
การจ้างงานมีอะไรบ้าง? สรุปการจ้างงานแต่ละประเภทที่ช่วยให้ HR ง่ายขึ้น
ฮิวแมนซอฟท์ x ลงทุนแมน
ปัจจุบันรูปแบบการทำงานมีความหลากหลายมากขึ้น เพื่อตอบรับกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และให้เป็นไปตามกฎหมายแรงงาน การปรับรูปแบบการทำงานจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้ทั้งผู้ประกอบการและลูกจ้าง ซึ่งส่งผลให้รูปแบบการจ้างงานต้องปรับเปลี่ยนตามไปด้วย เพื่อรองรับความต้องการที่หลากหลายและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
แล้วการจ้างงานแต่ละประเภทเป็นอย่างไร? เลือกยังไงให้เหมาะสม?
แล้วการจ้างงานแต่ละประเภทเป็นอย่างไร? เลือกยังไงให้เหมาะสม?
เมื่อรูปแบบการทำงานเปลี่ยนไป รูปแบบการจ้างงานก็ต้องปรับตามเพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะงานที่หลากหลายมากขึ้น ปัจจุบันองค์กรจึงมีทางเลือกในการจ้างงานหลายรูปแบบ ซึ่งประเภทที่ได้รับความนิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันมีทั้งหมด 5 ประเภท ดังนี้
1. การจ้างงานแบบประจำ (Full-Time)
การจ้างงานประจำหรือที่เรียกกันว่า Full-Time ประเภทนี้เป็นการจ้างงานที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เป็นรูปแบบการจ้างงานที่ไม่มีการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการทำงาน โดยพนักงานหรือลูกจ้างสามารถทำงานต่อเนื่องได้จนกว่าจะลาออก เกษียณอายุ หรือถูกเลิกจ้าง แต่รูปแบบการจ้างงานแบบประจำนั้นจะมีการกำหนดเวลาการทำงานตามที่กฎหมายแรงงานกำหนด คือ ไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน หรือ 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ สิทธิประโยชน์ที่ลูกจ้างกลุ่มนี้ได้รับ จะประกอบไปด้วยเงินเดือนและค่าจ้างที่จะได้รับตามรอบทุกเดือน สวัสดิการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายแรงงานกำหนด ทั้งยังมีความมั่งคงในหน้าที่การงานและมีโอกาสเติบโตในสายงานที่ทำด้วย
1. การจ้างงานแบบประจำ (Full-Time)
การจ้างงานประจำหรือที่เรียกกันว่า Full-Time ประเภทนี้เป็นการจ้างงานที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เป็นรูปแบบการจ้างงานที่ไม่มีการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการทำงาน โดยพนักงานหรือลูกจ้างสามารถทำงานต่อเนื่องได้จนกว่าจะลาออก เกษียณอายุ หรือถูกเลิกจ้าง แต่รูปแบบการจ้างงานแบบประจำนั้นจะมีการกำหนดเวลาการทำงานตามที่กฎหมายแรงงานกำหนด คือ ไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน หรือ 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ สิทธิประโยชน์ที่ลูกจ้างกลุ่มนี้ได้รับ จะประกอบไปด้วยเงินเดือนและค่าจ้างที่จะได้รับตามรอบทุกเดือน สวัสดิการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายแรงงานกำหนด ทั้งยังมีความมั่งคงในหน้าที่การงานและมีโอกาสเติบโตในสายงานที่ทำด้วย
เหมาะกับ: ผู้ที่กำลังมองหาความมั่นคง คำนึงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ในการดำรงชีวิต และมีเป้าหมายในการเติบโตก้าวหน้าในหน้าที่การงานในสายงานที่ทำ
2. การจ้างงานแบบพาร์ตไทม์ (Part-Time)
การจ้างงานแบบพาร์ตไทม์ได้รับความนิยมมากพอ ๆ กับประเภทแรก ซึ่งเป็นการทำงานตามช่วงเวลา หรืออาจทำเพียงไม่กี่ชั่วโมงต่อวัน พนักงานจะได้รับค่าตอบแทนเป็นรายชั่วโมงขึ้นอยู่กับการตกลงร่วมกันระหว่างนายจ้าง การจ้างงานประเภทนี้จะมีความยืดหยุ่นมากกว่าพนักงานประจำ แต่เรื่องของความมั่นคงและสวัสดิการก็ยังเป็นข้อจำกัดที่ต่างกับพนักงานประจำ
การจ้างงานแบบพาร์ตไทม์ได้รับความนิยมมากพอ ๆ กับประเภทแรก ซึ่งเป็นการทำงานตามช่วงเวลา หรืออาจทำเพียงไม่กี่ชั่วโมงต่อวัน พนักงานจะได้รับค่าตอบแทนเป็นรายชั่วโมงขึ้นอยู่กับการตกลงร่วมกันระหว่างนายจ้าง การจ้างงานประเภทนี้จะมีความยืดหยุ่นมากกว่าพนักงานประจำ แต่เรื่องของความมั่นคงและสวัสดิการก็ยังเป็นข้อจำกัดที่ต่างกับพนักงานประจำ
