ผู้สนับสนุน.. กรณีศึกษา โรงพยาบาลพระรามเก้า

ผู้สนับสนุน.. กรณีศึกษา โรงพยาบาลพระรามเก้า

21 ต.ค. 2018
ผู้สนับสนุน..
กรณีศึกษา โรงพยาบาลพระรามเก้า / โดย ลงทุนแมน
โรงพยาบาลพระรามเก้า
เป็นโรงพยาบาลที่อยู่คู่กับคนไทยมาตั้งแต่ปี 2535
แล้วโรงพยาบาลแห่งนี้มีจุดเด่นด้านไหนบ้าง
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
จากข้อมูลสถิติของกรมกิจการผู้สูงอายุ พบว่า
ในปี 2560 ประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 10,225,322 คน คิดเป็น 15.5% ของประชากรทั้งหมด
และคาดว่าในปี 2564 สัดส่วนดังกล่าวจะอยู่ที่ 20% หรือเป็นสังคมผู้สูงอายุระดับสมบรูณ์ (Aged society)
ขณะที่ในปี 2574 สัดส่วนผู้สูงอายุจะอยู่ที่ 28% ของประชากรทั้งหมดจนทำให้สังคมไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด (Super-aged society)
เรื่องนี้จึงทำให้หลายคนหันมาสนใจรักษาสุขภาพตัวเองกันมากขึ้น เพราะอยากแก่แบบมีคุณภาพ และบริการด้านสุขภาพจึงเป็นที่ต้องการในสังคมของเรายิ่งกว่าที่เคย
ยิ่งไปกว่านั้น รัฐบาลยังมีนโยบายผลักดันให้ประเทศไทยเป็น Medical Hub ที่จะกลายเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ของภูมิภาคนี้
ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้ธุรกิจโรงพยาบาลได้รับผลประโยชน์ และหนึ่งในนั้นก็คือ โรงพยาบาลพระรามเก้า หรือ ‘PR9’ ที่ได้เสนอขายหุ้น IPO ไปเมื่อวันที่ 16 - 19 ต.ค. 2561 ที่ผ่านมา ในราคา 11.60 บาทต่อหุ้น และจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ประมาณวันที่ 30 ต.ค. นี้
โรงพยาบาลพระรามเก้า เป็น โรงพยาบาลที่ให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ครอบคลุม ตั้งแต่การให้บริการส่งเสริมสุขภาพ ตรวจหาความเสี่ยง ป้องกัน รักษา และฟื้นฟู ทั้งโรคทั่วไป และโรคซับซ้อนต่างๆ โดยมีสถาบันทางการแพทย์ที่โดดเด่น 2 สถาบัน ได้แก่
สถาบันโรคไตและเปลี่ยนไตพระรามเก้า ที่ดำเนินการผ่าตัดเปลี่ยนไตมากเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศไทย ในกลุ่มโรงพยาบาลเอกชน และ สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า
นอกจากนี้ยังมีศูนย์การแพทย์เฉพาะทางทั้งหมด 20 ศูนย์ ทำให้โรงพยาบาลฯ มีบริการที่หลากหลาย มีทีมแพทย์และทีมสหสาขาวิชาชีพที่พร้อมให้การดูแลผู้เข้ารับบริการอย่างทันท่วงทีและมีความต่อเนื่อง
โรงพยาบาลพระรามเก้า ยังเป็นโรงพยาบาลที่ได้รับมาตรฐานสถานพยาบาลระดับนานาชาติจาก Joint Commission International (JCI) ประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน
โดยมีจุดเด่นทางธุรกิจคือ
1. ศักยภาพการให้บริการรักษาโรคซับซ้อนด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพ
โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2558 - 2560) การรักษาโรคซับซ้อน เช่น โรคที่เกี่ยวข้องกับไต โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจขาดเลือด ที่จะเพิ่มขึ้นตามจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น สามารถสร้างรายได้ให้โรงพยาบาลพระรามเก้ามากถึง 40% ของรายได้จากกิจการโรงพยาบาลทั้งหมด
2. การให้บริการทางการแพทย์ในอัตราที่สมเหตุสมผล (Value for Money) ที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยในการขยายฐานผู้ใช้บริการในกลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้ระดับปานกลางขึ้นไป โดยผู้ใช้บริการกลุ่มนี้ มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่มีการให้บริการในระดับเดียวกับโรงพยาบาลระดับแนวหน้า
3. ทำเลที่ตั้งของโรงพยาบาล ที่อยู่ในเขตศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ (New CBD) ครอบคลุมตั้งแต่บริเวณถนนพระราม 9 ถนนรัชดาภิเษก และถนนเพชรบุรีตัดใหม่ โดยมีศักยภาพและโอกาสในการขยายตัวสูง เพราะมีการเพิ่มขึ้นของที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน และห้างสรรพสินค้า
ซึ่งเป้าหมายของโรงพยาบาล คือการสร้างการเติบโตผ่านกลยุทธ์การแข่งขัน ดังนี้
การขยายฐานผู้ใช้บริการ
ผ่านความร่วมมือทางการแพทย์กับโรงพยาบาลอื่นๆ การขยายฐานกลุ่มลูกค้าคู่สัญญาองค์กร และการขยายฐานผู้ใช้บริการชาวต่างชาติซึ่งมีรายจ่ายต่อหัวค่อนข้างสูงให้มีจำนวน 15% ของผู้ใช้บริการทั้งหมด ภายในปี 2565
การก่อสร้างอาคารใหม่และปรับปรุงอาคารปัจจุบัน
เพื่อเพิ่มความสามารถในการรองรับผู้ใช้บริการ จาก 166 เป็น 313 เตียง ภายในปี 2565 โดยคาดว่าอาคารใหม่จะสามารถเปิดให้บริการได้ในไตรมาส 4 ปี 2562
การก้าวสู่การเป็น Digital Hospital
ด้วยแผนการนำเทคโนโลยีมายกระดับประสิทธิภาพในการดำเนินการและสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้ใช้บริการ เช่น การใช้ Telemedicine มาช่วยให้โรงพยาบาลพระรามเก้าที่เป็น Stand-Alone Hospital สามารถเข้าถึงผู้ใช้บริการที่อยู่ห่างไกลได้โดยไม่ต้องเปิดสาขาใหม่ และยังมีการพัฒนาระบบกระบวนการทำงานแบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
การปรับภาพลักษณ์องค์กรและการทำการตลาดเชิงรุก
กล่าวได้ว่าโรงพยาบาลพระรามเก้ามีการให้บริการที่มีคุณภาพและมีฐานผู้ใช้บริการเดิมที่มีความภักดีต่อแบรนด์อยู่แล้ว ที่เหลือก็คือการตีกลองให้ดัง เพื่อสะท้อนจุดแข็งออกมากให้ชัดเจนเพื่อดึงดูดลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ และขยายการเติบโตทางธุรกิจเพียงเท่านั้นเอง
ผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลพระรามเก้าย้อนหลัง 3 ปี
ปี 2558 รายได้รวม 1,996.4 ล้านบาท กำไร 189.3 ล้านบาท
ปี 2559 รายได้รวม 2,272.5 ล้านบาท กำไร 259.8 ล้านบาท
ปี 2560 รายได้รวม 2,455.2 ล้านบาท กำไร 262.3 ล้านบาท
คิดเป็นการเติบโตของรายได้เฉลี่ยปีละประมาณ 11% และที่สำคัญเป็นโรงพยาบาลฯ ที่ไม่มีหนี้สิน
ซึ่งปณิธานของทีมผู้บริหารโรงพยาบาลพระรามเก้า คือ การพัฒนาโรงพยาบาลพระรามเก้าให้ไปข้างหน้าอย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง ตามวิสัยทัศน์ที่จะก้าวสู่การเป็น “ศูนย์รวมด้านการดูแลสุขภาพที่ทันสมัยและได้รับความไว้วางใจมากที่สุด” ด้วย Brand perception “Professional Healthcare Community”
ทั้งนี้ก็เพื่อให้ทุกคนไว้วางใจและเข้ามาใช้บริการ โดยได้รับบริการสุขภาพที่ดีกว่าเดิม ครบกว่าเดิม ทั้งด้านคุณภาพและความคุ้มค่า..
ใครที่ไม่ได้สิทธิ์ในการซื้อหุ้น IPO ถ้าอยากร่วมเป็นเจ้าของโรงพยาบาลนี้ก็สามารถซื้อในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งเป็นตลาดรองได้ โดยหุ้นนี้จะมีชื่อย่อว่า ‘PR9’ โดยวันแรกที่จะเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์คือวันที่ 30 ต.ค. นี้
นักลงทุนที่สนใจสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://investor.praram9.com/th
หมายเหตุ
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนลงทุน บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาชี้ชวนให้ซื้อหุ้นตัวนี้
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.