กรณีศึกษา dtac ติดอันดับ หุ้นยั่งยืน 5 ปี ติดต่อกัน

กรณีศึกษา dtac ติดอันดับ หุ้นยั่งยืน 5 ปี ติดต่อกัน

14 มิ.ย. 2021
กรณีศึกษา dtac ติดอันดับ หุ้นยั่งยืน 5 ปี ติดต่อกัน
dtac x ลงทุนแมน
นอกเหนือจาก SET50, SET100, SETHD ซึ่งเป็นตัวย่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่เราคุ้นเคยแล้ว
ตลาดหลักทรัพย์ยังได้จัดทำรายชื่อหุ้นยั่งยืน
หรือที่เรียกกันว่า “THSI” ย่อมาจาก Thailand Sustainability Investment
ในปี พ.ศ. 2563 THSI ประกอบไปด้วยหุ้นยั่งยืน 124 บริษัท
แบ่งเป็นที่จดทะเบียนใน SET 114 บริษัท และ mai อีก 10 บริษัท
เพิ่มขึ้นจาก 51 บริษัทในปี พ.ศ. 2558
สะท้อนให้เห็นว่าบริษัทในประเทศไทยก็ได้คำนึงถึงสังคม สิ่งแวดล้อม และบรรษัทภิบาล เช่นกัน
แล้วกว่าจะมาเป็นหุ้นยั่งยืน จะต้องผ่านเกณฑ์อะไรบ้าง ?
วันนี้เรามาดูกรณีของ dtac ว่าบริษัทแห่งนี้ มีกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจอย่างไร
ให้ติดอันดับรายชื่อ หุ้นยั่งยืน 5 ปี ติดต่อกัน
สำหรับเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์ได้คำนึงถึงสำหรับหุ้นยั่งยืน หรือ THSI
จะให้ความสำคัญกับบริษัทที่ดำเนินกิจการโดยให้น้ำหนักกับการรักษาสิ่งแวดล้อม
การช่วยเหลือสังคม รวมถึงการบริหารจัดการภายในองค์กร เช่น
- ระบบการบริหารความเสี่ยง
- การจัดการห่วงโซ่อุปทานระหว่างคู่ค้าทางธุรกิจ
- การพัฒนานวัตกรรม
โดยตลาดหลักทรัพย์ก็ได้นำรายชื่อหุ้นยั่งยืนไปจัดทำเป็นดัชนี SETTHSI เช่นกัน
นั่นก็เพื่อให้นักลงทุนที่สนใจในธุรกิจกลุ่มนี้ เข้ามาศึกษาและเข้าถึงการลงทุนได้ง่ายขึ้น
สำหรับ dtac เอง ก็เป็นหนึ่งในบริษัทที่ติดอันดับหุ้นยั่งยืน
ตั้งแต่ตลาดหลักทรัพย์ได้จัดทำรายงานขึ้นในปี พ.ศ. 2558
ทีนี้เรามาดูกันว่า dtac ดำเนินกิจการให้เติบโต
ไปพร้อมกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม อย่างไรบ้าง ?
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา dtac ได้กำหนดเป้าหมายการดำเนินธุรกิจ
โดยให้ความสำคัญกับ “Stakeholders” หรือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียรอบด้าน
ตั้งแต่คู่ค้าทางธุรกิจที่เป็นโรงงานผลิตไปจนถึงลูกค้า
เริ่มกันที่เรื่องการรักษาธรรมาภิบาลและจริยธรรม
ด้วยความที่ธุรกิจโทรคมนาคมกลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่กำลังเติบโตตามนวัตกรรม
และประชากรกว่า 47% เข้าถึงสมาร์ตโฟนและอินเทอร์เน็ต ซึ่งกำลังเติบโตแบบก้าวกระโดด
และเมื่อต้องทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับคนเป็นจำนวนมาก dtac จึงวางจุดเริ่มต้นตั้งแต่การสื่อสารและอบรมตั้งแต่ผู้บริหารไปจนถึงพนักงานทุกคน เกี่ยวกับ “ดีแทคธรรมาภิบาล” ที่จัดตั้งขึ้นมา
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 โดยครอบคลุมเนื้อหา 4 หัวข้อ
- การปฏิบัติให้ถูกต้องตามกติกา
- การรับผิดชอบต่อการกระทำ
- ความโปร่งใสและซื่อสัตย์
- การรายงานสถานการณ์ที่ไม่ถูกหลักจริยธรรม
โดย dtac ก็ได้วางระบบการกำกับดูแลและการสืบสวนสำหรับผู้ที่ละเมิด ซึ่งมีการบังคับใช้รุนแรงจนถึงการเลิกจ้าง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าองค์กรจะปราศจากการคอร์รัปชันทุกรูปแบบ
เรื่องถัดมาก็คือ การปกป้องสิทธิความเป็นส่วนตัว
ปัจจุบัน dtac มีฐานลูกค้าอยู่ราว 19 ล้านเลขหมาย
โดยข้อมูลของผู้ใช้งานเหล่านี้ ทางบริษัทก็ได้แต่งตั้งทีมเจ้าหน้าที่ข้อมูลส่วนบุคคลโดยเฉพาะ
เข้ามาดูแลทั้งข้อมูลพนักงาน บริษัทคู่ค้าไปจนถึงลูกค้า
โดยการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของ dtac มุ่งเน้นการปกป้องรักษาสิทธิ
ตามแนวทาง พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 2562 (PDPA)
กฏหมายไทยและสากล นโยบายภาครัฐ มาตรฐานและสิทธิอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ในขณะเดียวกัน การจะทำการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
บริษัทจะมีการขอคำยินยอมและทำตามวัตถุประสงค์ที่แจ้งและลูกค้าอนุญาตเท่านั้น
ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน ก็มั่นใจได้ว่าข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน
ที่อยู่กับ dtac จะมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลอยู่ตลอดเวลา
อีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ การบริหารซัปพลายเชน
จากวิกฤติในปีที่ผ่านมา เราจะเห็นได้ชัดว่าความยืดหยุ่นของซัปพลายเชนในแต่ละบริษัทมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวของธุรกิจ
และยิ่งเป็นบริษัทขนาดใหญ่ ที่ยิ่งใหญ่มากแค่ไหน
คู่ค้าทางธุรกิจก็จะยิ่งมากและมีความซับซ้อนเท่านั้น
ซึ่งผลสำรวจธุรกิจ 1,000 รายทั่วโลก จาก Capgemini Research Institute 2020
พบว่า 80% ของธุรกิจต้องหยุดชะงักเพราะโควิด 19
ดังนั้นการบริหารห่วงโซ่อุปทานให้สามารถส่งมอบบริการได้อย่างไม่หยุดชะงัก
จึงเป็นประเด็นที่ดีแทคให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก
ด้วยภารกิจ Mission to Zero ดีแทคจับมือคู่ค้าสร้างซัพพลายเชน
ที่ปราศจากอุบัติเหตุร้ายแรงหรือเสียชีวิต ไม่มีการใช้แรงงานเด็ก
การละเมิดสิทธิมนุษยชน การทุจริตคอร์รัปชัน และการสร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม เป็น 0
โดยมีการตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงของคู่ค้าและพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจสม่ำเสมอ
นอกจากนี้ ทางบริษัทก็ยังยินดีที่จะลงทุนร่วมกับผู้จัดหาสินค้าเพื่อให้การทำงาน
กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายเป็นไปตามมาตรฐานสูงสุด
เพราะดีแทคเชื่อว่า การดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ตลอดทั้งซัพพลายเชน จะส่งผลดีต่อทุกคน
นอกเหนือจากเรื่องเกี่ยวกับบรรษัทภิบาล
dtac ก็ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างสังคมดิจิทัล
ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงโอกาสอย่างเท่าเทียม (digital inclusion) เช่น
โครงการ “เน็ตทำกิน” ที่บริษัทได้เข้าไปอบรมผู้ประกอบการรายย่อยในชุมชน
โดยปัจจุบันกว่า 8 ใน 10 ของผู้ที่ได้รับการอบรมสามารถสร้างรายได้จากช่องทางออนไลน์
ได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 15% ภายในระยะเวลาเพียง 1 ปี
ในขณะเดียวกัน dtac ก็ยังมีโครงการ dtac Safe Internet
เพื่อเสริมสร้างการท่องสังคมออนไลน์อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ ในเด็กและเยาวชน
อายุ 13 ถึง 18 ปี
โดยในปี 2563 ที่ผ่านมา มีนักเรียนและครูกว่า 200,987 คน เข้าร่วมโครงการนี้
สำหรับเรื่องของสิ่งแวดล้อม
dtac ได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะลดปริมาณการใช้พลังงานลงครึ่งหนึ่งในอีก 9 ปีข้างหน้า
เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นต้นตอสำคัญของภาวะโลกร้อน
โดยให้ความสำคัญกับการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และการพัฒนาการใช้พลังงาน
ให้มีประสิทธิภาพ และมองหาแหล่งพลังงานทางเลือกเพิ่มขึ้น
ทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่ากว่าจะเป็นหุ้นยั่งยืน
มีองค์ประกอบสำคัญหลายอย่าง
ทั้งที่วัดได้เป็นตัวเลขและที่วัดไม่ได้
แต่สิ่งที่เราสามารถนำแนวทางของ dtac มาปรับใช้กับธุรกิจของเราได้
ที่เริ่มตั้งแต่การดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใสและเป็นมาตรฐาน
เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับพนักงาน คู่ค้า ลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรอบด้าน
และยังรวมไปถึงการมองธุรกิจของเราในมุมที่กว้างขึ้นว่า
เราจะสามารถมีส่วนช่วยเหลือสังคมและสิ่งแวดล้อม
ไปพร้อม ๆ กับการเติบโตของเราได้มากขนาดไหน
หากธุรกิจของเรามีส่วนผสมที่ว่ามาทั้งหมดนี้อย่างลงตัว
เราก็จะเป็นธุรกิจที่สามารถยืนอยู่ได้ในทุกภาวะวิกฤติและสามารถเติบโตต่อไปได้ อย่างยั่งยืน..
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.