สรุปบทเรียน พฤติกรรมการเงิน จากซีรีส์ Squid Game
สรุปบทเรียน พฤติกรรมการเงิน จากซีรีส์ Squid Game /โดย ลงทุนแมน
หนึ่งในซีรีส์ชื่อดังตอนนี้ คงหนีไม่พ้น Squid Game Season 2 ที่มีเรื่องราวของผู้เข้าแข่งขันที่มีปัญหาทางการเงิน และติดหนี้ จึงต้องเลือกเข้ามาแข่งขันในเกมนี้เพื่อแลกกับเงินรางวัลมหาศาล
หนึ่งในซีรีส์ชื่อดังตอนนี้ คงหนีไม่พ้น Squid Game Season 2 ที่มีเรื่องราวของผู้เข้าแข่งขันที่มีปัญหาทางการเงิน และติดหนี้ จึงต้องเลือกเข้ามาแข่งขันในเกมนี้เพื่อแลกกับเงินรางวัลมหาศาล
แต่นอกจากความสนุกแล้ว ซีรีส์เรื่องนี้ยังแฝงไปด้วยพฤติกรรมทางการเงิน ที่อยู่เบื้องหลังการตัดสินใจของตัวละคร ให้เราได้เรียนรู้อีกด้วย
ซีรีส์ Squid Game มีพฤติกรรมทางการเงินอะไรแฝงให้เราได้เรียนรู้บ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
เพื่อให้สามารถเล่าบทเรียนพฤติกรรมทางการเงินที่อยู่ใน
เรื่องนี้ ลงทุนแมนจะพยายามสปอยล์เนื้อหาในซีรีส์ให้
น้อยที่สุด สำหรับใครที่อาจจะยังไม่ได้ดู
เรื่องนี้ ลงทุนแมนจะพยายามสปอยล์เนื้อหาในซีรีส์ให้
น้อยที่สุด สำหรับใครที่อาจจะยังไม่ได้ดู
โดยบทเรียนแรกจากซีรีส์เลย นั่นคือ
“การหลีกเลี่ยงความสูญเสีย”
“การหลีกเลี่ยงความสูญเสีย”
ในซีซัน 2 นี้ มีกฎกติกาที่ว่าเมื่อแต่ละเกมสิ้นสุดลง ผู้เข้าแข่งขันที่เหลืออยู่จะมีสิทธิ์โหวตว่าจะเลือกเล่นต่อหรือหยุดเกมเพียงแค่นี้ แล้วแบ่งเงินรางวัลที่ได้เท่า ๆ กันกับผู้เล่นที่เหลือรอด
โดยแต่ละรอบหากมีผู้เข้าแข่งขันเสียชีวิต เงินรางวัลก็จะเพิ่มขึ้นตามจำนวนคนที่เสียชีวิตไปด้วย
แม้เกมจะเสี่ยงและอันตรายเท่าไร แต่ยิ่งผ่านเข้ารอบไปลึกขึ้น ผู้เล่นที่เหลืออยู่ก็ยิ่งน้อยลง เงินรางวัลรวมก็ยิ่งเยอะขึ้น
ผู้เล่นบางคน จึงยังคงเลือกโหวตที่จะเล่นเกมต่อไปเรื่อย ๆ เพราะไม่อยากเสียโอกาส ที่จะได้เงินรางวัลตรงหน้ามากขึ้นกว่าเดิม แม้จะต้องแลกด้วยชีวิตนั่นเอง
และสำหรับบางคน ก็อาจรู้สึกว่า เงินรางวัลก้อนใหญ่ก้อนนั้น อาจมีค่ามากกว่าชีวิตของพวกเขา การหยุดเล่น จึงรู้สึกเหมือนสูญเสียโอกาสสำคัญ
ซึ่งนี่ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะมันเกิดขึ้นจริงกับเราทุกคน ที่ชอบหลีกเลี่ยงการสูญเสียอะไรบางอย่างไป
ซึ่งปรากฏการณ์ทางจิตวิทยานี้เรียกว่า “Loss Aversion” โดยเจ้าของแนวคิดนี้คือคุณ Daniel Kahneman และ
ผู้ช่วย คุณ Amos Tversky
ผู้ช่วย คุณ Amos Tversky
แนวคิดนี้ อธิบายได้ง่าย ๆ ว่า มนุษย์ให้ความสำคัญกับความทุกข์จากการสูญเสีย มากกว่าความสุขจากการได้รับมา
โดยในงานวิจัยระบุว่า คนเราจะรู้สึกแย่ที่สูญเสีย มากกว่ารู้สึกดีที่ได้รับถึง 2.3 เท่า
พูดง่าย ๆ คือ สมมติเราเป็นทุกข์เพราะทำเงินหายไป 1,000 บาท แม้ว่าต่อมาเราจะได้เงิน 1,000 บาท กลับคืนมา แต่ความทุกข์ที่เกิดขึ้นก็ไม่ได้หายไปทั้งหมด
แต่เราต้องได้รับเงินกลับมาประมาณ 2,300 บาท ถึงจะชดเชยความทุกข์ จากการที่เงิน 1,000 บาท หายไปได้
และคนเรายังยอมเสี่ยงมากขึ้น เพื่อแลกกับการไม่สูญเสียอะไรบางอย่างไปด้วย โดยเฉพาะกับการสูญเสียที่ใหญ่มาก
ในเคสนี้คือเมื่อผู้เล่นผ่านเข้ารอบและรอดชีวิตมาได้ แม้ว่าจะสามารถกลับบ้านได้และได้รับเงินรางวัลติดมือกลับไปหากเลือกที่จะยุติเกม
แต่กลับมีผู้เล่นบางส่วนที่รอดชีวิตมา และได้เห็นเงินรางวัลก้อนโตที่จะต้องหลุดมือไป ซึ่งพวกเขาคงไม่มีโอกาสในชีวิตอีกแล้วที่จะได้ลุ้นเงินก้อนใหญ่ขนาดนี้ จึงเกิดความรู้สึกเสียดายขึ้นมาและเลือกที่จะเล่นเกมต่อไปเพื่อคว้าเงินรางวัลที่มากกว่าเดิม
อีกตัวอย่างที่แทรกอยู่ในซีรีส์ คือฉากที่ได้เปิดโอกาสให้คนไร้บ้านเลือกระหว่างขนมปังที่กินแล้วอิ่มท้อง กับลอตเตอรี่ที่มีโอกาสถูกรางวัลแล้วได้เงิน
คนส่วนใหญ่ก็ตัดสินใจเลือกลอตเตอรี่ ที่แม้มีโอกาสที่จะผิดหวัง แต่ก็เลือกเพราะไม่อยากสูญเสียโอกาสที่จะได้รับรางวัลที่ใหญ่กว่านั่นเอง
อีกหนึ่งบทเรียนการเงินจากเรื่องนี้คือ
“การทำบัญชีในใจ”
“การทำบัญชีในใจ”
เมื่อกติกาเกมในซีรีส์ให้ผู้เข้าแข่งขันโหวตได้ว่าจะเล่นต่อไหม สิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนตัดสินใจว่าจะเล่นต่อ ไม่ได้มาจากมูลค่าเงินรางวัลที่ได้แค่อย่างเดียว
แต่ผู้เข้าแข่งขันกลับเลือกเปรียบเทียบระหว่างหนี้ที่ตัวเองมีอยู่ในใจกับเงินรางวัลที่ได้ว่า คุ้มค่าหรือไม่ ซึ่งเราเรียกเหตุการณ์นี้ว่า การทำบัญชีในใจ
การทำบัญชีในใจ ถูกคิดค้นโดยคุณ Richard Thaler
นักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมชื่อดัง เพื่ออธิบายว่า
ทำไมเงินมีค่าไม่เท่ากันในความคิดของเรา
นักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมชื่อดัง เพื่ออธิบายว่า
ทำไมเงินมีค่าไม่เท่ากันในความคิดของเรา
พูดให้เห็นภาพ เช่น ทำไมเรารู้สึกเสียดายที่ต้องขายไวน์ที่ได้มาฟรีในราคา 1,000 บาท
เหตุผลก็เพราะว่า เราคิดมูลค่าไวน์ไว้ในใจมากกว่า 1,000 บาท การขายไวน์จึงมีบัญชีในใจติดลบหรือขาดทุนแทน
ทั้งที่ความเป็นจริง เราได้กำไร 1,000 บาทด้วยซ้ำ เพราะเป็นไวน์ที่ได้มาฟรี
ถ้ายังไม่เห็นภาพ ลองดูตัวอย่างที่ใกล้ตัวมากขึ้น
คือ ทำไมหลายครั้ง เรายังฝืนกินบุฟเฟต์ ทั้ง ๆ ที่อิ่มแล้ว
คือ ทำไมหลายครั้ง เรายังฝืนกินบุฟเฟต์ ทั้ง ๆ ที่อิ่มแล้ว
คำตอบก็เพราะว่า เรามีความคิดในใจอยู่แล้วว่า กินเท่าไรถึงจะคุ้ม แต่เมื่อยังกินไม่คุ้ม เราก็ฝืนกินบุฟเฟต์ต่อ เพื่อให้คุ้มค่ากับราคาบุฟเฟต์ที่เราต้องจ่าย
ทั้งที่ความจริงแล้ว ไม่ว่าเราจะกินอิ่มแค่ไหน เราก็ต้องเสียเงินค่าบุฟเฟต์ในราคาที่ร้านกำหนดไว้แล้วอยู่ดี
แล้วการหลีกเลี่ยงความสูญเสียและการทำบัญชีในใจ
เอามาใช้ในชีวิตประจำวันอะไรได้บ้าง ?
เอามาใช้ในชีวิตประจำวันอะไรได้บ้าง ?
ก็คงเป็นเรื่องการไม่ซื้อของลดราคาโดยไม่จำเป็น เพราะเมื่อไรก็ตามที่เราเห็นของลดราคา เราจะมีราคาในใจเสมอว่า เราได้ของชิ้นนั้นในราคาที่ถูกลง
สุดท้าย เพื่อไม่ให้เสียโอกาสตรงนั้นไป เราเลยเลือกซื้อของลดราคานั้นมา เพราะรู้สึกว่า ของมันต้องมี ทั้งที่สิ่งนั้นอาจไม่มีความจำเป็นกับเราเลยด้วยซ้ำ
ในมุมการลงทุน บางครั้งเราไม่อยากขาดทุนหุ้นไปมากกว่านี้ เพราะเรามีตัวเลขต้นทุนของหุ้นอยู่ในใจ เราจึงพยายามเพิ่มเงินลงทุนเข้าไปเพื่อถัวเฉลี่ยต้นทุนให้ต่ำลง
ตรงนี้เอง เราอาจจะต้องกลับมาวิเคราะห์อย่างรอบคอบว่า ปัจจัยพื้นฐานของหุ้นตัวนี้คืออะไร
ธุรกิจที่อยู่เบื้องหลังหุ้นตัวนั้น ยังมีอนาคตอยู่ไหม
ธุรกิจที่อยู่เบื้องหลังหุ้นตัวนั้น ยังมีอนาคตอยู่ไหม
และแทนที่จะนำเงินมาซื้อเพิ่ม เราอาจต้องคิดว่าเรายังมีตัวเลือกการลงทุนอื่น ๆ ที่ให้ผลตอบแทนได้มากกว่าอีกหรือไม่ เพื่อป้องกันการเสียโอกาสที่ดีกว่านั่นเอง
ทั้งหมดนี้ ก็คือบทเรียนพฤติกรรมทางการเงินจากซีรีส์ Squid Game ที่แฝงเรื่องนี้เอาไว้อย่างแนบเนียน
ซึ่งแม้ว่าในความเป็นจริง จะไม่ได้มีเกมมาให้เล่นปลดหนี้โดยแลกกับชีวิตแบบในซีรีส์
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริง คือ ความยากจนและหนี้สิน มักผลักดันให้คนทำผิดพลาด เช่น ลงทุนเสี่ยงสูงหรือยืมเงินเพิ่ม เพื่อหวังผลตอบแทนที่สูงขึ้น หรือแม้แต่การก่ออาชญากรรม ทั้งฉ้อโกง ขโมย หรือปล้นชิงทรัพย์
เหมือนผู้รอดชีวิตใน Squid Game ที่ไม่สนใจเงินรางวัลที่มีอยู่แล้ว และเลือกเสี่ยงเล่นต่อเพื่อคว้าเงินรางวัลที่มากขึ้น แม้จะต้องแลกด้วยชีวิตก็ตาม..
References
-Misbehaving by Richard H. Thaler
-https://www.marketthink.co/52768
-https://en.wikipedia.org/wiki/Loss_aversion
-https://thedecisionlab.com/biases/mental-accounting
-Misbehaving by Richard H. Thaler
-https://www.marketthink.co/52768
-https://en.wikipedia.org/wiki/Loss_aversion
-https://thedecisionlab.com/biases/mental-accounting