สรุปสัมมนา THE WISDOM Wealth Forum 2024 จับสัญญาณเศรษฐกิจโลก ค้นหากลยุทธ์ปรับพอร์ตให้เสถียร

สรุปสัมมนา THE WISDOM Wealth Forum 2024 จับสัญญาณเศรษฐกิจโลก ค้นหากลยุทธ์ปรับพอร์ตให้เสถียร

3 เม.ย. 2024
สรุปสัมมนา THE WISDOM Wealth Forum 2024 จับสัญญาณเศรษฐกิจโลก ค้นหากลยุทธ์ปรับพอร์ตให้เสถียร
KBank x ลงทุนแมน

ก้าวเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 ยังคงเป็นห้วงเวลาแห่งความท้าทายสำหรับนักลงทุน เพราะเศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญกับแรงกดดันจากหลายปัจจัย เช่น

- การเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกา ที่จะเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน
- สงครามระหว่างประเทศมหาอำนาจที่ยืดเยื้อ ไม่รู้จะจบลงเมื่อไร
- ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่กำลังทวีความรุนแรง และยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกด้วย

อย่างไรก็ดี ยังพอเห็นสัญญาณบวกด้านการลงทุนด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลง ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (FED) เริ่มส่งสัญญาณลดดอกเบี้ย

หรือนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจีน ที่สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค และนักลงทุน

ข้อมูลอัพเดทเหล่านี้ ลงทุนแมน ได้มาจากงานสัมมนา THE WISDOM Wealth Forum: Thailand 2024 Investment Opportunity Redefined โดย เดอะวิสดอมกสิกรไทย

ความน่าสนใจของเรื่องนี้เป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะมาสรุปประเด็นสำคัญให้ฟัง..

เริ่มจากมุมมองของ คุณรุ่งเรือง สุขเกิดกิจพิบูลย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย

ในช่วงต้นปีหลายคนคงรู้สึกว่า โลกมีความผันผวนและมีความไม่แน่นอนเต็มไปหมด ทั้งในเชิงมิติเศรษฐกิจและการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นภาวะเงินเฟ้อที่มาแรง, ธนาคารกลางทั่วโลกที่ต้องเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ย รวมไปถึงความขัดแย้งระหว่างประเทศมหาอำนาจ

แต่ถ้าเรามองย้อนกลับไปในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา โลกของเราเผชิญกับวิกฤติต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น วิกฤติต้มยำกุ้ง วิกฤติซับไพรม์ วิกฤติโรคระบาด ซึ่งทุกวิกฤติล้วนแต่มีสาเหตุและผลกระทบแตกต่างกัน

แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ โลกของเราผ่านพ้นวิกฤติเหล่านั้นมาได้เสมอ และกลับมาเติบโตอย่างสง่างาม อีกครั้ง

แต่รู้หรือไม่ว่า ? สิ่งที่ไม่เคยหยุดนิ่งท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั่วโลกคือ วิวัฒนาการของเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ชีวิตของผู้คนง่ายขึ้นกว่าเมื่อก่อน

ถึงแม้จะมีเทคโนโลยีมากมายมาช่วยอำนวยความสะดวก แต่การลงทุนในยุคนี้กลับคาดการณ์ได้ยากมากขึ้น ซึ่งถ้าไม่มีความเสี่ยงก็เท่ากับไม่มีโอกาส

สิ่งสำคัญของการลงทุนคือ การตัดสินใจที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสม ถูกที่ ถูกเวลา จึงจะสามารถเอาชนะตลาดได้

แต่คำถามสำคัญของนักลงทุนหลาย ๆ คนคงหนีไม่พ้น เราควรปรับพอร์ตอย่างไร ? เศรษฐกิจไทยจะกลับมาไหม ? ดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไร ? เราอยู่ถูกที่ถูกเวลาไหม ?

