
Meta กำลังลงทุน AI ด้วย ขนาดงบประมาณรัฐบาลไทยทั้งหมด และสร้างตึก AI ขนาดเกือบเท่าเกาะแมนฮัตตัน
Meta กำลังลงทุน AI ด้วย ขนาดงบประมาณรัฐบาลไทยทั้งหมด และสร้างตึก AI ขนาดเกือบเท่าเกาะแมนฮัตตัน /โดย ลงทุนแมน
จุดหนึ่งของประวัติศาสตร์ AI โลกกำลังเฝ้ามองว่า Meta จะลงทุนครั้งใหญ่สำเร็จหรือไม่ ?
ความทะเยอทะยานของซักเคอร์เบิร์ก ทำให้เราอยากรู้ว่า อีกไม่กี่ปีข้างหน้า Superintelligence Labs จะทำให้ Meta กลายเป็นผู้นำด้าน AI เทียบชั้นบริษัทอื่น ๆ หรือไม่ ?
ล่าสุด มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก โพสต์ด้วยประโยคที่ชัดเจนว่า Meta กำลังเดินหน้าลงทุน หลายแสนล้านดอลลาร์ (1 แสนล้านดอลลาร์ เท่ากับ 3.2 ล้านล้านบาท ใกล้เคียงงบประมาณรัฐบาลไทยต่อปี) เพื่อสร้างโครงข่ายศูนย์ข้อมูล AI ระดับ Superintelligence ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
โครงการนี้ไม่ได้เป็นแค่มุ่งหวังพัฒนาโมเดล แต่เป็นการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้าน compute ที่แข็งแกร่งยิ่งกว่าใคร ด้วย cluster หลายแห่งที่มีกำลังไฟฟ้าสูงระดับหลายกิกะวัตต์ (GW)
ซักเคอร์เบิร์กใช้คำว่า “Prometheus” สำหรับ cluster รุ่นแรกซึ่งมีขนาดเกิน 1 GW และมีกำหนดออนไลน์ในปี 2026
และ “Hyperion” ซึ่งสามารถขยายขึ้นไปถึง 5 GW ได้ในอีกไม่กี่ปีถัดไป
ต่อจากนั้น ยังมีแผนสร้างอีกหลายแห่ง มีขนาดเทียบเท่าพื้นที่เกาะแมนฮัตตัน..
ที่ผ่านมา Meta ประกาศปรับเพิ่มงบ CapEx ประจำปี 2025 จากเดิม 60–65 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 64–72 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
รวมถึงมีแผนระดมทุนภายนอกกว่า 29 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ผ่าน Apollo, KKR, Brookfield, Carlyle, PIMCO เพื่อสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน AI อีกด้วย 
ทีม Meta Superintelligence Labs นำโดย Alexandr Wang อดีตซีอีโอ Scale AI และ Nat Friedman อดีต GitHub ทั้งสองคนมีคำสั่งตรงจากซักเคอร์เบิร์กถึงการดึงบุคลากรระดับโลกจาก OpenAI, DeepMind, Anthropic เพื่อนำเข้าสู่ Lab แห่งนี้ 
ที่น่าสนใจคือ Meta เสนอค่าตอบแทนสูงถึง 100-200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้กับนักวิจัยระดับท็อปเพื่อย้ายมา
ที่น่าสนใจคือ Meta เสนอค่าตอบแทนสูงถึง 100-200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้กับนักวิจัยระดับท็อปเพื่อย้ายมา
การดึงตัวด้วยเงินมหาศาลนี้สร้างแรงกดดันอย่างหนักต่อคู่แข่งอย่าง OpenAI ซึ่งถึงกับต้องปรับแพ็กเกจค่าตอบแทนเพื่อรั้งตัวผู้เชี่ยวชาญ AI ไว้
ด้วยความมุ่งมั่นระดับนี้ ทาง Meta ไม่ใช่แค่สร้างโมเดล AI แต่กำลังกระโจนเข้าสู่การแข่งขัน “Superintelligence” ผสมผสานทั้งทีมวิจัยระดับโลก และโครงสร้างพื้นฐานการ compute ที่ต้องการใช้ไฟฟ้ามหาศาล แบบไม่มีใครกล้าทำโครงการยักษ์ขนาดนี้
ที่น่าสนใจคือ ทั้งหมดนี้ถูกสนับสนุนด้วยรายได้จากธุรกิจโฆษณาหลักที่เป็นเครื่องผลิตเงินหลักของ Meta ที่เอื้อต่อการลงทุนแบบเสี่ยงแต่ยิ่งใหญ่
โดยมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ยืนยันด้วยว่า Meta มีเงินทุนจากธุรกิจเพียงพอที่จะทำสิ่งนี้ได้
มีคนวิเคราะห์กันว่าโครงการนี้ทำให้ Meta ต้องลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ 1–4 GW ในช่วงต้นทศวรรษหน้า
เรียกได้ว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นในยุคถัดไปของ Meta
อาจจะไม่ใช่โซเชียลมีเดียที่เราคุ้นเคย
แต่เป็นเทคโนโลยีแห่งความฉลาดสุด ๆ ตามคำเรียกของมาร์กซักเคอร์เบิร์กต่อโครงการนี้ว่า Superintelligence
แต่เป็นเทคโนโลยีแห่งความฉลาดสุด ๆ ตามคำเรียกของมาร์กซักเคอร์เบิร์กต่อโครงการนี้ว่า Superintelligence
เป็นอีกหนึ่งครั้งที่เราไม่เข้าใจ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก เท่าไรนัก
ตั้งแต่วันที่เขาเริ่มเห็นโอกาสในเฟซบุ๊ก
เริ่มซื้ออินสตาแกรมในวันที่มีพนักงาน 13 คน ด้วยเงิน 30,000 ล้านบาท
เริ่มพัฒนา Metaverse ซึ่งจนถึงตอนนี้ก็ไม่รู้ว่าจะสำเร็จหรือไม่
และโครงการต่อไปด้าน AI เขาลงทุนอย่างบ้าคลั่งยิ่งกว่าครั้ง Metaverse
จนเราอาจต้องมาคิดว่า สิ่งนี้เป็นการเดิมพันครั้งใหญ่ที่สุดในชีวิตของเขา ที่คิดว่าอนาคตของโลกจะต้องเดินไปทางนี้ ด้วยเงินระดับหลายร้อยเท่า ของจำนวนเงินที่ซื้ออินสตาแกรมในตอนนั้น..
จนเราอาจต้องมาคิดว่า สิ่งนี้เป็นการเดิมพันครั้งใหญ่ที่สุดในชีวิตของเขา ที่คิดว่าอนาคตของโลกจะต้องเดินไปทางนี้ ด้วยเงินระดับหลายร้อยเท่า ของจำนวนเงินที่ซื้ออินสตาแกรมในตอนนั้น..