ปตท. ปรับตัวให้เข้ากับพลังงานยุคใหม่ อย่างไร?

ปตท. ปรับตัวให้เข้ากับพลังงานยุคใหม่ อย่างไร?

28 ส.ค. 2020
ปตท. x ลงทุนแมน
ปตท. ปรับตัวให้เข้ากับพลังงานยุคใหม่ อย่างไร? /โดย ลงทุนแมน
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา วิกฤติโรคระบาดโควิด-19 ได้สร้างผลกระทบไปทั่วโลก
โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และการนำเข้าส่งออก
เมื่อการท่องเที่ยวและการขนส่งหยุดชะงัก ความต้องการใช้น้ำมันจึงหายไปทันที
เรื่องนี้จึงทำให้ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
เวสต์เท็กซัสได้ปรับลดลงจนติดลบเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
ในขณะที่ล่าสุด สถานการณ์โรคระบาดยังเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน
ราคาน้ำมันจึงยังถูกกดดันให้อยู่ในระดับต่ำ และเกิดความผันผวนสูง
จนกลายมาเป็นความท้าทายของผู้มีส่วนร่วมในธุรกิจน้ำมัน
นอกจากเรื่องของความต้องการน้ำมันที่ลดลงแล้ว อีกหนึ่งเรื่องที่เข้ามาท้าทาย
ธุรกิจผู้ผลิตน้ำมันก็คือพลังงานทางเลือกโดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่
ทั้งหมดนี้จึงกลายมาเป็นความท้าทายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ของ ปตท. บริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในประเทศไทย
ปตท. จะปรับตัวอย่างไรให้รอดจากวิกฤติในปีนี้
และ ปตท. มีกลยุทธ์การปรับตัวให้เข้ากับเทรนด์พลังงานยุคใหม่อย่างไร?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ผลกระทบจากโรคระบาดที่ทำให้การเดินทางหยุดชะงัก และการล็อกดาวน์ในหลาย
ประเทศทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะทำให้เศรษฐกิจโลกปี 2563 หดตัวลดลงกว่า 4.9%
ในขณะที่ประเทศไทยมีการคาดการณ์กันว่าเศรษฐกิจบ้านเราจะหดตัวลง 5 ถึง 9%
เรื่องนี้จึงทำให้ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรง
และความต้องการใช้พลังงานในปีนี้จะลดลงจากปีที่แล้วอย่างมีนัยสำคัญ
จากข้อมูลการใช้น้ำมันในประเทศไทยในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้
น้ำมันอากาศยาน jet A1 ลดลง 49%
น้ำมันเบนซิน ลดลง 8%
น้ำมันดีเซล ลดลง 3%
มาตรการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ และพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไป
จะกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันยังคงอยู่ในระดับต่ำต่อไป
เรื่องดังกล่าวส่งผลกระทบต่อธุรกิจกลุ่ม ปตท. โดยตรงซึ่งบริษัท
คาดการณ์ว่าปริมาณยอดขายของธุรกิจในเครือจะลดลง 5 ถึง 10%
ในขณะที่ทางบริษัทก็ยังได้รับผลกระทบ โดยไตรมาสแรกมี Stock loss รวมราว 35,000 ล้านบาท
จากราคาน้ำมันที่ตกต่ำลงอย่างมากเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ปตท. คาดการณ์ว่าสถานการณ์ราคาน้ำมันจะฟื้นตัวดีขึ้นหลังหลายประเทศผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ในขณะเดียวกัน ระยะหลังก็มีสัญญาณความต้องการใช้น้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น
สำหรับในเรื่องพลังงานยุคใหม่
ปตท. เล็งเห็นว่าแม้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจะทำให้
เราใช้พลังงานหมุนเวียนมาผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้น
แต่หากดูจากสถานการณ์ปัจจุบันยังมีข้อจำกัดเรื่องเทคโนโลยีการเก็บพลังงาน
หากเรามาดูการคาดการณ์ขององค์กรพลังงานระหว่างประเทศ
เกี่ยวกับการใช้พลังงานบนโลกของเรา
ปี 2018 เราใช้พลังงานจาก
น้ำมัน 31%
ถ่านหิน 27%
ก๊าซธรรมชาติ 23%
พลังงานหมุนเวียน 14%
นิวเคลียร์ 5%
ปี 2040 เราจะใช้พลังงานจาก
น้ำมัน 27%
ก๊าซธรรมชาติ 26%
พลังงานหมุนเวียน 23%
ถ่านหิน 20%
นิวเคลียร์ 4%
แสดงให้เห็นว่าเราจะใช้น้ำมัน และถ่านหินน้อยลง
ในขณะที่เราจะใช้พลังงานหมุนเวียน และก๊าซธรรมชาติมากขึ้น
จากแนวโน้มดังกล่าว ปตท. มองว่าเทรนด์การใช้ก๊าซธรรมชาติ จะกลายมาเป็น Transition Fuel ไปสู่พลังงานสะอาดโดยโลกของเราจะมีการซื้อขายกันในรูปแบบก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ LNG เพิ่มขึ้น
พอเรื่องเป็นแบบนี้ ปตท. จึงได้ปรับกลยุทธ์การลงทุนระยะยาวปี 2030
โดยจะมีการเพิ่มการลงทุนในธุรกิจก๊าซธรรมชาติเหลวเป็นหลัก
ทั้งนี้ก็เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งานที่จะเพิ่มสูงขึ้นตลอดระยะเวลา 10 ถึง 15 ปีข้างหน้า
ในขณะเดียวกัน ทางบริษัทก็ได้เตรียมขยายสัดส่วนการลงทุนในธุรกิจไฟฟ้าโดยเน้นการลงทุนแบบ Gas to power เพื่อให้เกิด synergy กันระหว่างธุรกิจทั้งเครือ ปตท.
นอกจากนี้ ปตท. ก็จะลงทุนในพลังงานหมุนเวียน และเทคโนโลยีการจัดเก็บพลังงานอย่างเต็มตัว
โดยตั้งเป้าหมายให้ธุรกิจเหล่านี้มีกำไรสุทธิไม่น้อยกว่า 15% ในปี 2030
แล้ว ปตท. คาดการณ์ถึงการใช้พลังงานในอนาคตอย่างไร?
ปตท. คาดการณ์ว่ารูปแบบพลังงานในอนาคตจะเป็นการสร้างความสะดวกสบายของเราในการใช้พลังงาน และเข้าถึงพลังงานง่ายขึ้น
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพคือ
บ้านของเราทุกคนจะสามารถ “ผลิตไฟฟ้าได้เอง” ในอนาคต..
เรื่องนี้จะทำให้เราในฐานะผู้บริโภค มีแนวโน้มที่จะกลายมาเป็นผู้ผลิต และสามารถขาย
ให้กับคนอื่นได้เช่นกัน ซึ่งจะทำให้ธุรกิจพลังงานไม่ได้อยู่กับผู้เล่นรายใหญ่อีกต่อไป
จากเรื่องราวทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่า ปตท. รับรู้ และได้คาดการณ์ถึงเทรนด์การใช้
พลังงานทั่วโลกที่กำลังจะกลายมาเป็นความท้าทายต่อธุรกิจดั้งเดิมของ ปตท.
ซึ่งทางบริษัทก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ และได้วางแผนการลงทุน
เพื่อปรับตัวให้เข้ากับพลังงานยุคใหม่แล้ว ตั้งแต่ตอนนี้..
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.