Lenovo บริษัท 6 แสนล้าน ที่ไม่ได้มีแค่ “คอมพิวเตอร์”

Lenovo บริษัท 6 แสนล้าน ที่ไม่ได้มีแค่ “คอมพิวเตอร์”

31 มี.ค. 2022
Lenovo บริษัท 6 แสนล้าน ที่ไม่ได้มีแค่ “คอมพิวเตอร์”
Lenovo x ลงทุนแมน
รู้หรือไม่ ผู้ที่ครองส่วนแบ่งตลาดคอมพิวเตอร์ PC ได้มากที่สุดในโลกก็คือ “Lenovo”
ปัจจุบัน Lenovo มีมูลค่าบริษัท กว่า 6 แสนล้านบาท และมีรายได้รวม 2 ล้านล้านบาท
โดยติดอยู่ใน Fortune Global 500 หรือ 500 บริษัท ที่มีรายได้มากสุดในโลก
ซึ่งแม้ว่าเมื่อพูดถึง Lenovo คนส่วนใหญ่ จะนึกถึง “คอมพิวเตอร์”
แต่จริง ๆ แล้ว Lenovo เป็นผู้จัดหาโซลูชันด้าน IT ที่ครบวงจร
ที่มีทั้งผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ไปจนถึงงานบริการ ตั้งแต่ต้นจนจบ
และที่น่าสนใจคือ ในช่วง 10 ปีมานี้ ที่บริษัทจากจีนจำนวนมาก ก้าวขึ้นมาในระดับเวทีโลก
Lenovo ก็ถือเป็นบริษัทแรก ๆ ของจีน ที่ก้าวขึ้นมายืนในจุดนั้นได้
กว่าที่จะมาถึงจุดนี้ Lenovo ต้องผ่านอะไรมาบ้าง ?
แล้วปัจจุบัน อาณาจักร Lenovo ยิ่งใหญ่แค่ไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
Lenovo ก่อตั้งโดยนักวิจัยชาวจีน ชื่อคุณ Liu Chuanzhi ซึ่งทำงานวิจัยอยู่ที่สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (CAS) ด้วยจุดประสงค์ที่ต้องการให้สิ่งที่เขาค้นพบ ไม่ได้จบอยู่เพียงแค่ในห้องทดลอง แต่สามารถไปเป็นประโยชน์กับคนในวงกว้าง
โดยเขาได้ขอเงินทุนจาก CAS เพื่อมาเปิดบริษัทเกี่ยวกับสินค้าเทคโนโลยี ในปี 1984 และได้รวบรวมทีมงานที่เป็นนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรคอมพิวเตอร์ชาวจีนอีก 10 คน
พวกเขาลองผิดลองถูกและล้มเหลวอยู่หลายครั้ง กว่าจะหาสินค้าที่ตรงกับความต้องการของตลาดได้
สุดท้ายจึงมาจบลงที่ การพัฒนาแผ่นวงจรพิมพ์ หรือ PCB เพื่อให้คอมพิวเตอร์ของ IBM ที่นำเข้ามา ใช้งานเป็นภาษาจีนได้ ซึ่งถือว่าได้ผลตอบรับดี
จากนั้นบริษัทก็ค่อย ๆ ต่อยอดจาก PCB สู่การผลิตคอมพิวเตอร์แบรนด์ของตัวเอง รวมถึงจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงได้ในปี 1994
ที่น่าสนใจคือ ภายในระยะเวลา 4 ปีหลังจากนั้น Lenovo ก็ก้าวขึ้นสู่การเป็น แบรนด์คอมพิวเตอร์ ที่มียอดขายมากที่สุดในจีน ด้วยส่วนแบ่งตลาดกว่า 43%
แน่นอนว่า Lenovo ไม่ได้ต้องการจะหยุดความสำเร็จ เอาไว้แค่ระดับประเทศ
โดยจุดเปลี่ยนของบริษัท ที่สำคัญก็คือ การเข้าซื้อธุรกิจคอมพิวเตอร์ ของ IBM ในปี 2005
เรื่องนี้จึงเป็นเหมือนประตูที่ทำให้ Lenovo บริษัทจากประเทศจีน ที่แทบไม่มีคนรู้จัก รวมถึงแทบไม่มียอดขายในต่างประเทศเลย
กลายมาเป็นผู้ครองส่วนแบ่งตลาดคอมพิวเตอร์ อันดับ 3 ของโลก แทน IBM ทันที
หลังจากนั้น Lenovo ก็ยังคงเดินหน้าบุกตลาดใหม่ ๆ
รวมถึงเร่งขยายส่วนแบ่งตลาดจากการควบรวมกิจการมากมาย
ในที่สุด Lenovo ก็สามารถก้าวขึ้นสู่อันดับ 1 ของโลก เป็นครั้งแรก ในปี 2013 และยังคงรักษาตำแหน่งอันดับ 1 ได้เรื่อยมา
อย่างไรก็ตาม หากจะบอกว่า Lenovo เป็นบริษัทคอมพิวเตอร์ ก็อาจไม่ถูกต้องนัก
เพราะปัจจุบัน บริษัทได้กลายเป็นผู้จัดหา โซลูชันด้าน IT ที่ครบวงจร เป็นที่เรียบร้อย
โดยเราสามารถแบ่ง ธุรกิจของ Lenovo ได้เป็น 3 กลุ่ม หลัก ๆ
กลุ่มที่ 1 “Intelligent Devices Group” หรือ กลุ่มอุปกรณ์อัจฉริยะ
ครอบคลุมตั้งแต่ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต และอุปกรณ์อัจฉริยะอื่น ที่เข้ามาตอบโจทย์ การใช้ชีวิตในโลกดิจิทัล
