ABB บริษัทลูกครึ่ง มูลค่า 3.5 ล้านล้าน กระดูกสันหลัง โรงงานทั่วโลก

ABB บริษัทลูกครึ่ง มูลค่า 3.5 ล้านล้าน กระดูกสันหลัง โรงงานทั่วโลก

ABB บริษัทลูกครึ่ง มูลค่า 3.5 ล้านล้าน กระดูกสันหลัง โรงงานทั่วโลก /โดย ลงทุนแมน
สิ่งที่ทำให้โลกทุกวันนี้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ก็คือ การเพิ่มขึ้นของ Productivity ในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเกิดจากการนำระบบหุ่นยนต์แขนกลอัตโนมัติ เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตของตน
ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่ม Productivity แล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายจากการทำงาน ให้กับพนักงานอีกด้วย
และหนึ่งในบริษัท ผู้อยู่เบื้องหลังเทคโนโลยีที่ว่านี้ คือบริษัทที่มีชื่อว่า “ABB” ซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดในโลก
ABB กลายมาเป็นเบอร์หนึ่ง ในวงการหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ได้อย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ABB เป็นบริษัทเทคโนโลยีวิศวกรรม ลูกครึ่งสวิสและสวีเดน เกิดจากการควบรวม ของสองบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของยุโรป ก็คือ ASEA AB จากสวีเดน และ Brown Boveri AG จากสวิตเซอร์แลนด์
ซึ่งจุดเริ่มต้นของ ABB นั้น ต้องย้อนกลับไปในปี 1883 หรือเมื่อ 141 ปีก่อน
คุณ Ludvig Fredholm นักธุรกิจและนักอุตสาหกรรมชาวสวีเดน ได้ก่อตั้งบริษัท Elektriska Aktiebolaget ขึ้น โดยในช่วงแรก ทำธุรกิจผลิตไฟสำหรับส่องสว่าง
ก่อนที่ในปี 1890 Elektriska Aktiebolaget ได้ควบรวมกับ Wenströms & Granströms Elektriska Kraftbolag ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานไฟฟ้าของสวีเดน
และเปลี่ยนชื่อเป็น Allmänna Svenska Elektriska Aktiebolaget หรือ ASEA
ASEA เป็นผู้ที่สามารถพัฒนาระบบไฟฟ้า 3 เฟสได้สำเร็จเป็นเจ้าแรกในสวีเดน ซึ่งระบบไฟฟ้า 3 เฟสนี้ ถือว่ามีความสำคัญมากในอุตสาหกรรม
แต่จุดที่ทำให้ ASEA กลายเป็นผู้นำด้านหุ่นยนต์อุตสาหกรรม เกิดขึ้นในปี 1974
เมื่อบริษัทประสบความสำเร็จในการพัฒนา “IRB6”
ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ตัวแรกของโลก ที่ใช้ระบบไฟฟ้าทั้งหมด และควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ 100%
ก่อนที่ในเวลาต่อมา IRB6 จะได้รับการอัปเกรด จนสามารถทำงานในภาคอุตสาหกรรม อย่างการเชื่อมโลหะด้วยกระแสไฟฟ้า (Arc Welding) ได้ในปี 1975
ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมา ASEA ก็ได้นำหุ่นยนต์รุ่นเดิมมาอัปเกรด และออกหุ่นยนต์ที่มีฟังก์ชันการใช้งานอื่น ๆ ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ช่วยยกระดับเทคโนโลยีการผลิตในอุตสาหกรรม อย่างเช่น
พัฒนาหุ่นยนต์ที่เคลื่อนไหวได้หลายทิศทาง ซึ่งเหมาะกับงานที่ต้องการความละเอียดและความแม่นยำสูง เช่น การเชื่อมในพื้นที่แคบ หรือการประกอบชิ้นส่วนที่ซับซ้อน
หรือในปี 1985 บริษัทได้เปิดตัวหุ่นยนต์ที่ใช้ในงานพ่นสีเป็นรุ่นแรก และต่อมาก็ได้อัปเกรดความสามารถให้ดีขึ้น ซึ่งช่วยลดต้นทุน และของเสียจากกระบวนการผลิตลงได้
โดยเฉพาะหุ่นยนต์สำหรับยกของ และหุ่นยนต์สำหรับแพ็กของ ซึ่งสร้างชื่อเสียงในวงการหุ่นยนต์อุตสาหกรรมให้แก่บริษัท เป็นอย่างมาก
จนกระทั่งในปี 1988 ASEA ก็ได้ควบรวมกิจการกับ Brown Boveri AG บริษัทด้านพลังงานไฟฟ้าสัญชาติสวิส กลายเป็น Asea Brown Boveri ซึ่ง ABB ก็ย่อมาจากชื่อบริษัทใหม่นั่นเอง
โดยในปี 2022 ที่ผ่านมา ABB ครองส่วนแบ่งตลาดผู้ผลิตหุ่นยนต์อุตสาหกรรมถึง 21% ซึ่งถือว่ามากเป็นอันดับ 1 ของผู้ผลิตหุ่นยนต์อุตสาหกรรมทั่วโลก
