BAM บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ใหญ่สุดในไทย กำลังจะ IPO

BAM บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ใหญ่สุดในไทย กำลังจะ IPO

13 พ.ย. 2019
ผู้สนับสนุน..
BAM บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ใหญ่สุดในไทย กำลังจะ IPO
BAM เป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์รายใหญ่อันดับต้นๆ ของไทย
มีความชำนาญในธุรกิจนี้นานกว่า 20 ปี โดยมีสาขาครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
ล่าสุด BAM กำลังจะระดมทุนจากประชาชนทั่วไปครั้งแรกหรือ IPO
ซึ่งจะทำให้ BAM กลายเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ใหญ่สุดในตลาดหลักทรัพย์
เรื่องนี้น่าสนใจอย่างไร? ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
“ทุกวิกฤติมีโอกาสซ่อนอยู่เสมอ”
ประโยคนี้คงใช้ได้ดีกับเรื่องของธุรกิจบริหารสินทรัพย์
ย้อนกลับไปในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ปี 2540
ตอนนั้นสัดส่วนหนี้ด้อยคุณภาพหรือ NPLs ต่อสินเชื่อรวมของธนาคารในประเทศ สูงถึง 42%
ทำให้สถาบันการเงินต้องตั้งสำรองเพิ่มขึ้น จึงปล่อยสินเชื่อให้ได้น้อยลง
ส่งผลกระทบต่อการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจในประเทศอย่างรุนแรง
พอเรื่องเป็นแบบนี้จึงเกิดธุรกิจที่เรียกว่า “ธุรกิจบริหารสินทรัพย์” ขึ้น เพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการ NPLs ต่อจากสถาบันการเงิน
ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ จึงถือเป็นกลไกที่สำคัญในการสร้างเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินของประเทศไทย
BAM หรือ บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ก็เป็นหนึ่งในบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2542
ธุรกิจของ BAM มี 2 ส่วนหลัก คือ
1. บริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (NPLs) โดย BAM จะซื้อ NPLs จากสถาบันการเงิน หลังจากนั้นจึงนำมาเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อให้ได้ข้อตกลงที่ทั้งฝ่ายลูกหนี้และเจ้าหนี้พอใจ ซึ่ง NPLs ที่รับซื้อมาส่วนใหญ่จะมีหลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์
2. บริหารจัดการทรัพย์สินรอการขาย (NPAs) ไม่ว่าจะเป็นที่ดินเปล่า โรงแรม อาคารเพื่อการพาณิชย์ และที่อยู่อาศัยประเภทอื่น โดยมีที่มาจากการเจรจากับลูกหนี้เพื่อโอนหลักประกันหรือโอนทรัพย์ชำระหนี้, การบังคับทรัพย์หลักประกันเพื่อชำระหนี้ และการซื้อทรัพย์สินรอการขายจากสถาบันการเงินอื่นโดยตรง
โดย ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2562 สินทรัพย์ที่อยู่ภายใต้การบริหารของ BAM มีมูลค่าเกือบแสนล้านบาท แบ่งเป็น
NPLs 76,749 ล้านบาท ซึ่งหลักประกันของ NPLs ดังกล่าวมีราคาประเมิน 190,408 ล้านบาท
NPAs 22,506 ล้านบาท มีราคาประเมิน 53,414 ล้านบาท
การดำเนินธุรกิจของ BAM มียุทธศาสตร์ 3 ข้อหลัก ได้แก่ การขยายฐานทรัพย์สิน, การลดระยะเวลาการดำเนินการและเพิ่มผลเรียกเก็บเงินสดของบริษัท, และการฝึกอบรบพนักงานและกำหนดแผนการสืบทอดตำแหน่ง เพื่อพัฒนาศักยภาพขององค์กร
ทำให้ BAM มีผลการดำเนินงานที่เติบโต และสามารถคงความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าและสถาบันการเงินที่ขาย NPLs และ NPAs
โดยจุดเด่นที่สำคัญอีกอย่างของ BAM คือ ความสามารถในการสร้างโอกาสทางธุรกิจได้ในทุกภาวะเศรษฐกิจ
ช่วงเศรษฐกิจขาลงจะมี NPLs และ NPAs ในระบบมากขึ้น ทำให้ BAM มีโอกาสเลือกซื้อสินทรัพย์เหล่านี้เพื่อนำมาบริหารจัดการต่อในราคาที่เหมาะสม
ช่วงเศรษฐกิจขาขึ้น ลูกหนี้มีความสามารถในการชำระหนี้มากขึ้น รวมถึงลูกค้าของ BAM ก็มีกำลังซื้อ NPAs เพิ่มขึ้นเช่นกัน
แล้วผลการดำเนินงานของ BAM เป็นอย่างไร?
ปี พ.ศ. 2560 เงินสดรับ (Cash Collection) 13,516 ล้านบาท รายได้ 7,626 ล้านบาท กำไร 4,501 ล้านบาท
ปี พ.ศ. 2561 เงินสดรับ 16,569 ล้านบาท รายได้ 9,751 ล้านบาท กำไร 5,202 ล้านบาท
เพิ่มขึ้น 23% 28% และ 16% ตามลำดับ
โดยสำหรับงวด 6 เดือนของปีนี้
เงินสดรับ 10,860 ล้านบาท รายได้ 6,641 ล้านบาท กำไร 4,001 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน 51% 58% และ 86% ตามลำดับ
ทั้งหมดนี้จึงตอกย้ำเป้าหมายสำคัญของ BAM ซึ่งก็คือ การเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ดีสุดของประเทศ ทั้งด้านการบริหารงานที่เป็นเลิศ และการส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกหนี้และลูกค้า
และที่สำคัญสุด BAM ยังเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ..
สำหรับผู้ที่สนใจและต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวบริษัท
สามารถเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มได้ที่ https://market.sec.or.th/public/ipos/IPOSEQ01.aspx?TransID=266562
หรือเว็บไซต์บริษัท http://investor.bam.co.th
หมายเหตุ: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้าเงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.