เช่น อุปกรณ์ AR/VR, อุปกรณ์ประชุมสำหรับการทำงานร่วมกันในองค์กร, อุปกรณ์สมาร์ตโฮม, Lenovo Virtual Care เทคโนโลยีสำหรับผู้ป่วยเรื้อรัง ที่รักษาตัวที่บ้าน
รวมถึง Lenovo Hybrid Learning โซลูชันฮาร์ดแวร์และ VR เสริมสร้างประสบการณ์การเรียนการสอนที่ดี
นอกจากนั้นยังมีบริการให้ความช่วยเหลือ สายตรงจากวิศวกรมืออาชีพ ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
กลุ่มที่ 2 “Infrastructure Solutions Group”
ซึ่งจะโฟกัสไปที่ บริการ Data Center สำหรับองค์กรทุกขนาด
เพราะบริษัทเชื่อว่า เรื่องนี้เป็นหัวใจของการทำธุรกิจ ให้ตอบโจทย์ยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Infrastructure-As-a-Service และสมาร์ตเทคโนโลยีอื่น
พูดง่าย ๆ ก็คือเป็น Data Center ที่ให้บริการองค์กรอย่างครบวงจร ยกระดับความปลอดภัย รวมถึงการเชื่อมกระบวนการต่าง ๆ อย่างไร้รอยต่อ
กลุ่มที่ 3 “Solutions and Services Group” หรือ SSG
สำหรับกลุ่มธุรกิจนี้ เรียกได้ว่า เกิดขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจโดยเฉพาะ
เพราะได้มัดรวมเอาบริการและเทคโนโลยีทั้งหมดของ Lenovo มานำเสนอเป็นโซลูชันสำหรับองค์กร แบบครบจบในที่เดียว
SSG จึงเป็นเหมือนกุญแจสำคัญ ที่จะช่วยให้องค์กรลูกค้า ทรานส์ฟอร์มไปสู่เป้าหมายได้
ซึ่งไม่ใช่แค่ตอบสนองความต้องการของธุรกิจเท่านั้น
แต่ยังเตรียมป้องกันในจุดที่ เราอาจคาดไม่ถึงด้วย
ทั้งบริการพื้นฐาน อย่างการช่วยดูแลอุปกรณ์ IT ตลอดการใช้งาน ตั้งแต่ต้นจนจบ
เริ่มจากการประเมินและวางแผน เพื่อปรับสภาพแวดล้อมด้าน IT ขององค์กรให้เหมาะสมที่สุด
ปรับปรุงการตั้งค่าต่าง ๆ และส่งมอบอุปกรณ์ที่พร้อมใช้งาน
การสนับสนุนด้านเทคนิค ให้ทรัพยากรด้าน IT เกิดประโยชน์สูงสุด
ไปจนถึงการกำจัดอุปกรณ์ที่ไม่ใช้แล้วอย่างปลอดภัย
นอกจากนั้น Lenovo ยังเจาะลึกไปถึงประโยชน์สูงสุดขององค์กรลูกค้า
เช่น โซลูชันที่ปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมการทำงานร่วมกัน เสริมความปลอดภัยให้กับสินทรัพย์ขององค์กร
รวมถึง Microsoft Modern Workplace หรือการสนับสนุนการทำงานได้จากทุกที่บนทุกอุปกรณ์ เพื่อประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด แต่ยังคงไว้ซึ่งความปลอดภัย
อย่างในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ที่แต่ละองค์กร ต้องเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน ทาง Lenovo ก็ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการทำให้องค์กร สามารถดำเนินต่อไปได้
และที่สำคัญ โซลูชันต่าง ๆ ยังสามารถปรับให้เหมาะกับขนาด หรือตามความต้องการเฉพาะของในแต่ละองค์กรอีกด้วย
ดังนั้นแล้ว สำหรับภาคองค์กร ที่กำลังอยู่ในยุคที่ทุกอย่างก้าวเข้าสู่ความเป็นดิจิทัล
อุปกรณ์ IT จึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะทำให้เราเดินหน้าต่อไปได้
นั่นแปลว่า หากเราต้องการจะอยู่รอด
ก็ต้องมีการทรานส์ฟอร์มองค์กรไปในทิศทางที่ถูกต้อง
ซึ่งหากใครไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร
Lenovo ก็น่าจะเป็นคำตอบที่น่าสนใจ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ รวมถึงบริการที่ครบวงจร..
Tag: Lenovo
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.