแย่ลง บริษัทก็จะมีความสามารถในการจ่ายปันผลน้อยลงเช่นกัน
ดังนั้น แม้ว่าเราจะวางแผนสร้างพอร์ตเป็นอย่างดีแล้ว แต่ก็ต้องไม่ลืมติดตามผลประกอบการของบริษัท และตัวธุรกิจของบริษัทว่ายังแข็งแกร่งอยู่หรือไม่ อย่างสม่ำเสมอด้วย เพื่อจะให้ได้พอร์ตที่สร้างปันผลได้อย่างมั่นคงในระยะยาว
หมายเหตุ : บทความที่นำเสนอนี้เป็นเพียงแนวทางและมุมมองเท่านั้น ผู้อ่านคือผู้ตัดสินใจแต่เพียงผู้เดียว ในการรับความเสี่ยงและผลตอบแทนจากการลงทุน โปรดศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบและพิจารณาถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องด้วยตัวเองเสมอ
References
- Google Finance และ SET
- Google Finance และ SET