เหมาะกับ: ผู้ที่ต้องการความยืดหยุ่นในการทำงาน ผู้ที่ต้องการทำงานเพียงไม่กี่ชั่วโมงต่อวัน หรือต่อสัปดาห์ เช่น นักศึกษา หรือผู้ที่มีประจำแล้วแต่ต้องการหารายได้เสริมอื่น ๆ เป็นต้น
3. การจ้างงานแบบสัญญาจ้างชั่วคราว
การจ้างงานประเภทนี้มีลักษณะเด่นคือ จะมีการกำหนดเวลาที่แน่นอน เช่น ระยะเวลาจ้างงานอยู่ที่ 6 เดือน 1 ปี 3 ปี ขึ้นอยู่กับสัญญาจ้างที่นายจ้างหรือองค์กรกำหนดขึ้น ทั้งนี้ลูกจ้างจะได้รับสิทธิประโยชน์ เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการต่าง ๆ คล้ายกับพนักงานประจำ แต่มีความมั่นคงน้อยกว่า เพราะมีสัญญาจ้างที่กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้อย่างชัดเจน
การจ้างงานประเภทนี้มีลักษณะเด่นคือ จะมีการกำหนดเวลาที่แน่นอน เช่น ระยะเวลาจ้างงานอยู่ที่ 6 เดือน 1 ปี 3 ปี ขึ้นอยู่กับสัญญาจ้างที่นายจ้างหรือองค์กรกำหนดขึ้น ทั้งนี้ลูกจ้างจะได้รับสิทธิประโยชน์ เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการต่าง ๆ คล้ายกับพนักงานประจำ แต่มีความมั่นคงน้อยกว่า เพราะมีสัญญาจ้างที่กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้อย่างชัดเจน
เหมาะกับ: ผู้ที่มองหาการทำงานในระยะสั้น ๆ หรือผู้ที่ต้องการหาประสบการณ์หรือเก็บประสบการณ์ และต้องการหารายได้ในช่วงเวลาดเวลาหนึ่ง
4. การจ้างงานแบบฟรีแลนซ์ (Freelance)
เป็นการจ้างงานที่ไม่มีข้อผูกมัดทางสัญญาจ้างงานแบบถาวรหรือเป็นลายลักษณ์อักษร ลูกจ้างจะรับงานเป็นครั้ง ๆ ไปตามข้อตกลงหรือระยะเวลาที่กำหนด โดยสามารถจัดสรรเวลาและสถานที่ทำงานได้อย่างอิสระ เช่น ทำงานจากที่บ้าน หรือจากที่ใดก็ได้ รูปแบบนี้เปิดโอกาสให้เลือกทำงานที่หลากหลายตามความถนัดหรือความสนใจ ช่วยให้เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ได้รวดเร็ว และมีอิสระในการเลือกงาน กำหนดเวลาทำงาน และตัดสินใจเกี่ยวกับงานของตัวเองได้อย่างเต็มที่
เป็นการจ้างงานที่ไม่มีข้อผูกมัดทางสัญญาจ้างงานแบบถาวรหรือเป็นลายลักษณ์อักษร ลูกจ้างจะรับงานเป็นครั้ง ๆ ไปตามข้อตกลงหรือระยะเวลาที่กำหนด โดยสามารถจัดสรรเวลาและสถานที่ทำงานได้อย่างอิสระ เช่น ทำงานจากที่บ้าน หรือจากที่ใดก็ได้ รูปแบบนี้เปิดโอกาสให้เลือกทำงานที่หลากหลายตามความถนัดหรือความสนใจ ช่วยให้เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ได้รวดเร็ว และมีอิสระในการเลือกงาน กำหนดเวลาทำงาน และตัดสินใจเกี่ยวกับงานของตัวเองได้อย่างเต็มที่
เหมาะกับ: ผู้ที่ต้องการความอิสระในการทำงาน มีอิสระในการเลือกงาน เวลาทำงานและสถานที่ทำงานได้ เช่น นักเขียน กราฟิกดีไซเนอร์ โปรแกรมเมอร์ เป็นต้น
5. การจ้างงานแบบรายวันหรือรายชั่วโมง (Casual)
การจ้างงานแบบรายวันหรือรายชั่วโมง เป็นรูปแบบชั่วคราวที่มีความยืดหยุ่นสูง ลูกจ้างทำงานตามเวลาหรือชั่วโมงที่ตกลงกับนายจ้าง อาจมีสัญญาจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับนโยบายบริษัทและลักษณะงาน งานในรูปแบบนี้มักเป็นงานชั่วคราวหรือเฉพาะกิจ โดยค่าจ้างและชั่วโมงการทำงานจะขึ้นอยู่กับการตกลงร่วมกันระหว่างนายจ้าง
การจ้างงานแบบรายวันหรือรายชั่วโมง เป็นรูปแบบชั่วคราวที่มีความยืดหยุ่นสูง ลูกจ้างทำงานตามเวลาหรือชั่วโมงที่ตกลงกับนายจ้าง อาจมีสัญญาจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับนโยบายบริษัทและลักษณะงาน งานในรูปแบบนี้มักเป็นงานชั่วคราวหรือเฉพาะกิจ โดยค่าจ้างและชั่วโมงการทำงานจะขึ้นอยู่กับการตกลงร่วมกันระหว่างนายจ้าง
เหมาะกับ: แรงงานทั่วไปที่ต้องการทำงานหรือรับงานเฉพาะกิจ เช่น งานก่อสร้าง งานอีเวนต์ และงานรับจ้างชั่วคราวต่าง ๆ เป็นต้น
แล้วจะเลือกการจ้างงานอย่างไรให้เหมาะสม หรือตรงตามความต้องการขององค์กร?
การเลือกประเภทของการจ้างงานให้เหมาะสม ถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เพราะรูปแบบการจ้างงานที่ต่างกันย่อมส่งผลต่อความยืดหยุ่น ค่าใช้จ่าย และประสิทธิภาพขององค์กร แนวทางในการเลือกการจ้างงานให้เหมาะกับองค์กร มีดังนี้
• หากองค์กรต้องการความมั่นคงและสร้างทีมที่แข็งแกร่ง มีลักษะงานที่ต้องการความต่อเนื่อง → องค์กรลักษณะนี้จึงเหมาะกับการจ้างงานแบบ Full-Time
• หากองค์กรต้องการแรงงานเสริมเฉพาะช่วง หรือมีงานเฉพาะช่าง เช่น งานอีเวนต์ โปรเจคต์ในระยะสั้น ๆ รวมไปถึงองค์กรขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลางที่เพิ่งเริ่มต้น → องค์กรลักษณะนี้จึงเหมาะกับการจ้างงานแบบ Part-Time หรือ Casual
• องค์กรที่มีโปรเจกต์เฉพาะทางหรืองานที่มีระยะเวลากำหนดแน่นอน หรือต้องการพนักงานที่มีทักษะเฉพาะแต่ไม่ต้องการจ้างระยะยาว → องค์กรลักษณะนี้จึงเหมาะกับการจ้างงานแบบ สัญญาจ้าง หรือ Freelance
• องค์กรที่มีความต้องการกำลังคนเพิ่มชั่วคราว หรือเพื่อทำงานบางอย่างที่เป็นงานระยะสั้น ๆ → องค์กรลักษณะนี้จึงเหมาะกับการจ้างงานแบบ รายวัน
• หากองค์กรต้องการแรงงานเสริมเฉพาะช่วง หรือมีงานเฉพาะช่าง เช่น งานอีเวนต์ โปรเจคต์ในระยะสั้น ๆ รวมไปถึงองค์กรขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลางที่เพิ่งเริ่มต้น → องค์กรลักษณะนี้จึงเหมาะกับการจ้างงานแบบ Part-Time หรือ Casual
• องค์กรที่มีโปรเจกต์เฉพาะทางหรืองานที่มีระยะเวลากำหนดแน่นอน หรือต้องการพนักงานที่มีทักษะเฉพาะแต่ไม่ต้องการจ้างระยะยาว → องค์กรลักษณะนี้จึงเหมาะกับการจ้างงานแบบ สัญญาจ้าง หรือ Freelance
• องค์กรที่มีความต้องการกำลังคนเพิ่มชั่วคราว หรือเพื่อทำงานบางอย่างที่เป็นงานระยะสั้น ๆ → องค์กรลักษณะนี้จึงเหมาะกับการจ้างงานแบบ รายวัน
อย่างไรก็ตามการจ้างงานในแต่ละประเภทมีจุดเด่นเฉพาะตัวที่ตอบโจทย์ความต้องการที่แตกต่างกัน ทั้งจากมุมมองของนายจ้างและลูกจ้าง การเลือกใช้รูปแบบที่เหมาะสมจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความสมดุล ระหว่างลักษณะงาน งบประมาณ และความยืดหยุ่นที่องค์กรต้องการ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับทุกฝ่าย
อ่านบทความเพิ่มเติม >>> https://www.humansoft.co.th/en/blog/employment-type