ลงทุนอะไรดี? ได้ 2 ต่อ! ต่อยอดเงินลงทุนด้วยกองทุนลดหย่อนภาษี

ลงทุนอะไรดี? ได้ 2 ต่อ! ต่อยอดเงินลงทุนด้วยกองทุนลดหย่อนภาษี

1 ต.ค. 2023
เมื่อเริ่มเข้าสู่ช่วงสิ้นปี หากเราคือคนวัยทำงาน และเป็นผู้มีรายได้ที่ต้องเตรียมวางแผนลดหย่อนภาษี อาจจะพอคุ้น ๆ ชื่อกองทุนรวมลดหย่อนภาษีอย่าง SSF และ RMF ซึ่งถือว่าเป็นคู่หูกองทุนรวม ที่เป็นเครื่องมือลดหย่อนภาษีตัวสำคัญที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงเลยทีเดียวก็ว่าได้ เพราะประโยชน์ที่เราได้รับนอกจากจะได้ทั้งลดหย่อนภาษีแล้ว เรายังสามารถต่อยอดเงินลงทุนไปพร้อม ๆ กันได้ด้วย
แต่สำหรับมือใหม่ที่อยากจะวางแผนลดหย่อนภาษีด้วยกองทุนรวมลดหย่อนภาษี แต่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเลือกลงทุนกองไหนดี วันนี้เราขอชวนมาทำความรู้จัก SSF และ RMF และมาดูกันว่ากองทุนไหนที่แนะนำให้ลงทุนในปีนี้
กองทุนรวม SSF กับ RMF คืออะไร ทำไมเราควรทำความรู้จัก
กองทุนรวม SSF หรือกองทุนรวมเพื่อการออม
เป็นกองทุนที่ให้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี และส่งเสริมการออมไปในตัว สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30% ของรายได้ และไม่เกิน 200,000 บาท (และเมื่อรวมกับการออมเพื่อเกษียณอื่น ๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท)
เงื่อนไขกองทุนรวม SSF
กองทุนรวม SSF ไม่กำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำต่อปี และไม่จำเป็นต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปีก็ได้ แต่มีเงื่อนไข คือ เมื่อลงทุนแล้วจะต้องถือครองให้ครบ 10 ปีนับจากวันที่ซื้อ
กองทุนรวม RMF หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
เป็นกองทุนที่ให้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีเช่นกัน สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30% ของรายได้ และเมื่อรวมกับการออมเพื่อเกษียณอื่น ๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
เงื่อนไขกองทุนรวม RMF
กองทุน RMF ไม่กำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำ แต่มีการกำหนดความต่อเนื่องในการลงทุนและเงื่อนไขในการถือครอง คือ เมื่อเราเริ่มลงทุนแล้ว ก็จะต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี (เว้นได้ไม่เกิน 1 ปี) ถือครองไม่น้อยกว่า 5 ปีนับตั้งแต่วันที่ซื้อครั้งแรก และขายได้ตอนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
เพื่อให้ผู้อ่านทุกคนเข้าใจได้ง่าย ๆ เราจึงทำสรุปเปรียบเทียบทั้งสองกองทุน ตามตารางด้านล่างนี้
*เงินลงทุนเพื่อการเกษียณอายุ ประกอบด้วย กองทุน SSF, กองทุน RMF, กบข., กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน, กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.), เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
เมื่อทำความรู้จักกับกองทุนรวมลดหย่อนภาษีกันไปแล้ว ใครที่กำลังสนใจกองทุนรวมเหล่านี้อยู่ สิ่งสำคัญที่เราต้องทำความเข้าใจก่อนตัดสินใจเลือกลงทุนในกองทุนใดกองหนึ่งก็คือ เราสามารถยอมรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน วัตถุประสงค์ของการลงทุนคืออะไร เราสามารถเลือกลงทุนได้ระยะเวลานานแค่ไหน แล้วค่อยมองหาสไตล์การลงทุนที่เหมาะสม เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของตัวเรามากที่สุด โดยกองทุนแนะนำของเราในช่วงโค้งสุดท้ายของปี 2566 มีดังนี้

แม้ว่ากองทุนรวมจะเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยลดหย่อนภาษีพร้อมโอกาสสร้างความเติบโตให้กับพอร์ตลงทุน แต่เพื่อรักษาผลประโยชน์ต่อตัวผู้ลงทุนก็อย่าลืมว่าทุกการลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาให้ถี่ถ้วนทุกครั้งก่อนตัดสินใจลงทุน
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุน ก่อนตัดสินใจลงทุน
• SSF เป็นกองทุนเพื่อส่งเสริมการออม และ RMF ลงทุนเพื่อเกษียณอายุ ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน
• KFGBRANSSF, KFGBRANRMF, KFCLIMASSF, KFCLIMARMF, KFCMEGASSF, KFCMEGARMF, KFACHINSSF, KFACHINRMF PRINCIPAL iPROPEN-SSF, PRINCIPAL iPROPRMF ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนจึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุน หรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
• PRINCIPAL iPROPRMF ลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก
• PRINCIPAL iPROPRMF และ PRINCIPAL iPROPEN-SSF ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนทำการลงทุน
หมายเหตุ: *การลงทุนในกองทุน SSF RMF ของ บลจ.อื่น ที่มิใช่ บลจ. กรุงศรี ครั้งแรก จะต้องติดต่อสาขาธนาคารกรุงศรีก่อนทำการลงทุน
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.