สรุป DW, Call และ Put DW คืออะไร ? พร้อมรู้จัก DW41 จาก J.P. Morgan ครบจบในโพสต์เดียว

สรุป DW, Call และ Put DW คืออะไร ? พร้อมรู้จัก DW41 จาก J.P. Morgan ครบจบในโพสต์เดียว

J.P. Morgan x ลงทุนแมน
ในช่วงที่ตลาดหุ้นทั่วโลกยังเผชิญกับความผันผวนจากหลากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น ความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ หรือความไม่แน่นอนด้านการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับต่างประเทศ
ขณะที่ประเทศไทยเองก็ยังมีแรงกดดันจากปัญหาเศรษฐกิจภายใน โดยเฉพาะหนี้ครัวเรือนที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ธนาคารโลกต้องปรับลดประมาณการ GDP ส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยดูซบเซากว่าที่เคย
ในภาวะแบบนี้ DW หรือ Derivative Warrants กลายเป็นเครื่องมือที่ได้รับความสนใจมากขึ้น
โดยเฉพาะนักลงทุนที่ต้องการสร้างผลตอบแทนทั้งในตลาดขาขึ้นและขาลง ผ่านการเลือกใช้ Call DW หรือ Put DW ตามมุมมองของตน
แม้ DW จะถูกมองว่ามีความเสี่ยง และเข้าใจว่าใช้ในทางเก็งกำไร แต่ DW มีโครงสร้างที่สามารถนำไปใช้ในกลยุทธ์การลงทุนได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับความเข้าใจและการวางแผนของนักลงทุนในภาวะตลาดที่ไม่แน่นอน
DW คืออะไร ?
แล้วทำไมกลยุทธ์นี้ ถึงเหมาะกับช่วงตลาดผันผวน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
DW หรือ Derivative Warrants คือเครื่องมือทางการเงินที่อ้างอิงราคาหลักทรัพย์ตัวแม่
เช่น หุ้นรายตัวหรือดัชนี ช่วยให้นักลงทุนสร้างโอกาสทำกำไรจากทิศทางของราคาหลักทรัพย์นั้น โดยใช้เงินลงทุนน้อยกว่าการซื้อหุ้นจริง
โดย DW แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ
- Call DW ใช้เมื่อมองว่าราคาหุ้นจะ “ขึ้น”
- Put DW ใช้เมื่อมองว่าราคาหุ้นจะ “ลง”
ลองนึกภาพตามง่าย ๆ หากนักลงทุนมองว่าหุ้น A มีแนวโน้มปรับขึ้น แทนที่จะซื้อหุ้น A ตรง ๆ
นักลงทุนอาจเลือกซื้อ Call DW ของหุ้น A แทน เพราะใช้เงินน้อยกว่า และด้วยอัตราทด (Effective Gearing) ที่สูงกว่า หากราคาหุ้นขึ้นจริง ผลตอบแทนก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
ในทางกลับกัน หากมองว่าตลาดมีแนวโน้มปรับตัวลง ก็สามารถเลือกใช้ Put DW เพื่อเปิดโอกาสลงทุนในช่วงตลาดขาลงได้เช่นกัน
และนี่คือเหตุผลที่ DW กลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่น่าสนใจในช่วงตลาดผันผวน เพราะ DW เปิดโอกาสให้นักลงทุนทำกำไรได้ในทั้งตลาดขาขึ้นและขาลง ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ประเภทของ DW
แล้วตอนนี้มี DW อะไรที่นักลงทุนไทยสามารถลงทุนได้บ้าง ?