เราลองมาหาคำตอบจาก Session ถัดไปกันได้เลย…

Session 1: Global Economics Landscape 2024 แนวโน้มและทิศทางเศรษฐกิจโลกปี 2024

โดย ดร.ชญาวดี ชัยอนันต์, ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายองค์กรสัมพันธ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย

ซึ่งออกมากล่าวว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2024 ยังมีความท้าทาย จากการเป็นปีที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ จากปี 2023 ที่ GDP ไทยเติบโตเพียง 1.9% โดย 3 ปัจจัยหลักที่มากดดัน GDP ได้แก่

- การผลิตและส่งออกชะลอตัว จากศักยภาพการแข่งขันในภาคการผลิตที่ลดลง
เช่น ส่วนแบ่งการตลาดในภาคการเกษตรหายไปถึง 20% และสิ่งทอเครื่องนุ่งห่มก็ถูกตีตลาดจากจีน

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังไม่ได้อยู่ในภาคการผลิตในอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ของโลก เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งอาจเป็นปัญหาต่อเศรษฐกิจไทยในอนาคต

- จำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามาตามคาด แต่การใช้จ่ายกลับน้อยลง
แม้ว่าในปี 2023 มีจำนวนนักท่องเที่ยวรวมกว่า 28.2 ล้านคน
แต่เมื่อมาดูค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการท่องเที่ยวต่อคนที่ลดลงจาก 44,000 บาท เหลือเพียง 36,000 บาท ก็ส่งผลให้รายได้รวมจากการท่องเที่ยวลดลงอยู่ดี

- รัฐบาลเบิกจ่ายงบประมาณค่อนข้างช้า เหตุผลจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่ล่าช้าถึง 6 เดือน งบลงทุนที่หายไปส่งผลให้ GDP ลดลงประมาณ 0.8%
อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจัยทางเศรษฐกิจในปีที่ผ่านมาจะดูไม่สดใส แต่ ธปท. คาดการณ์ว่าในปี 2024 GDP ไทยจะกลับมาเติบโตที่ระดับ 2.5-3.0% ได้อีกครั้ง

จากทั้งการส่งออกที่เริ่มดีขึ้น, เงินเฟ้อที่ไม่ค่อยร้อนแรง, การใช้จ่ายภาครัฐที่น่าจะฟื้นตัว, การท่องเที่ยวที่เริ่มดีขึ้น, มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ของแบงก์ชาติ และธนาคารพาณิชย์

และเมื่อภาพเศรษฐกิจไทยในปี 2024 ที่ดูจะสดใสแล้ว
คำถามต่อมาก็คือ แล้วเราควรจะลงทุนอย่างไร หรือใช้กลยุทธ์อะไรในการลงทุนปีนี้ดี ?

Session 2 : Investment Opportunity & Strategy 2024 โอกาส ความเสี่ยง และกลยุทธ์การลงทุนปี 2024

โดย
- Mr. Tai Hui, Managing Director, Chief Market Strategist Asia Pacific, J.P. Morgan Asset Management (JPMAM)
- คุณวจนะ วงศ์ศุภสวัสดิ์, CFA, Chief Investment Officer บลจ.กสิกรไทย
- คุณสรพล วีระเมธีกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บมจ. หลักทรัพย์กสิกรไทย

เริ่มต้นด้วยเศรษฐกิจสหรัฐ Mr. Tai Hui กล่าวว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น ผู้บริโภคมีกำลังซื้อแข็งแกร่ง ภาคธุรกิจยังคงมีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง สัญญาณเหล่านี้ล้วนบ่งชี้ว่า เฟดอาจจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเร็ว ๆ นี้

โดย JPMAM คาดการณ์ว่า เฟดจะลดดอกเบี้ยประมาณ 3 ครั้งในปี 2024 โดยเริ่มต้นในช่วงไตรมาสที่ 2 หรือราว ๆ เดือนมิถุนายน

ซึ่งการลดดอกเบี้ยนี้จะเป็นการส่งเสริมให้เศรษฐกิจเติบโตต่อเนื่อง และเป็นการส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีโอกาสเข้าสู่ช่วง “Soft Landing”

โดยคุณวจนะกล่าวเสริมว่า เศรษฐกิจของสหรัฐฯ เติบโตสูงสุดในรอบ 10 ปี โดยเฉพาะภาคการบริโภค ที่สะท้อนได้จากดัชนีราคา จากรายจ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ที่ 121.8 จุด

ในขณะที่อัตราการว่างงาน หรือ Unemployment Rate ของสหรัฐฯ อยู่ที่ 3.9% ซึ่งถือว่าต่ำมากเมื่อเปรียบเทียบกับเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ที่อยู่ราว ๆ 7%

สาเหตุสำคัญ มาจากการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การผลิตเพื่อไม่ให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ต้องหยุดชะงักเพราะความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ จาก “Offshoring” หรือการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่ต้นทุนการผลิตต่ำ

มาสู่ยุทธศาสตร์ “Reshoring” ที่หมายถึงการนำเอากระบวนการผลิตส่วนที่สำคัญกลับคืนมายังประเทศตัวเอง พร้อมกันนี้ยังได้กำลังสนับสนุนจากเม็กซิโก ซึ่งมีแรงงานทักษะข้ามมาทำงานในสหรัฐฯ

รู้หรือไม่ว่า ? ในปี 2022 ถึงปี 2023 นโยบาย Reshoring ได้สร้างการจ้างงานในสหรัฐฯ ไปแล้วกว่า 700,000 ตำแหน่ง และจะเพิ่มเป็น 1 ล้านตำแหน่ง ภายในปีนี้

พอเป็นแบบนี้ ในปี 2024 สหรัฐฯ จะมีแรงงานรวมกว่า 160 ล้านคน และเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทำให้อัตราการว่างงานลดลงราว ๆ 0.6-0.7%

นอกจากนี้ ยังมีแรงหนุนจากบริษัทเทคฯ ยักษ์ใหญ่ ที่นำ AI มาใช้จริง โดยมีผู้ใช้งานหลายล้านรายทั่วโลก

อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าทุกอย่างจะดูสดใสไปหมดสำหรับสหรัฐฯ แต่สิ่งหนึ่งที่นักลงทุนสมควรจับตามอง และเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดคือ การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่จะเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนนี้

ซึ่งผู้ชิงตำแหน่งเก้าอี้นี้คงหนีไม่พ้น Joe Biden จากพรรค Democrats และ Donald Trump จากพรรค Republican โดยทั้งสองคนมีนโยบายที่แตกต่างกัน

แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ “นโยบายการตั้งกำแพงภาษี” ที่จะส่งผลกระทบต่อทุก ๆ ประเทศในโลก โดยเฉพาะประเทศจีน

นอกจากนี้ จีนยังเจอปัญหาจากภาคอสังหาริมทรัพย์, โครงสร้างพื้นฐานเกินความต้องการของตลาด และนโยบายที่ไม่ชัดเจนของภาครัฐ

อย่างไรก็ตาม Mr. Tai Hui ได้กล่าวว่า ตอนนี้เริ่มจะเห็นสัญญาณการกลับตัวของตลาดหุ้นจีนแล้ว จากการที่ทางการจีน พยายามออกมาตรการต่าง ๆ มากระตุ้นเศรษฐกิจและฟื้นฟูตลาดหุ้นที่ตกต่ำในช่วงที่ผ่านมา

ไม่ว่าจะเป็น การออกแพ็กเกจพิเศษ ด้วยงบประมาณกว่า 2 ล้านล้านหยวน หรือ 10 ล้านล้านบาท เพื่อช้อนซื้อหุ้นในตลาดหุ้นจีน เรียกความเชื่อมั่นคืนจากนักลงทุนอีกครั้ง

หรือการให้คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จีน สนับสนุนให้นักลงทุนสถาบัน เช่น กองทุนรวม, กองทุนบำเหน็จบำนาญของรัฐ และบริษัทประกันภัย เข้าลงทุนในตลาดหุ้นมากขึ้น

ที่น่าสนใจคือ คุณสรพลได้กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันตลาดหุ้นจีนโดนกดดันจากหลากหลายปัจจัย แต่บริษัทในตลาดยังสามารถทำกำไรได้อย่างน่าสนใจ

สะท้อนได้จาก Price to Earnings Ratio (PE) ของตลาดหุ้น CSI 300 ที่อยู่เพียง 11.45 เท่า ในขณะที่ตลาดหุ้น S&P 500 อยู่ที่ 23.7 เท่า และตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทย SET ที่ 18 เท่า

กลับมาที่ประเทศไทย คุณสรพล ได้กล่าวว่า Fund Flow ยังไหลออกจากตลาดทุนบ้านเรา เพราะดอกเบี้ยสหรัฐอเมริกายังคงสูง แต่หากดอกเบี้ยหยุดขึ้นและปรับตัวลดลง ก็จะมี Fund Flow ไหลกลับเข้าไทย

อย่างไรก็ตาม ก็ยังต้องมองว่าอุตสาหกรรมใด จะได้ประโยชน์หาก Fund Flow ไหลกลับเข้าไทย และจัดสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะสม

ซึ่งในมุมมองของ บมจ. หลักทรัพย์กสิกรไทย มองว่าหุ้นไทยที่ได้รับประโยชน์ คือหุ้นที่มีขนาดกลางหรือขนาดเล็ก หรือที่เรียกว่า Mid-Small Cap ที่ไม่พึ่งพา Fund Flow จากต่างชาติมากนัก

นอกจากนี้ คุณสรพลยังมองว่าตลาดหุ้นไทยยังคงทรงตัว และคาดว่าจะมีโอกาสย่อตัวอีกในราวเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายน จากปัจจัยเงินบาทอ่อนค่า เกิดเงินทุนไหลออก (Capital Outflow)

จุดสังเกตหุ้นที่มีความเสี่ยงสูง มักเป็นหุ้นในกลุ่มธุรกิจที่พึ่งพาการท่องเที่ยว หรือภาคเกษตรกรรมที่เป็นกลุ่มเศรษฐกิจยุคเก่า (Old Economy)
สำหรับการลงทุนในระยะกลาง-ยาว บมจ. หลักทรัพย์กสิกรไทย แนะนำให้จัดสัดส่วนการลงทุน แบ่งเป็น

- 30% ลงทุนในตลาดหุ้นไทย
โดยเน้นไปที่กลุ่มหุ้น Defensive ที่มีอัตราจ่ายปันผลสูง และเป็นหุ้นในหมวดหมู่ Mid-Small Cap ที่ไม่พึ่งพา Fund Flow จากนักลงทุนต่างชาติ

- 30% ลงทุนในหุ้นต่างประเทศ
โดยเฉพาะหุ้นสหรัฐฯ ที่มีความแข็งแกร่งสูง และหุ้นเทคโนโลยีที่อยู่ในอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ไม่ว่าจะเป็น AI, Semiconductor และเทคโนโลยีขั้นสูง

นอกจากนี้ ทาง บมจ. หลักทรัพย์กสิกรไทย มองว่า 3 ตลาดหุ้นที่มีอัตราการเติบโตที่น่าสนใจคือ ตลาดหุ้นอินเดีย ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย และตลาดหุ้นซาอุดิอาระเบีย

- 30% ลงทุนในกองทุนรวมตลาดเงิน หรือ Money Market Fund
ซึ่งในปัจจุบันตราสารหนี้ โดยเฉพาะ Bond Yield สหรัฐฯ อายุ 10 ปี ให้ผลตอบแทนที่ค่อนข้างดี เมื่อเปรียบเทียบกับความเสี่ยง

- 10% แบ่งเป็นเงินสด เตรียมไว้สำหรับการลงทุนเมื่อเกิดวิกฤติ

แล้วในมุมมองของ บลจ.กสิกรไทย มองว่ากลยุทธ์การลงทุนแบบไหน ที่น่าสนใจในเวลานี้ ?

