
CoreWeave จากเหมืองคริปโทฯ สู่ธุรกิจ AI มูลค่า 2 ล้านล้าน ที่มี Nvidia ถือหุ้นใหญ่
CoreWeave จากเหมืองคริปโทฯ สู่ธุรกิจ AI มูลค่า 2 ล้านล้าน ที่มี Nvidia ถือหุ้นใหญ่ /โดย ลงทุนแมน
ในยุคที่บริษัทเทคโนโลยีทั่วโลก ต่างแข่งขันพัฒนา AI กันอย่างดุเดือด ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่แค่ด้านโปรแกรมเท่านั้น
ในยุคที่บริษัทเทคโนโลยีทั่วโลก ต่างแข่งขันพัฒนา AI กันอย่างดุเดือด ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่แค่ด้านโปรแกรมเท่านั้น
แต่ลุกลามไปถึง “พลังการประมวลผล” ที่กลายเป็นทรัพยากรล้ำค่าราวกับทองคำ
รู้หรือไม่ว่า หนึ่งในผู้เล่นที่กำลังมาแรงในสมรภูมินี้ คือ “CoreWeave” อดีตบริษัทเหมืองขุดคริปโทเคอร์เรนซี
ที่เอาการ์ดจอดี ๆ มาสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการประมวลผล AI แทน
ที่เอาการ์ดจอดี ๆ มาสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการประมวลผล AI แทน
จนไม่นานมานี้ สามารถระดมทุนเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ได้สำเร็จ และมีมูลค่าพุ่งทะยานเกิน 2 ล้านล้านบาท เลยทีเดียว
โดยมีชื่อของ Nvidia ติดชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 3 ของบริษัทอีกด้วย
โดยมีชื่อของ Nvidia ติดชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 3 ของบริษัทอีกด้วย
ทำไม Nvidia ถึงลงทุนหุ้น CoreWeave ?
บริษัทนี้ มีที่มาที่ไปอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
บริษัทนี้ มีที่มาที่ไปอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
CoreWeave เป็นบริษัทเทคโนโลยีการประมวลผล AI จากประเทศสหรัฐฯ ก่อตั้งขึ้นในปี 2017 โดยคุณ Michael Intrator, คุณ Brian Venturo และคุณ Brannin McBee
ทั้งสามคนเคยทำงานเป็นเทรดเดอร์ในวงการพลังงาน ก่อนมองเห็นโอกาสในตลาดคริปโทเคอร์เรนซี จึงร่วมกันเปิดบริษัทชื่อว่า Atlantic Crypto ขึ้นมา
โดยทำธุรกิจเหมืองขุดคริปโทเคอร์เรนซี จากการซื้อการ์ดจอ GPU คุณภาพสูงของ Nvidia มาประมวลผลธุรกรรมบนเครือข่ายบล็อกเชนของ Ethereum เป็นหลัก
แม้ต่อมา ตลาดคริปโทเคอร์เรนซีจะซบเซาลงอย่างหนัก แต่พวกเขากลับใช้จังหวะนี้ เข้าซื้อการ์ดจอ GPU ราคาถูก จากรายอื่น จนสะสมได้หลายหมื่นยูนิต
ผ่านมาถึงปี 2019 เกิดจุดเปลี่ยนสำคัญ เนื่องจากบริษัทต้องการใช้ GPU จำนวนมากในมือให้ได้ประโยชน์สูงสุด มากกว่าแค่ขุดคริปโทเคอร์เรนซี
บวกกับว่าในช่วงนั้น เทคโนโลยี AI กำลังมาแรง ซึ่งต้องการความสามารถในการประมวลผลแบบ GPU
จึงได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น CoreWeave และหันมาให้บริการโครงสร้างพื้นฐานการประมวลผลจาก GPU ผ่านระบบคลาวด์แทน
โดยอาศัยช่องว่างในตลาด ที่ผู้ให้บริการเจ้าเดิมมีอยู่น้อยรายและค่อนข้างแพง ทำให้บริษัทเข้ามาแข่งขันด้วยราคาถูกกว่าได้
และวันที่รอคอยก็มาถึง..