เชื่อว่าหลายคนที่เคยลงทุนในตลาดหุ้นไทย น่าจะเคยเห็นชื่อ DW ที่ลงท้ายด้วย “41” ผ่านตามาบ้าง
รู้หรือไม่ว่า ? DW41 คือรหัสที่ใช้เรียก Derivative Warrants (DW) ที่ออกโดยบริษัทหลักทรัพย์ เจพีมอร์แกน (ประเทศไทย) จำกัด หรือ JPMorgan Securities (Thailand) Limited
โดยเลข “41” คือหมายเลขผู้ออกหลักทรัพย์ (Issuer Number) ที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนดให้ J.P. Morgan ใช้อย่างเป็นทางการ
แน่นอนว่า หนึ่งในปัจจัยสำคัญ ก่อนตัดสินใจลงทุนใน DW คือ การเลือกผู้ออกที่มีมาตรฐาน เชื่อถือได้ และมีชื่อเสียงในระดับสากล
ซึ่ง JPMorgan Securities (Thailand) Limited ถือเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจ ด้วยความเป็นบริษัทในเครือของ J.P. Morgan หนึ่งในสถาบันทางการเงินที่ใหญ่ที่สุดของโลก
ที่สำคัญ J.P. Morgan ไม่ได้เป็นเพียงผู้ออก DW รายใหญ่ทั้งในไทยและระดับโลกเท่านั้น แต่ยังมีจุดแข็งที่โดดเด่นเมื่อเทียบกับรายอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น
- สภาพคล่องที่สูง ซื้อขายได้ง่าย
- ระบบ Market Maker ทำงานรวดเร็ว แม่นยำ
- มี DW ให้เลือกหลากหลาย ครอบคลุมหุ้นชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ
อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนคงพอเห็นถึงภาพรวมของ ตลาด DW กันบ้างแล้ว
ทีนี้เราลองมาดูขั้นตอน “Step by Step” ของการลงทุน DW ในตลาดไทยกันบ้าง
เมื่อนักลงทุนจะเลือกซื้อ DW สิ่งสำคัญคือ ต้องทำความเข้าใจลักษณะเฉพาะ หรือ Features ของ DW แต่ละรุ่น เพื่อประเมินว่า DW ตัวไหนเหมาะกับกลยุทธ์ของเรา โดยเบื้องต้นให้สังเกต 3 ส่วนหลัก
1. ชื่อ DW
ยกตัวอย่างเช่น “UUUUUU41CYYMMA”
UUUUUU = ชื่อหุ้นหรือดัชนีหุ้น ที่ DW รุ่นนี้ อ้างอิง
41 = หมายเลขผู้ออก DW ซึ่งในที่นี้คือ J.P. Morgan
C = ประเภทของ DW ว่าเป็น Call (C) หรือ Put (P)
YY = ปีที่ DW จะหมดอายุ เช่น 26 หมายถึงปี 2026
MM = เดือนที่ DW จะหมดอายุ เช่น 06 หมายถึงเดือนมิถุนายน
A = รุ่นของ DW มีตั้งแต่ A-Z
ทำความเข้าใจง่าย ๆ ชื่อ DW ก็เหมือน “ชื่อสินค้า” ที่บอกรายละเอียดไว้ครบในตัวเดียว แยกออกเป็น “ชื่อหุ้น-ผู้ออก-ประเภท-วันหมดอายุ-รุ่น”
ดังนั้น นักลงทุนสามารถค้นหา DW ของ J.P. Morgan ได้ง่าย ๆ เพียงพิมพ์ชื่อหุ้นหรือดัชนีที่สนใจ ตามด้วยเลข “41” เพื่อดูผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
2. ข้อมูล DW เบื้องต้น
ก่อนจะตัดสินใจลงทุนใน DW นักลงทุนควรพิจารณาต้นทุนและความคุ้มค่าเบื้องต้น โดยดูจากข้อมูลสำคัญหลายตัว เช่น ราคา, อัตราทด (Effective Gearing), ความไวต่อราคาหุ้นแม่ (Sensitivity) และค่าเสื่อมทางเวลา (Time Decay) เป็นต้น
เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น เราลองมาดูตัวอย่าง DW “UUUUUU41CYYMMA” กัน
- สมมติว่า DW ตัวนี้มีราคาซื้อขายอยู่ที่ 0.32 บาท
นั่นหมายความว่า เงินลงทุนขั้นต่ำจะอยู่ที่ 0.32 x 100 หน่วย = 32 บาท (เนื่องจาก DW ซื้อขายเป็นชุดละ 100 หน่วย)
- DW นี้มี Effective Gearing อยู่ที่ 4.25 เท่า