คุณวจนะกล่าวว่า ความท้าทายที่นักลงทุนส่วนใหญ่ต้องเผชิญ ท่ามกลางเศรษฐกิจผันผวน คือการซื้อ-ขายผิดจังหวะ มีสัดส่วนของแต่ละสินทรัพย์ไม่เหมาะสมกับภาวะตลาด รวมถึงการปรับพอร์ตไม่ถูกต้อง

พอเป็นแบบนี้ บลจ.กสิกรไทย จึงร่วมมือกับ J.P. Morgan Asset Management (JPMAM) พัฒนา “K-WealthPLUS Series” ที่เป็นโซลูชันด้านการลงทุนแบบ Multi-Asset

ซึ่ง Multi-Asset อธิบายง่าย ๆ คือ การลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อกระจายความเสี่ยงของนักลงทุน พร้อมสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว

ซึ่ง Ms. Jin Yuejue, Asia Head of the Investment Specialist, Multi-Asset Solution group, J.P. Morgan Asset Management กล่าวว่า

ความร่วมมือระหว่าง บลจ.กสิกรไทย และ JPMAM เป็นการผสานศักยภาพของ บลจ.กสิกรไทย ที่มีความเข้าใจเชิงลึกต่อสินทรัพย์และสถานการณ์การลงทุนในไทย ร่วมกับ JPMAM ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการบริหารการลงทุนระดับโลก

ส่งผลให้ “K-WealthPLUS Series” เป็นโซลูชันการลงทุนที่ตอบโจทย์ในภาวะตลาดผันผวน คัดสรรและกระจายการลงทุนในสินทรัพย์หลายประเภท โดยนักลงทุนสามารถเลือกลงทุนได้ตามระดับความเสี่ยงที่รับได้ มี 3 กองทุน ได้แก่

- K-WPBALANCED มีสัดส่วนในหุ้นประมาณ 30%
เหมาะกับคนที่เพิ่งเริ่มลงทุน เน้นความมั่นคงของพอร์ต

- K-WPSPEEDUP มีสัดส่วนในหุ้นประมาณ 65%
เหมาะกับคนที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง ต้องการเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงขึ้น จากสัดส่วนหุ้นที่เพิ่มขึ้น แต่ยังไม่อยากให้พอร์ตเหวี่ยงมากเกินไป

- K-WPULTIMATE มีสัดส่วนในหุ้นประมาณ 85%
เหมาะกับคนที่รับความเสี่ยงได้สูง ต้องการเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนจากตลาดหุ้นทั่วโลก

ซึ่งทาง บลจ.กสิกรไทย แนะนำให้จัดพอร์ตการลงทุนแบบ Core & Satellite Portfolio แบ่งเป็น

1. Core Portfolio ประมาณ 80% ของพอร์ต โดยเน้นลงทุนใน K-WealthPLUS Series ตามความเสี่ยงของนักลงทุนแต่ละคน

2. Satellite Portfolio ประมาณ 20% ของพอร์ต โดยเน้นลงทุนระยะสั้น จับจังหวะตลาด หรือใช้กลยุทธ์ Trading ได้

สุดท้ายแล้ว แม้ในปีนี้เรายังต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจมากมาย แต่ในทุกวิกฤติย่อมมีโอกาสในมรสุม ซึ่งเศรษฐกิจลูกนี้ก็สามารถจะมีโอกาสในการลงทุนซ่อนอยู่ได้เช่นเดียวกัน

เพราะฉะนั้น การศึกษาหาความรู้ วิเคราะห์ข้อมูลการลงทุน และการกระจายความเสี่ยง อาจจะเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จของการลงทุนในปีมังกรทองนี้ นั่นเอง…

หมายเหตุ:
-ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
-Price to Earnings Ratio (PE) ตลาดหุ้น CSI 300, S&P 500, SET ณ วันที่ 27 มีนาคม 2024

References:
-สรุปสัมมนา THE WISDOM Wealth Forum: Thailand 2024 Investment Opportunity Redefined จัดโดยเดอะวิสดอมกสิกรไทย
-https://tradingeconomics.com/united-states/unemployment-rate
-https://www.worldbank.org/en/news/press-release/2024/01/09/global-economic-prospects-january-2024-press-release
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.