กรณีศึกษา โมเดลธุรกิจ AIS ที่ทำให้ได้รับ 3 รางวัลจาก ASIAN Telecom Awards

กรณีศึกษา โมเดลธุรกิจ AIS ที่ทำให้ได้รับ 3 รางวัลจาก ASIAN Telecom Awards

4 เม.ย. 2022
ปัจจุบัน AIS มีผู้ใช้บริการ 44.1 ล้านเลขหมาย เพิ่มขึ้น 2.7 ล้านเลขหมายจากปีก่อน
TRUE มีผู้ใช้บริการ 32.2 ล้านเลขหมาย เพิ่มขึ้น 1.9 ล้านเลขหมายจากปีก่อน
DTAC มีผู้ใช้บริการ 19.5 ล้านเลขหมาย เพิ่มขึ้น 1 แสนเลขหมายจากปีก่อน
จะเห็นว่าทั้งจำนวนผู้ใช้บริการของ AIS และการเติบโตของลูกค้า ค่อนข้างทิ้งห่างคู่แข่ง
ตรงนี้เองที่เป็นหนึ่งในเหตุผลที่เกิดดีลควบรวมกิจการครั้งประวัติศาสตร์ระหว่าง TRUE กับ DTAC เพื่อจัดตั้งบริษัทใหม่ เพื่อให้เป็นทางลัดในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับ AIS
ส่วนบทสรุปเรื่องนี้จะลงเอยอย่างไร ก็คงต้องจับตาดูกันยาว ๆ ต่อไปในอนาคต
ความน่าสนใจมันอยู่ตรงแนวทางธุรกิจของ AIS ในวันนี้ต่างหาก
ในช่วง กว่า 7 ปีที่ AIS ไม่ได้มองว่าตัวเองว่าเป็นแค่ผู้ให้บริการสัญญาณโทรคมนาคม
แต่กำลังเป็นผู้สร้างบริการดิจิทัลใหม่ ๆ ให้เข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้คน
ภายใต้วิสัยทัศน์ Digital Life Service Provider จนถึงการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลให้แก่ประเทศ
โดยเมื่อปลายปีที่ผ่านมา AIS ก็เร่งประกาศเป้าหมายใหม่สู่การเป็น Cognitive Telco หรือองค์กรโทรคมนาคมอัจฉริยะ
ด้วยแนวคิดนี้ก็เลยทำให้ล่าสุด AIS ได้รับ 3 รางวัลในเวที ASIAN Telecom Awards ซึ่งเป็นบริษัทเดียวในทวีปเอเชียที่ได้รับรางวัลมากขนาดนี้
ความน่าสนใจของเรื่องนี้ อาจไม่ใช่เรื่องของรางวัล แต่มันคือวิธีคิดในการทำธุรกิจของ AIS ที่กำลังสร้าง Social Impact ทั้งในมุมของลูกค้าทั่วไป จนถึงระบบเศรษฐกิจของประเทศ
รู้หรือไม่ ปัจจุบันบริการ 5G ของ AIS ครอบคลุมครบทั้ง 77 จังหวัด
โดย 76% ของคนในประเทศไทยสามารถใช้บริการ 5G ส่วนคนกรุงเทพฯ เกือบ 100%
และในพื้นที่ EEC หรือโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก สามารถเข้าถึง 5G คิดเป็น 90%
และอย่างที่เรารู้กันว่า พลังความแรงของ 5G ของ AIS รับส่งข้อมูลดิจิทัลเร็วกว่า 4G ถึง 24 เท่า
ตรงนี้เองที่ทำให้ข้ามกำแพง จากสิ่งที่ไม่มีทางเป็นไปได้ในอดีต ให้เกิดขึ้นจริงได้ในวันนี้
พอเป็นแบบนี้ AIS ก็เลยมีความคิดที่จะเป็นมากกว่าผู้ให้บริการสัญญาณโทรคมนาคม และผู้ให้บริการ
Broadband Internet แต่ต้องการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตยุคดิจิทัล
เมื่อวันนี้สมาร์ตโฟนแทบจะเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวันของคนไทย
ก็เลยทำให้ AIS คิดค้นธุรกิจใหม่ ๆ ที่ไม่ได้จำกัดรายได้อยู่แค่ธุรกิจโทรคมนาคม เท่านั้น แต่ยังมีธุรกิจเน็ตบ้านความเร็วสูงอย่าง AIS Fibre และบริการดิจิทัลไม่ว่าจะเป็นด้าน วีดีโอ คลาวด์ ดิจิทัลเพย์เมนต์ IoT หรือแม้แต่บริการที่ร่วมกับพาร์ทเนอร์ขยายสู่กลุ่มธุรกิจใหม่ อย่าง AIS eSport เป็นต้น
ความน่าสนใจของเรื่องนี้ก็คือ AIS ไม่ได้คิดอยู่แค่การเติบโตแบบฉายเดี่ยว
เมื่อมองว่า หากอยากให้เกิด Impact ที่ลูกค้าได้รับบริการเหนือชั้นที่ครอบคลุมขึ้นกว่าเดิม
ก็ต้องรวมทำงานกับบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ
ทำให้ ณ วันนี้ เราได้เห็น AIS เปิดตัว AR-VR Content ร่วมกับหลากหลาย Creator
ทำให้ลูกค้าได้สัมผัสประสบการณ์ผ่าน 5G Virtual Reality และก้าวสู่ Metaverse
หรือจะเป็นการเปิดศูนย์การค้าบนโลกเสมือนจริงอย่าง V-Avenue.co ที่เป็นการร่วมมือกับสารพัดแบรนด์ยักษ์ใหญ่ในธุรกิจค้าปลีก, อาหาร, แฟชั่น, ไอที ที่นอกจากจะเป็นรูปแบบ Virtual
โดยใช้ 5G เป็นตัวขับเคลื่อนแล้วนั้น ก็ยังสามารถทำให้เกิดการ ซื้อ-ขายสินค้าได้จริง
หรือจะเป็นการที่ร่วมมือกับธนาคารยักษ์ใหญ่อย่าง SCB เพื่อปล่อยสินเชื่อ
จะเห็นว่า AIS กำลังก้าวสู่ธุรกิจใหม่ ๆ และร่วมมือกับบริษัทในอุตสาหกรรมอื่น ๆ
โดยจะใช้ประโยชน์จากการมีฐานลูกค้ามหาศาล ไปต่อยอดเชื่อมโยงสร้างธุรกิจใหม่ ๆ
โดยมีสัญญาณ 5G เป็นตัวขับเคลื่อน
ส่วนอีกเรื่องที่เหนือความคาดหมายก็คือ ใครจะคิดว่าผู้ให้บริการสัญญาณโทรคมนาคม
วันหนึ่งจะกลายเป็นจิกซอว์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
หลายคนอาจไม่รู้ว่า AIS ได้ใช้เทคโนโลยี 5G มาสร้าง Digital infrastructure ให้บริษัทชั้นนำเมืองไทยในหลาย ๆ อุตสาหกรรม
ตัวอย่างเช่น การวางระบบสมาร์ตซิตี โรงงานอัจฉริยะ ให้แก่ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก
หรือจะเป็นการร่วมมือกับ มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น ที่ร่วมกันพัฒนาโซลูชัน Smart Manufacturing เพื่อใช้งานบนเครือข่าย 5G ส่งผลให้การผลิตมีคุณภาพและรวดเร็วมากขึ้นกว่าเดิม และทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง
จนถึงการที่ AIS รวมมือกับ OMRON บริษัทที่ผลิตและจำหน่ายอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของญี่ปุ่นที่มาทำธุรกิจในเมืองไทย โดยทาง AIS จะร่วมพัฒนาโครงข่ายพื้นฐานดิจิทัลระบบคลาวด์ และโซลูชันผสมผสาน Smart Manufacturing นับเป็นการยกระดับการผลิตขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็คือ หลายบริษัทชั้นนำเมืองไทยจะมีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลกเพิ่มขึ้น
ทีนี้พอธุรกิจเติบโต ผลที่ตามมาก็คือ เกิดการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
พอมองเห็นภาพโมเดลธุรกิจของ AIS ก็เลยทำให้ต้องย้อนกลับมาดู 3 รางวัลที่ AIS ได้รับบนเวที ASIAN Telecom Awards
- Mobile Operator of the Year เป็นรางวัลที่มอบให้แก่บริษัทโทรคมนาคม ที่มีบริการครอบคลุม
และสามารถสร้างรายได้จากธุรกิจใหม่ ๆ ที่นอกจากรายได้ค่าบริการเครือข่ายสัญญาณ
- Telecom Company of the Year รางวัลนี้จะมอบให้แก่บริษัท ที่นอกจากสร้างการเติบโตในธุรกิจได้ดีแล้วนั้น ยังรวมไปถึงการปรับตัวในยุคที่ธุรกิจโทรคมนาคมเกิดการเปลี่ยนแปลง
- Digital Initiative of the Year บริษัทที่สร้างบริการใหม่ ๆ มาตอบโจทย์ความต้องการและพฤติกรรมของลูกค้าที่หลากหลาย โดยใช้ศักยภาพของบริษัทเชื่อมโยงสินค้าและบริการมายังโลกดิจิทัล
พอสรุปภาพโมเดลธุรกิจจนเห็นชัด ทำให้นึกถึงคำพูดของคุณสมชัย เลิศสุทธิวงค์ CEO ของ AIS ที่กล่าวว่า
“หลายคนพูดเรื่องควบรวมกิจการ แต่ผมไม่สนใจคู่แข่งเลย ผมสนใจแค่ว่าลูกค้าต้องการอะไร”
เมื่อรู้ว่าลูกค้าและระบบเศรษฐกิจเมืองไทยต้องการอะไร
AIS ก็จะใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะที่ตัวเองมีอยู่ในมือ มาสร้างประสบการณ์และประโยชน์ในทุกภาคส่วน
นั่นแปลว่า วันนี้ AIS ไม่ใช่เพียงผู้ให้บริกาโทรคมนาคมเหมือนในอดีต
แต่กำลังเป็นองค์กรที่เป็นส่วนหนึ่ง.. ในการขับเคลื่อนประเทศด้วยเทคโนโลยี
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 2 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.