แปลว่า หากราคาหุ้นแม่เคลื่อนไหวขึ้นหรือลง 1% ราคาของ DW จะเปลี่ยนแปลงราว 4.25%
ช่วยขยายโอกาสทำกำไร แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงในทิศทางตรงกันข้ามเช่นกัน
- Sensitivity อยู่ที่ 0.5
แปลว่า หากราคาหุ้นแม่เปลี่ยนแปลง 1 ช่อง (Tick) ราคาของ DW จะขยับราว 0.5 ช่อง
- Time Decay อยู่ที่ -0.25% ต่อวัน
หมายความว่า ถ้าราคาหุ้นแม่ไม่เปลี่ยนแปลง มูลค่าของ DW จะลดลงประมาณ 0.25% ต่อวัน
เพราะมูลค่าตามเวลาจะค่อย ๆ ลดลงเมื่อใกล้วันหมดอายุ
อีกปัจจัยที่ต้องดูคือ Moneyness คือการวัดความสัมพันธ์ระหว่างราคาใช้สิทธิของ DW กับราคาหุ้นแม่
เช่น ปัจจุบัน DW ตัวนี้อยู่ในสถานะ Out of the Money (OTM) ประมาณ 10.81%
สำหรับ Call DW หมายความว่า ราคาหุ้นแม่ยังต่ำกว่าราคาใช้สิทธิอยู่ประมาณ 10.81%
หากราคาหุ้นแม่สูงกว่าราคาใช้สิทธิ ก็จะเรียกว่า In the Money (ITM) ซึ่งมีโอกาสใช้สิทธิได้กำไร
สุดท้ายคือ Implied Volatility (IV) อยู่ที่ 36.12%
ตัวเลขนี้สะท้อนความผันผวนที่ตลาดคาดว่าจะเกิดขึ้นในหุ้นแม่ ยิ่ง IV สูง DW จะยิ่งมีมูลค่าสูง เพราะราคาหุ้นมีแนวโน้มแกว่งตัวแรงมากขึ้น
3. วันครบกำหนดอายุ และข้อควรระวัง
DW มีความแตกต่างจากหุ้นและดัชนีหุ้น เนื่องจากมีวันครบกำหนดอายุ และไม่สามารถถือได้ตลอดไป
โดยทั่วไป นักลงทุนควรเลือก DW ที่มีอายุเหลือมากพอ เพื่อให้ราคาหุ้นแม่มีเวลาปรับตัวตามแนวโน้มที่คาดไว้
เช่น ควรเหลืออย่างน้อย 1-2 เดือน สำหรับนักลงทุนทั่วไป หรือมากกว่านั้นในกรณีที่ต้องการถือระยะกลาง
ทั้งนี้ ควรระวังว่า DW ที่ใกล้หมดอายุ แม้จะดูราคาถูก แต่มีความเสี่ยงสูง
เพราะค่าเสื่อมราคาจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีโอกาสน้อยที่ราคาจะฟื้นกลับทันในระยะเวลาอันสั้น หากหลักทรัพย์อ้างอิงไม่เคลื่อนไหวตามแผน
DW เป็นเครื่องมือที่มีโครงสร้างซับซ้อน ซึ่งนักลงทุนสามารถศึกษาและนำไปใช้ในการบริหารความเสี่ยงและโอกาสในการลงทุนได้
แต่อย่าลืมว่า หากคิดจะลงทุนใน DW ทั้งที ควรเลือกผู้ออกที่มีผลิตภัณฑ์หลากหลาย และมีสภาพคล่องในตลาดสูง
เพราะหากเลือก DW ที่มีสภาพคล่องต่ำ อาจทำให้ซื้อขายไม่สะดวก หรือเสียโอกาสในการเข้าทำกำไรในช่วงเวลาสำคัญได้ นั่นเอง…
คำเตือน : DW เป็นเครื่องมือที่สามารถเพิ่มโอกาสในการทำกำไรได้มากก็จริง แต่ก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน โดยเฉพาะในเรื่องของความผันผวนและค่าเสื่อมจากเวลา นักลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
นักลงทุนควรศึกษาเงื่อนไขของ DW แต่ละรุ่นให้รอบคอบ รวมถึงเข้าใจโครงสร้างผลตอบแทน ความเสี่ยง และปัจจัยที่มีผลต่อราคา ก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง
ใครสนใจลงทุนใน DW ผ่าน J.P. Morgan สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :
https://www.jpmorgandw41.com/th/
และหาข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมที่ LINE OA @DW41 https://lin.ee/k0ybVCP หรือ DW41 Hotline 02-684-2999

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

SPONSORED
© 2025 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon