SCBX ปิดดีล ขาย Robinhood ให้กลุ่มทุนในไทย รับเงินทันที 400 ล้านบาท แต่ถ้าผลงานดี รับสูงสุด 2,000 ล้านบาท..

SCBX ปิดดีล ขาย Robinhood ให้กลุ่มทุนในไทย รับเงินทันที 400 ล้านบาท แต่ถ้าผลงานดี รับสูงสุด 2,000 ล้านบาท..

SCBX ปิดดีล ขาย Robinhood ให้กลุ่มทุนในไทย รับเงินทันที 400 ล้านบาท แต่ถ้าผลงานดี รับสูงสุด 2,000 ล้านบาท..
ย้อนกลับไปเมื่อเดือน มิ.ย. SCBX ได้ตัดสินใจว่า จะปิดตัวแอป Robinhood ลงอย่างถาวร
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะธุรกิจเผชิญกับภาวะขาดทุนหนักอย่างต่อเนื่อง จากตลาดฟู้ดดิลิเวอรีที่แข่งขันสูง
รวมถึงโมเดลธุรกิจของ Robinhood ที่ทำกำไรได้ยาก
ผลประกอบการของ Robinhood ตั้งแต่เปิดให้บริการมา
ปี 2563 มีรายได้ 0.08 ล้านบาท ขาดทุน 88 ล้านบาท
ปี 2564 มีรายได้ 16 ล้านบาท ขาดทุน 1,335 ล้านบาท
ปี 2565 มีรายได้ 538 ล้านบาท ขาดทุน 1,987 ล้านบาท
ปี 2566 มีรายได้ 724 ล้านบาท ขาดทุน 2,156 ล้านบาท
ตลอดเวลา 4 ปี ที่ Robinhood ให้บริการมานั้น มีผลขาดทุนรวมกันไปแล้ว 5,566 ล้านบาท..
ซึ่ง SCBX ได้บันทึกค่าใช้จ่ายครั้งเดียวจากการยุติการให้บริการแอป Robinhood ไป 8,000 ล้านบาท ในงบการเงินไตรมาส 2 ปี 2567
อย่างไรก็ตาม ต่อมา SCBX เกิดเปลี่ยนใจ บอกว่า จะยังให้บริการฟู้ดดิลิเวอรีต่อไป และเลือกจะขายธุรกิจ Robinhood แทนปิดไปเฉย ๆ เพราะมีผู้ที่สนใจยื่นข้อเสนอเข้าซื้อกิจการ อยู่หลายราย
มาวันนี้ SCBX ได้ประกาศอย่างเป็นทางการแล้วว่า ใครคือคนที่จะได้ Robinhood ไปครอบครอง
นั้นคือ “กลุ่มยิบอินซอย” และพันธมิตร
โดย SCBX อนุมัติขายหุ้น Robinhood ให้กับ
-กลุ่มยิบอินซอย ในสัดส่วน 50%
-บริษัท บรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป จำกัด ในสัดส่วน 30%
-บริษัท เอสซีที เรนทอล คาร์ จำกัด ในสัดส่วน 10%
-บริษัท ล็อกซบิท จำกัด (มหาชน) ในสัดส่วน 10%
ดีลนี้มีมูลค่ารวมสูงสุด 2,000 ล้านบาท ประกอบด้วย
-มูลค่าเบื้องต้น ชำระทันที 400 ล้านบาท
-ส่วนเพิ่มตามผลประกอบการสูงสุดไม่เกิน 1,600 ล้านบาท
สำหรับกลุ่มยิบอินซอย เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจในไทยมานานกว่า 100 ปี โดยมีผู้ก่อตั้งเป็นนักธุรกิจชาวจีน

ปัจจุบันประกอบธุรกิจหลากหลายอย่าง ตั้งแต่
- IT Digital Solutions
- High Technology
- Trading & Manufacturing
- Insurance Broker
ผลประกอบการของของยิบอินซอยในปี 2566
รายได้ 5,836 ล้านบาท
กำไร 129 ล้านบาท
ซึ่งจากดีลนี้ ก็ทำให้ SCBX หลังจากแบกขาดทุนมาหลายปี ตอนนี้ก็หยุดเลือดที่ไหลได้แล้ว ไม่ต้องขาดทุนเพิ่มอีกปีละระดับพันล้าน
พร้อมกับรับเงิน 400 ล้านบาท เป็นทุนคืนกลับมาบางส่วน และถ้าต่อไปผลประกอบการของ Robinhood ออกมาดีตามเงื่อนไขที่กำหนด ก็จะได้เงินเพิ่มสูงสุดไม่เกิน 1,600 ล้านบาท
แต่ก็น่าติดตามกันต่อไปว่า หลังจากได้กลุ่ม
ทุนใหญ่มาต่อชีวิต Robinhood จะยังดำเนินกลยุทธ์เดิมต่อไปหรือไม่ ?
โดยเฉพาะจุดเด่นที่ไม่ค่อยเก็บค่า GP ซึ่งเป็นรายได้หลักของธุรกิจฟู้ดดิลิเวอรี
ยิบอินซอย จะเอา Robinhood ไปต่อยอดกับธุรกิจเดิมของตัวเองอย่างไร ?
และอีกคำถามคือ การขาดทุนของ Robinhood จะสิ้นสุดลงตอนไหน ?
ซึ่งผู้ที่จะสามารถกำหนดคำตอบทั้งหมดได้ ก็คือกลุ่มยิบอินซอย และพันธมิตร..
References
- ข่าวตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 100 ของบริษัท
เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด ผู้ให้บริการ แอปพลิเคชัน Robinhood

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon