ทุนสำรองระหว่างประเทศ คืออะไร ?
[ประเด็นสำคัญ] ทุนสำรองระหว่างประเทศคือ สินทรัพย์ต่างประเทศ ที่ธนาคารกลางถือครอง
ทุนสำรองระหว่างประเทศ คือ สินทรัพย์ต่างประเทศ ที่อยู่ภายใต้การครอบครอง และควบคุมโดยธนาคารกลาง สำหรับประเทศไทยก็คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย
โดยสินทรัพย์ที่ถือครอง จะประกอบด้วย
- สกุลเงินต่างประเทศ
- พันธบัตรรัฐบาลต่างประเทศ
- สินทรัพย์ส่งสมทบกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF
- สิทธิพิเศษถอนเงิน หรือ Special Drawing Rights (SDR)
- ทองคำ
- สกุลเงินต่างประเทศ
- พันธบัตรรัฐบาลต่างประเทศ
- สินทรัพย์ส่งสมทบกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF
- สิทธิพิเศษถอนเงิน หรือ Special Drawing Rights (SDR)
- ทองคำ
แล้วทุนสำรองระหว่างประเทศได้มาจากไหน ?
- เวลาที่ผู้ประกอบการในประเทศส่งออกสินค้า แล้วได้รับเป็นเงินสกุลต่างประเทศ เช่น ดอลลาร์สหรัฐ หรือหยวน
ผู้ประกอบการ ก็จะนำเงินสกุลต่างประเทศมาแลกกลับไปเป็นสกุลเงินบาท
โดยเงินตราต่างประเทศที่ถูกนำมาแลก ก็จะเข้าไปอยู่กับธนาคารแห่งประเทศไทย
โดยเงินตราต่างประเทศที่ถูกนำมาแลก ก็จะเข้าไปอยู่กับธนาคารแห่งประเทศไทย
- หรือในกรณีที่ชาวต่างชาติต้องการเข้ามาเที่ยว หรือลงทุนในประเทศไทย
ก็จะต้องนำเงินสกุลต่างประเทศของตัวเอง มาแลกเป็นสกุลเงินบาท เพื่อใช้ท่องเที่ยวและลงทุน เช่นกัน
ก็จะต้องนำเงินสกุลต่างประเทศของตัวเอง มาแลกเป็นสกุลเงินบาท เพื่อใช้ท่องเที่ยวและลงทุน เช่นกัน
- หรือในกรณีที่ชาวไทยไปทำงานที่ต่างประเทศ แล้วโอนเงินสกุลต่างประเทศกลับเข้ามาในประเทศไทย ก็ต้องมีการแลกเปลี่ยนเงินสกุลต่างประเทศนั้น กลับไปเป็นสกุลเงินบาท
แล้วทุนสำรองระหว่างประเทศ มีไว้เพื่ออะไร ?
โดยปกติแล้วหน้าที่หลักของทุนสำรองระหว่างประเทศ จะมีอยู่ 4 เรื่อง ก็คือ
1. เป็นทุนสำรองหรือหลักค้ำประกัน สำหรับการพิมพ์เงินออกมาใช้
2. เอาไว้ใช้จ่ายสำหรับการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ซึ่งผู้นำเข้าสินค้าก็จะนำสกุลเงินบาท ไปแลกเป็นเงินสกุลต่างประเทศ เพื่อชำระเงินให้กับผู้ขายต่างประเทศ ซึ่งก็เป็นหลักการตรงกันข้ามกับการส่งออกสินค้า
3. นำไปจ่ายหนี้ที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศ เช่น ประเทศไทยออกพันธบัตรรัฐบาล เพื่อขอกู้เงินจากต่างชาติ โดยระบุว่าจะจ่ายดอกเบี้ยเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ
4. เพื่อรักษาระดับค่าเงินในประเทศ
ในกรณีที่ผู้คนในประเทศหรือต่างชาติ ต้องการเงินบาทเป็นจำนวนมาก แต่ปริมาณเงินบาทมีเท่าเดิม
ราคาเงินบาทก็จะสูง เมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น ๆ หรือเรียกว่า “เงินบาทแข็งค่า”
ราคาเงินบาทก็จะสูง เมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น ๆ หรือเรียกว่า “เงินบาทแข็งค่า”
ธนาคารแห่งประเทศไทยก็จะปล่อยเงินบาทเข้าสู่ระบบมากขึ้น โดยการนำเงินบาท ไปแลกเป็นเงินสกุลต่างประเทศกลับเข้ามาเก็บไว้
ในทางกลับกัน ในสถานการณ์ที่ผู้คนในประเทศต้องการถือครองเงินบาทน้อยลง หรือนักลงทุนต่างชาติต้องการแลกคืนเงินบาท เพื่อนำเงินสกุลของตัวเองกลับประเทศ
ค่าเงินบาทก็จะ “อ่อนค่า” ลง เมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น เช่น ดอลลาร์สหรัฐ หรือยูโร
สิ่งที่ธนาคารกลางจะทำก็คือ ปล่อยเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ และยูโร เข้าสู่ระบบมากขึ้น โดยการนำเงินสกุลต่างประเทศที่มี ไปแลกเป็นสกุลเงินบาทกลับเข้ามาเก็บไว้ เพื่อเป็นการแทรกแซงไม่ให้ค่าเงินบาทผันผวนเร็วเกินไป
ดังนั้น เงินสำรองระหว่างประเทศจึงทำหน้าที่เป็น “กันชน” ให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศ
เพื่อไม่ให้ความผันผวนจากภายนอก เข้ามาสร้างผลกระทบต่อธุรกิจไทย ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับอำนาจในการซื้อ ของเศรษฐกิจไทยในเวทีโลก หรือ Global Purchasing Power โดยรวมได้