MCA เบื้องหลัง Field Marketing ร้อยล้านในวงการ FMCG กำลังจะ IPO

MCA เบื้องหลัง Field Marketing ร้อยล้านในวงการ FMCG กำลังจะ IPO

MCA เบื้องหลัง Field Marketing ร้อยล้านในวงการ FMCG กำลังจะ IPO
MCA x ลงทุนแมน
7 เดือนแรกของปี 2566 เม็ดเงินโฆษณาในประเทศไทยสูงถึง 65,093 ล้านบาท
กลุ่มธุรกิจที่จ่ายเม็ดเงินโฆษณามากที่สุด ช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา คือ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม 10,368 ล้านบาท รองลงมาคือ กลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อความงามและผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย (Personal Care & Cosmetic) 8,794 ล้านบาท
ถ้าจะมองเรื่องนี้ให้ใกล้ตัวเรามากขึ้น
เวลาเราไปเดินเล่นในศูนย์การค้า คงสังเกตเห็นบูทสินค้า, งาน Roadshow หรืออิเวนต์สินค้าต่าง ๆ
หลายครั้งก็ดึงดูดความสนใจของเรา จนต้องไปร่วมเล่นกิจกรรม หรือซื้อสินค้าต่าง ๆ แบบไม่รู้ตัว
ซึ่งหนึ่งธุรกิจที่อยู่เบื้องหลังกิจกรรมการตลาดภาคสนามเหล่านี้
ก็คือ บริษัท มาร์เก็ต คอนเน็กชั่นส์ เอเชีย จำกัด (มหาชน) หรือ MCA ที่กำลังจะ IPO เร็ว ๆ นี้
แล้วความน่าสนใจของธุรกิจนี้ เป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ปกติแล้ว วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ หนึ่งในช่วงเวลาที่ใช้เม็ดเงินโฆษณามากที่สุดคือ ช่วงแนะนำ หรือ Introduction
เพื่อสร้างฐานลูกค้า เพิ่มการรับรู้ของแบรนด์ หรือ Brand Awareness
เมื่อฐานลูกค้าเริ่มขยายตัว ผลิตภัณฑ์แบรนด์ต่าง ๆ เข้าสู่ช่วงอื่นของวัฏจักรแล้ว 
กลยุทธ์ทางการตลาดจะเปลี่ยนไป โดยเม็ดเงินโฆษณายังเข้ามาช่วยเสริมในด้านต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความเชื่อมโยงกับกลุ่มผู้อุปโภคบริโภค หรือ Customer Engagement
ไปจนถึง การผลักดันยอดขายอย่างต่อเนื่อง หรือ Boost Sales
สะท้อนให้เห็นว่า กลยุทธ์และการดำเนินการทางการตลาด กลายเป็นสิ่งจำเป็นแทบจะทุกช่วงเวลาในวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์
จุดนี้เองคือ โอกาสทางธุรกิจของ MCA ผู้เชี่ยวชาญในการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด และผู้ให้บริการจัดกิจกรรมส่งเสริมทางการตลาดครบวงจร
ที่ปัจจุบันนี้ สามารถดำเนินธุรกิจให้เติบโต จนมีรายได้หลักร้อยล้านบาทต่อปี
ด้วยจุดเด่นของ MCA ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการตลาดภาคสนาม หรือ Field Marketing
และยังให้บริการครบวงจร ไปจนถึงบริการพนักงานแนะนำสินค้า หรือ Product Consultant และบริการพนักงานจัดเรียงสินค้า หรือ Merchandiser
ซึ่งทั้งหมดนี้ ก็เข้ามาช่วยส่งเสริมการขายสินค้า ณ จุดขายสินค้า ในแต่ละสถานที่จัดจำหน่าย
เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้นได้
ทีนี้ ลองมาดูกันว่า 4 กลุ่มรายได้หลัก ของ MCA มาจากไหนบ้าง
1. รายได้จากกิจกรรมทางการตลาดและดิจิทัล
เช่น งานออกบูทสินค้าและงานออกโร้ดโชว์สินค้า, งานอิเวนต์แบบผสมผสาน (Hybrid Event) ทั้งแบบออนไลน์ (Virtual Event) และแบบออฟไลน์ (Offline Event)
ฐานลูกค้าหลักคือ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม, กลุ่มของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์ และกลุ่มของใช้ในครัวเรือนและสำนักงาน
2. รายได้จากการบรรจุและจัดส่งสินค้า
ซึ่งเป็นบริการสนับสนุนต่อยอดจากกิจกรรมทางการตลาดต่าง ๆ
เช่น การบรรจุและจัดส่งสินค้าตัวอย่าง สินค้าทดลอง และสื่อประชาสัมพันธ์ไปยังสถานที่ที่ลูกค้ากำหนด
รวมถึงกิจกรรมการติดตั้ง และการรื้อถอนบูทแสดงสินค้า เป็นต้น
ฐานลูกค้าหลักคือ กลุ่มของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์, กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม และกลุ่มของใช้ในครัวเรือนและสำนักงาน
3. รายได้จากการบริการพนักงานแนะนำสินค้า
มีหน้าที่ในการแนะนำ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสินค้า แจกสินค้าตัวอย่าง สาธิตสินค้า รวมถึงนำเสนอรายการส่งเสริมการขาย
ฐานลูกค้าหลักคือ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม กลุ่มของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์
4. รายได้จากบริการจัดเรียงสินค้า
ช่วยดูแลความพร้อมของสินค้า ณ จุดขายหลากหลายรูปแบบตามสถานที่ต่าง ๆ
หน้าที่รับผิดชอบหลัก ก็เช่น การควบคุมจำนวนสินค้าหน้าร้านให้พร้อมต่อการขาย, การตรวจสอบอายุของสินค้า, การจัดเรียงสินค้าให้เป็นไปตามมาตรฐาน, การบริหารจัดการสินค้าคงเหลือในร้านค้า เป็นต้น
โดยมีจุดเด่นจากรูปแบบบริการจัดเรียงสินค้าแบบใช้ร่วมกัน หรือ Shared Merchandiser ที่พนักงานจัดเรียงสินค้า 1 คน จะทำหน้าที่ดูแลสินค้าจากลูกค้าหลากหลายเจ้า
ซึ่งบริการรูปแบบนี้ ได้รับผลตอบรับที่ดีมากจากฐานลูกค้าผู้ประกอบการ โดยเฉพาะธุรกิจในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม และกลุ่มของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์
ถึงตรงนี้ จะเห็นได้ว่า ฐานลูกค้าหลักของ MCA มักจะเป็นกลุ่ม Food & Beverage และกลุ่ม Personal Care
ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้า FMCG หรือ Fast Moving Consumer Goods กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีการซื้อขายรวดเร็ว
แน่นอนว่า เมื่อสินค้าหมุนเร็ว สิ่งที่ตามมาก็คือ การผลักดันทางการตลาดอยู่เป็นประจำ
โอกาสนี้เอง ที่สร้างการเติบโตให้กับธุรกิจ MCA
และถึงแม้ว่า ในช่วงวิกฤติโรคระบาดที่ผ่านมา MCA จะได้รับผลกระทบจากวิกฤตินี้ ไม่ต่างไปจากธุรกิจอื่น ๆ
แต่ด้วยการปรับตัวตามสถานการณ์ และมองหาโอกาสใหม่ ๆ อยู่เสมอ ก็ทำให้ MCA ยังคงยืนหยัดดำเนินธุรกิจ และเติบโตมาได้อย่างต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน
สังเกตได้จากผลประกอบการตลอด 3 ปีที่ผ่านมา
ปี 2563 รายได้รวม 236.28 ล้านบาท กำไรสุทธิ 0.73 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้รวม 225.30 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2.74 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้รวม 372.77 ล้านบาท กำไรสุทธิ 16.51 ล้านบาท
และล่าสุด 6 เดือนแรกของปี 2566 MCA ทำกำไรสุทธิไปแล้ว 12.26 ล้านบาท
สิ่งที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้คือ ในอนาคต ธุรกิจผู้จัดจำหน่ายสินค้าหรือ Distributor กำลังจะกลายเป็นธุรกิจใหม่ของ MCA
โดยไตรมาส 3 ปี 2566 MCA เริ่มต้นโครงการนำร่องหรือ Pilot Project ไปแล้ว 2 โครงการ
เป็นบริการรูปแบบ Principal ซึ่งดำเนินการเสมือนเป็นเจ้าของสินค้าเอง และสามารถบริหารจัดการ
รวมถึงการสร้างผลกำไรตามยอดขายสินค้าได้
ที่สำคัญ ธุรกิจใหม่นี้ MCA เชื่อว่าจะสามารถ Scale Up ขยายธุรกิจให้เติบโต ด้วยทรัพยากรรูปแบบเดิมได้
ซึ่งเป้าหมายที่วางไว้ คือ การสร้างยอดขายสินค้าที่เพิ่มขึ้น
ภายใต้การประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) ที่มีประสิทธิภาพในอนาคต นั่นเอง..
Tag: IPOMCA

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

SPONSORED
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon