กรณีศึกษา โมเดลความยั่งยืนของ L’Oréal

กรณีศึกษา โมเดลความยั่งยืนของ L’Oréal

4 ส.ค. 2020
L’Oréal x ลงทุนแมน
กรณีศึกษา โมเดลความยั่งยืนของ L’Oréal
โลกเรามีขีดจำกัดในการรับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ อยู่
และเรามีเวลา 10 ปีที่ทุกคนและทุกอุตสาหกรรมต้องเร่งแก้ไข
ก่อนที่โลกจะไม่ปลอดภัยและรายล้อมด้วยสารพัดมลพิษเกินกว่ามนุษย์เราจะรับได้
ยกตัวอย่างปัญหาใกล้ตัวเราเช่น...การใช้พลาสติกทั่วโลกที่แต่ละปีมากถึง 300 ล้านตัน
โดย 50% เป็นพลาสติกใช้ครั้งเดียว และมีการนำไปรีไซเคิลไม่ถึง 10%
ปัญหาขยะพลาสติกจึงเป็นอีกวิกฤติใหญ่ของโลกขณะนี้
แล้วเรื่องนี้ส่งผลร้ายอะไรกับโลกของเรา?
ก็ต้องบอกว่า ดิน น้ำ อากาศ แหล่งอาหาร บนโลกจะมีสุขภาพแย่ลงเรื่อยๆ
ปรากฏการณ์นี้ กำลังทำให้บริษัทความงามอันดับหนึ่งของโลกที่มีอายุ 100 กว่าปี
และมียอดขายเกือบ 1.06 ล้านล้านบาทอย่าง L’Oréal
เร่งปรับเปลี่ยนตัวเองหลายอย่างเพื่อโลก และเพื่อเป็นแบบอย่างแก่บริษัทอื่นๆ ให้ร่วมด้วยช่วยกัน
แล้ว L’Oréal กำลังทำอะไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ความจริงแล้ว L’Oréal มองเห็นปัญหาเหล่านี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 หรือ 40 ปีที่แล้ว
ซึ่งที่ผ่านมาก็พยายามทำหลายวิถีทางเพื่อคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
ทั้งการเป็นบริษัทแนวหน้าที่คิดค้นเนื้อเยื่อผิวสังเคราะห์เพื่อทดสอบสินค้าความงาม
และเลิกการทดลองกับสัตว์ก่อนที่จะมีกฎหมายออกมาถึง 14 ปี
รวมไปถึงพัฒนาโรงงานและศูนย์กระจายสินค้าให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 78%
ล่าสุดเมื่อปีที่แล้ว L’Oréal ทำให้ทั้งสินค้าใหม่และสินค้าที่ปรับสูตรใหม่ถึง 85% ได้ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
เรื่องทั้งหมดดูเหมือนจะดี เพียงแต่ภาพความจริงสิ่งแวดล้อมบนโลกวันนี้ไม่ได้สวยงามอย่างที่คิด เมื่อต้องยอมรับว่าเกือบทุกอุตสาหกรรม และมนุษย์ทุกคน ล้วนแล้วแต่เป็นผู้มีส่วนทำร้ายสิ่งแวดล้อม
และหากไม่รีบเร่งแก้ปัญหานี้
นับวันก็จะวิกฤติขึ้นเรื่อยๆ จนวันหนึ่งมันอาจจะสายเกินจะแก้ไข
ก็เลยทำให้ L’Oréal มีนโยบายด้านความยั่งยืนใหม่ คือตั้งแต่วันนี้จนถึงปี พ.ศ. 2573
ธุรกิจของตัวเองต้องดำเนินอยู่ภายใต้ขีดจำกัดความปลอดภัยของโลก
อธิบายง่ายๆ ก็คือ นำหลักการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ประเมินศักยภาพของโลกในการรับมือกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมว่าอยู่ระดับใด และต้องทำธุรกิจอย่างไรไม่ให้เกิดผลกระทบเกินศักยภาพของโลก
เรื่องนี้จึงทำให้ L’Oréal ในทุกๆ ประเทศทั่วโลกต้องกำหนดเป้าหมายเหมือนกันหมด
ปี พ.ศ. 2568 โรงงาน ศูนย์กระจายสินค้า และออฟฟิศ ทุกๆ แห่งในโลก
ต้องบรรลุการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์
ปี พ.ศ. 2573 แพ็กเกจจิงที่เป็นพลาสติก 100% จะต้องมาจากพลาสติกรีไซเคิลหรือวัสดุชีวภาพ ส่วนผสมในสูตร 95% จะต้องมาเป็นวัตถุดิบชีวภาพ
อีกทั้ง การใช้สินค้าทุกชิ้นต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 25%
จนถึงการจัดสรรทุน 5,500 ล้านบาทเพื่อช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก
คำถามคือแล้วผู้บริโภคทั่วโลก ณ วันนี้รู้สึกอย่างไร
กับบริษัทที่เบนเข็มธุรกิจมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มตัว
ผลวิจัยต่างๆ ระบุว่าคนรุ่นใหม่เลือกซื้อสินค้าที่รู้สึกว่าเป็นแบรนด์ที่รักสิ่งแวดล้อม
ส่วนในฝั่ง L’Oréal ก็ได้มีการใช้สื่อให้ข้อมูลผู้บริโภค 1,500 ล้านคน
ถึงข้อดีสินค้าความงามที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ทีนี้หลายคนคงถามต่อว่าแล้ว L’Oréal ในประเทศไทยตื่นตัวเรื่องนี้มากแค่ไหน
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า L’Oréal ในประเทศไทยจะไม่มีโรงงานผลิตและศูนย์วิจัย จะมีเพียงศูนย์กระจายสินค้าในจังหวัดฉะเชิงเทรา
ซึ่งนั่นหมายถึง สินค้า 22 แบรนด์ของ L’Oréal เป็นการนำเข้ามาทั้งหมด และคนไทยจะได้ใช้สินค้า L’Oréal ที่พัฒนาด้าน GREEN BEAUTY เหมือนกับคนอื่นๆ ทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม ศูนย์กระจายสินค้าในจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รับการรับรองว่าเป็นอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีการดำเนินงานพัฒนาด้านความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง
ขณะเดียวกันหลายปีที่ผ่านมา L’Oréal ทำโครงการเพื่อสังคมหลากหลายที่ทำให้ผู้ด้อยโอกาสได้รับการจ้างงานอย่างต่อเนื่องในประเทศไทยถึง 1,200 คน
ถึงตรงนี้ ต้องบอกว่าเป็นอะไรที่เกินคาด
เพราะเราคงไม่เคยคิดมาก่อนว่าบริษัทสินค้าความงามระดับโลก
ต้องระดมทุกอย่างที่มีอยู่ในมือเพื่อมาปกป้องโลกใบนี้
เพียงแค่ความเชื่อเพียงข้อเดียวที่ว่า สิ่งแวดล้อม สังคม ธุรกิจของตัวเอง
ทุกอย่างมันต้องเติบโตไปพร้อมๆ กัน
References
-เอกสารข่าววิสัยทัศน์เพื่อความยั่งยืนปี 2030 บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จํากัด
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.