สำหรับรายได้ของ ABB จะมาจาก 4 ส่วน คือ
- 45% มาจาก Electrification :
ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับระบบการจ่ายไฟฟ้า ไล่ตั้งแต่ปลั๊กไฟ ไปจนถึงสถานีไฟฟ้าย่อย เครื่องมือวัดและเซนเซอร์ ตู้และเบรกเกอร์ไฟฟ้า
นอกจากนี้ยังมีโซลูชันที่เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า เช่น ระบบพลังงานหมุนเวียน ระบบอัจฉริยะสำหรับบ้านและอาคาร ระบบอัตโนมัติสำหรับการกระจายพลังงาน
- 24% มาจาก Motion :
ผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ให้กับลูกค้าในภาคอุตสาหกรรม
- 20% มาจาก Process Automation :
โซลูชันแบบครบวงจรที่ออกแบบเฉพาะสำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น ระบบอัตโนมัติ การจัดการไฟฟ้า และโซลูชันดิจิทัลอย่างการควบคุมระยะไกล การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน การติดตามการปล่อยมลพิษ
- 11% มาจาก Robotics & Discrete Automation :
เป็นผลิตภัณฑ์และโซลูชัน ที่เกี่ยวข้องกับหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
จะเห็นว่าแม้ ABB คือเบอร์หนึ่งด้านหุ่นยนต์อุตสาหกรรม แต่รายได้จากส่วนของหุ่นยนต์นั้น กลับเป็นรายได้ส่วนน้อยของบริษัท
แล้วผลประกอบการของ ABB เป็นอย่างไรบ้าง ?
ปี 2021
- รายได้ 1.0 ล้านล้านบาท
- กำไร 1.6 แสนล้านบาท
ปี 2022
- รายได้ 1.0 ล้านล้านบาท
- กำไร 0.9 แสนล้านบาท
ปี 2023
- รายได้ 1.1 ล้านล้านบาท
- กำไร 1.3 แสนล้านบาท
ซึ่งในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา ABB ก็มีการเข้าซื้อกิจการอื่นอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมแกร่งให้กับบริษัท
โดยมูลค่าบริษัท ABB ในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 3.5 ล้านล้านบาท ซึ่งถือเป็น TOP 3 บริษัทด้านวิศวกรรมที่มีมูลค่ามากที่สุดของโลก
ทั้งหมดนี้คือ ABB ผู้นำด้านหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ผู้เป็นดั่ง “กระดูกสันหลัง” ของโรงงานทั่วโลก..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-ABB Financial Report 2023
-https://global.abb/group/en/investors/investor-and-shareholder-resources
-https://new.abb.com/africa/about/abb-in-brief
-https://global.abb/group/en/about/history
-https://new.abb.com/products/robotics/events/50-years-of-robotic-innovation
-https://robotsdoneright.com/Articles/history-of-abb-robots.html?srsltid=AfmBOorwPH829tFrgbZtXXn2IR8-EyoUsmR3tnWekfzWKVyq3gtJ-Pu_
-https://www.statista.com/chart/32239/global-market-share-of-industrial-robotics-companies/
-https://companiesmarketcap.com/engineering/largest-companies-by-market-cap/

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

SPONSORED

“แอสเซทไวส์” ลุยเติมจิ๊กซอว์พอร์ตแนวราบ จับดีมานด์พุ่งตลาด “บ้านตากอากาศ” ส่งแบรนด์ใหม่ “ฌาน เดอะ ริเวอร์ไซด์ บรมราชชนนี” บ้านเดี่ยวริมแม่น้ำท่าจีน-ใกล้กรุงเทพฯ มูลค่า 1,800 ล้านบาท ส่องศักยภาพไพร์มโลเคชัน “นครปฐม” โตต่อเนื่อง ชี้ที่ดินราคาพุ่ง 82%

บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ ลุยเสริมแกร่งพอร์ตอสังหาฯ แนวราบบนทำเลศักยภาพเพื่อป้อนเรียลดีมานด์ต่อเนื่อง ล่าสุดเขย่าวงการอสังหาฯ เปิดตัวโครงการบ้านเดี่ยว 2 ชั้น ริมแม่น้ำโครงการแรกของบริษัทฯ ภายใต้แบรนด์ใหม่ “ฌาน เดอะ ริเวอร์ไซด์ บรมราชชนนี” (CHANN The Riverside Boromratchachonnani)
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon