
เงินหลังเกษียณของ พนักงานเงินเดือน มีอะไรบ้าง
เงินหลังเกษียณของ พนักงานเงินเดือน มีอะไรบ้าง / โดย ลงทุนแมน
สำหรับคนทำงาน เคยสงสัยไหมว่า
เราจะมีเงินหลังเกษียณในรูปแบบไหนบ้าง เพียงพอหรือไม่
เราจะมีเงินหลังเกษียณในรูปแบบไหนบ้าง เพียงพอหรือไม่
สำหรับมนุษย์เงินเดือนภาคเอกชน
มักจะมีเงินหลังเกษียณ 2 ก้อนหลักๆ คือ
1. เงินกองทุนชราภาพ
2. เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
มักจะมีเงินหลังเกษียณ 2 ก้อนหลักๆ คือ
1. เงินกองทุนชราภาพ
2. เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กรณีของเงินกองทุนชราภาพนั้นเป็นส่วนหนึ่งของ เงินประกันสังคม
มนุษย์เงินเดือนทุกคนจะถูกหักเงินประกันสังคมออกไปจากเงินเดือนของเรา 5% หรือสูงสุดไม่เกิน 750 บาทต่อเดือน ในขณะที่นายจ้างจะสมทบให้อีกส่วนหนึ่ง
โดยเงินประกันสังคมจะถูกแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
1. รักษาพยาบาล + คลอดบุตร + ทุพพลภาพ + เสียชีวิต จำนวน 225 บาท
2. ประกันการว่างงาน จำนวน 75 บาท
3. เงินออมเพื่อเกษียณ หรือเงินกองทุนชราภาพ จำนวน 450 บาท
หมายความว่า เงินประกันสังคมที่เราจ่ายเดือนละ 750 บาทนั้น 60% จะถูกนำไปออมในอนาคต โดยอาจอยู่ในรูปแบบเงินก้อน (เงินบำเหน็จ) และเงินที่รับไปตลอดชีวิต (เงินบำนาญ)
ซึ่งถ้าเราออกจากงาน และอายุเกิน 55 ปี เราก็จะมีสิทธิ์รับเงินดังกล่าว แต่จะได้แบบไหนขึ้นอยู่กับว่าเราส่งเงินประกันสังคมมากี่เดือน
ถ้าเราส่งมาน้อยกว่า 180 เดือน เราจะได้ เงินบำเหน็จ
แต่ถ้าส่งมามากกว่า 180 เดือน เราจะได้ เงินบำนาญ
แต่ถ้าส่งมามากกว่า 180 เดือน เราจะได้ เงินบำนาญ
กรณีของเงินบำนาญนั้น จะใช้ฐานเงินเดือนที่มาคิดสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
มาคูณกับอัตราเงินบำนาญ โดยอายุงาน 15 ปีแรกคิดที่ 20% และปีต่อๆ ไปเพิ่มปีละ 1.5%
มาคูณกับอัตราเงินบำนาญ โดยอายุงาน 15 ปีแรกคิดที่ 20% และปีต่อๆ ไปเพิ่มปีละ 1.5%
ตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีระยะเวลาทำงานทั้งหมด 30 ปี หรือ 360 เดือน ที่ส่งเงินประกันสังคม ถ้าใช้ฐานเงินเดือนสูงสุดที่นำมาคิด คือ 15,000 บาท คูณกับอัตราเงินบำนาญที่ 42.5%
ดังนั้น เขาจะได้รับเงินบำนาญต่อเดือนสูงสุดเท่ากับ 6,375 บาท จนเสียชีวิต
ทีนี้ลองมาดูเงินอีกก้อนคือ เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ถ้าใครเข้าร่วมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินจะถูกหักจากเงินเดือน และนายจ้างสมทบให้อีกส่วนหนึ่ง
ข้อมูลจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไทย ณ สิ้นเดือนกันยายนปี 2561
จำนวนสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่ที่ประมาณ 3 ล้านคน
จำนวนสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่ที่ประมาณ 3 ล้านคน
มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งระบบอยู่ที่ 1.15 ล้านล้านบาท
แต่ไม่ใช่แรงงานทุกคนจะมีเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เนื่องจาก บริษัทในประเทศไทยจำนวนเพียง 18,178 แห่งที่มีสวัสดิการดังกล่าว ถือว่ามีสัดส่วนที่น้อย
เมื่อเทียบกับจำนวนบริษัทที่จดทะเบียนและดำเนินธุรกิจในประเทศไทยที่มากกว่า 680,000 ราย
เมื่อเทียบกับจำนวนบริษัทที่จดทะเบียนและดำเนินธุรกิจในประเทศไทยที่มากกว่า 680,000 ราย
ด้วยจำนวนเงินดังกล่าวจากทั้งกองทุนชราภาพ และ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คงตอบไม่ได้ว่าเพียงพอหรือไม่ สำหรับให้ใช้ในยามเกษียณ เพราะแต่ละคนนั้นมีการใช้ชีวิตที่ไม่เหมือนกัน
อย่างไรก็ตาม ถ้าเราเชื่อว่าอนาคต ภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ จะแพงขึ้นมากกว่าปัจจุบัน
ก็คงจะดีกว่า ถ้าเราเริ่มต้นที่จะวางแผนชีวิตของเราในวันนี้อย่างรอบคอบ
ก็คงจะดีกว่า ถ้าเราเริ่มต้นที่จะวางแผนชีวิตของเราในวันนี้อย่างรอบคอบ
ดังนั้นนอกจากเงินประกันสังคม และ เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เราก็ควรจะออมเงินด้วยตนเองอีกส่วนหนึ่งไว้ด้วย
อย่างน้อยก็เพื่อให้มั่นใจว่า
เราจะมีเงินมากพอให้ใช้ ในตอนที่เราเกษียณแล้ว..
----------------------
สำหรับใครที่ยังไม่เข้าใจเรื่อง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่
https://www.blockdit.com/articles/5b7d245747ac0070f5214b58
เราก็ควรจะออมเงินด้วยตนเองอีกส่วนหนึ่งไว้ด้วย
อย่างน้อยก็เพื่อให้มั่นใจว่า
เราจะมีเงินมากพอให้ใช้ ในตอนที่เราเกษียณแล้ว..
----------------------
สำหรับใครที่ยังไม่เข้าใจเรื่อง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่
https://www.blockdit.com/articles/5b7d245747ac0070f5214b58
ติดตามเรื่องหลากหลาย จากผู้เขียนเก่งๆ หลายท่าน ในแอป blockdit โหลดได้ที่ http://www.blockdit.com
สั่งซื้อหนังสือลงทุนแมน 9.0 ได้ที่
Lazada: https://www.lazada.co.th/products/90-i293980783-s493954943.html
Lazada: https://www.lazada.co.th/products/90-i293980783-s493954943.html
Shopee: https://shopee.co.th/Longtunman-หนังสือ-ลงทุนแมน-9.0-i.116732911.1933827833
----------------------
----------------------
References
-https://themomentum.co/social-security-benefits/
-https://www.sso.go.th/wpr/main/service/กองทุนประกันสังคม_detail_detail_1_125_695/235_235
-http://capital.sec.or.th/webapp/thaipvd/apps/pvdreports2/stat12.php
-https://www.worldlifeexpectancy.com/thailand-life-expectancy
-https://www.thaipost.net/main/detail/9742
-http://www.nso.go.th/sites/2014
-http://capital.sec.or.th/webapp/thaipvd/apps/pvdreports2/stat11.php
-http://www.thaipvd.com/content_th.php?content_id=00123
-ข้อมูลการจดทะเบียนนิติบุคคล ประจำปี 2560
-https://themomentum.co/social-security-benefits/
-https://www.sso.go.th/wpr/main/service/กองทุนประกันสังคม_detail_detail_1_125_695/235_235
-http://capital.sec.or.th/webapp/thaipvd/apps/pvdreports2/stat12.php
-https://www.worldlifeexpectancy.com/thailand-life-expectancy
-https://www.thaipost.net/main/detail/9742
-http://www.nso.go.th/sites/2014
-http://capital.sec.or.th/webapp/thaipvd/apps/pvdreports2/stat11.php
-http://www.thaipvd.com/content_th.php?content_id=00123
-ข้อมูลการจดทะเบียนนิติบุคคล ประจำปี 2560