เมื่อ OpenAI เปิดตัว ChatGPT ในปี 2022 และมีผู้ใช้งานทะลุ 100 ล้านคนในเวลาเพียง 2 เดือน
เมื่อ OpenAI เปิดตัว ChatGPT ในปี 2022 และมีผู้ใช้งานทะลุ 100 ล้านคนในเวลาเพียง 2 เดือน
ส่งผลให้ความต้องการพลังประมวลผล AI พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะสำหรับ Machine Learning และ Large Language Model
ทำให้แม้แต่ Microsoft ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น OpenAI เอง ก็ยังไม่สามารถรองรับโหลดได้เพียงพอ จึงต้องมองหาพาร์ตเนอร์ภายนอกมาช่วย
ซึ่ง CoreWeave ที่มีทั้งความพร้อมและทรัพยากรคุณภาพสูง เลยกลายเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด
บริษัทจึงได้เซ็นสัญญาให้บริการกับ Microsoft มูลค่ารวมหลายหมื่นล้านบาท ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 62% ของรายได้ต่อปีในปัจจุบัน
และเมื่อต้นปีนี้ ได้เซ็นสัญญาระยะเวลา 5 ปี กับ OpenAI มูลค่า 390,000 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตของรายได้ในอนาคต
ในขณะเดียวกัน CoreWeave ก็เป็นพันธมิตรที่เหนียวแน่นกับซัปพลายเออร์อย่าง Nvidia ซึ่งทำให้มักได้รับการจัดสรร GPU รุ่นใหม่ มาให้บริการก่อนใครอยู่เสมอด้วย
ปัจจุบัน บริษัทมีการ์ดจอ GPU อยู่ราว 250,000 ยูนิต กระจายอยู่ในศูนย์ดาตาเซนเตอร์ของบริษัท 32 แห่ง ในสหรัฐฯ และทวีปยุโรป
ด้วยเหตุนี้ ผลประกอบการจึงเติบโตแบบก้าวกระโดด
- ปี 2023 รายได้ 7,400 ล้านบาท
- ปี 2024 รายได้ 62,000 ล้านบาท
- ไตรมาส 1 ปี 2025 รายได้ 32,000 ล้านบาท
- ปี 2024 รายได้ 62,000 ล้านบาท
- ไตรมาส 1 ปี 2025 รายได้ 32,000 ล้านบาท
โดย CoreWeave ได้จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ในปลายเดือนมีนาคม 2025 ที่ผ่านมา
ซึ่งสามารถระดมเงินทุนไปได้ 49,000 ล้านบาท นับเป็น IPO บริษัทเทคโนโลยีใหญ่สุดของสหรัฐฯ ในปีนี้
ทั้งนี้ มูลค่าบริษัทของ CoreWeave ในวันแรกที่เข้าตลาดอยู่ที่ประมาณ 600,000 ล้านบาท
แต่ล่าสุด ได้พุ่งขึ้นเป็น 2,000,000 ล้านบาท หรือกลายเป็นหุ้น 3 เด้ง ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา
แต่ล่าสุด ได้พุ่งขึ้นเป็น 2,000,000 ล้านบาท หรือกลายเป็นหุ้น 3 เด้ง ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม CoreWeave ก็ต้องเผชิญกับความท้าทายไม่น้อยเหมือนกัน
ไม่ว่าจะเป็น การแข่งขันจากบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่าง Amazon หรือ Google ที่เริ่มลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการประมวลผลของตัวเอง
ทำให้สถานการณ์ปัจจุบัน ที่โครงสร้างพื้นฐานการประมวลผล หรือศูนย์ดาตาเซนเตอร์ ไม่เพียงพอต่อการรองรับ
ความต้องการพลังประมวลผล AI ก็อาจคลี่คลายดีขึ้น
ซึ่งอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อรายได้ของบริษัท
ความต้องการพลังประมวลผล AI ก็อาจคลี่คลายดีขึ้น
ซึ่งอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อรายได้ของบริษัท
หรือการพึ่งพา Nvidia มากเกินไป ซึ่งหากถูกเปลี่ยนเงื่อนไขหรือจำกัดซัปพลาย ก็อาจกระทบต่อธุรกิจพอสมควร
รวมถึงการกระจุกตัวของรายได้จากลูกค้ารายใหญ่
ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของรายได้บริษัท ถือเป็นอีกความเสี่ยงที่น่ากังวลเช่นกัน
ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของรายได้บริษัท ถือเป็นอีกความเสี่ยงที่น่ากังวลเช่นกัน
อีกทั้งการลงทุนใน GPU นั้นใช้เงินจำนวนมาก
ทำให้บริษัทต้องกู้เงินมาขยายธุรกิจ โดยนำเอาสินทรัพย์ GPU เหล่านั้นเป็นหลักประกัน
ทำให้บริษัทต้องกู้เงินมาขยายธุรกิจ โดยนำเอาสินทรัพย์ GPU เหล่านั้นเป็นหลักประกัน
ขณะนี้ CoreWeave มีหนี้สินอยู่ประมาณ 285,000 ล้านบาท ที่อัตราดอกเบี้ยสูงถึง 15% ซึ่งเป็นปัจจัยที่ยังทำให้บริษัทขาดทุนหนัก 30,000 ล้านบาท ในปีที่แล้ว
ดังนั้น หากเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ธุรกิจหยุดชะงัก ก็อาจส่งผลร้ายแรงไปถึงความอยู่รอดของบริษัทได้เลย
อย่างไรก็ตาม จากเรื่องราวนี้คงสะท้อนให้เห็นว่า พลังการประมวลผล AI กำลังเป็นเหมืองทองคำแห่งใหม่ของโลก
ซึ่งถ้าเรามองเกมขาด และกล้าลงมือทำก่อนใคร
ก็อาจสร้างข้อได้เปรียบ และสามารถโลดแล่นไปพร้อมกับเทรนด์ได้เหมือนกับ CoreWeave นั่นเอง
ก็อาจสร้างข้อได้เปรียบ และสามารถโลดแล่นไปพร้อมกับเทรนด์ได้เหมือนกับ CoreWeave นั่นเอง
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
รู้ไหมว่า Nvidia ไม่ได้ทำเงินจากการขาย GPU ให้ CoreWeave เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ทาง Nvidia ลงทุนใน CoreWeave มาตั้งแต่ปี 2023 ด้วย
โดยหลัง CoreWeave ระดมทุน IPO เข้าตลาด เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา Nvidia ถือหุ้น CoreWeave จำนวน 24.2 ล้านหุ้น หรือเป็นสัดส่วน 6.7% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ซึ่งมีมูลค่าราว 40,000 ล้านบาท
แต่หลัง 4 เดือนผ่านมา มูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 134,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นผลตอบแทนถึง 235%..
หมายเหตุ : บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาชี้นำให้ซื้อหรือขายหุ้น การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วน ก่อนการตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง